กรมควบคุมโรค แนะก่อนเดินทางช่วงปีใหม่ ตรวจความพร้อมของทั้งคนและรถ เตรียมยารักษาโรคประจำตัว เลี่ยงอั้นปัสสาวะป้องกันอักเสบ-ติดเชื้อ
วันนี้(28 ธ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่นี้ ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางกลับยังภูมิลำเนา และมีการใช้ยานพาหนะจำนวนมาก ทั้งรถยนต์ รถโดยสารสาธารณะ และรถจักรยานยนต์ โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก็จะเน้นรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ เมาแล้วขับ การขับรถเร็ว ไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บและเสียชีวิต และปีนี้สธ.ประสานความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการตั้งด่านชุมชน โดยเฉพาะที่ปากทางเข้าหมู่บ้านหรือชุมชน มีประมาณ 60,000 จุดทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ผู้ขับขี่ก็ถือเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการป้องกันและลดอุบัติเหตุในครั้งนี้ จึงขอแนะนำประชาชนในการเตรียมตัวก่อนออกเดินทาง ดังนี้ 1.ควรมีการวางแผนการเดินทาง ตรวจเช็คสภาพของรถให้พร้อมใช้งาน ลมยางหรือน้ำมันต้องพอดีกับการเดินทางไกล ไฟส่องสว่างและไฟเลี้ยวมีการทดสอลก่อนเดินทาง 2.คนขับต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮลล์ทุกชนิดหรือทานยาที่ทำให้ง่วง เช่น ยาลดน้ำมูก ยาภูมิแพ้ ยาแก้ไอ เป็นต้น และขับรถด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตามกฎจราจร 3.ระหว่างการเดินทางหากปวดปัสสาวะไม่ควรอั้นไว้นาน ควรหาจังหวะแวะเข้าห้องน้ำตามปั้มน้ำมันทันที โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง มักปวดปัสสาวะบ่อย ซึ่งไม่ควรอั้นไว้ เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาทางเดินปัสสาวะอักเสบติดเชื้อได้
นพ.โสภณ กล่าวต่อไปว่า ในการเดินทางควรมียาพื้นฐานหรือยาสามัญติดรถไว้สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น พาราเซตามอลลดไข้ ทั้งชนิดเม็ดและน้ำเชื่อม ยาลดกรดชนิดน้ำซึ่งออกฤทธิ์ได้ดีกว่าชนิดเม็ด ผงเกลือแร่ ผงถ่านกรณีท้องเสีย ยาแก้เมารถ ยาแก้ปวดเมื่อย และอุปกรณ์ทำแผล เป็นต้น และที่สำคัญควรเตรียมยาในส่วนของผู้สูงอายุให้พร้อม เพราะส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว ซึ่งยาของผู้สูงอายุจะมียาที่ต้องกินเป็นประจำและต้องเตรียมยาในปริมาณที่เพียงพอ ส่วนการรับประทานอาหาร ผู้ปรุงอาหารต้องปรุงอาหารให้ “สุก ร้อน สะอาด” ส่วนผู้บริโภคต้อง “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ” หากเป็นอาหารถุงอาหารกล่อง ต้องรับประทานภายใน 4 ชั่วโมงหลังปรุงสุก เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคอาหารเป็นพิษ
“ หากพบเห็นผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเอง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายแทรกซ้อนได้ เช่น เกิดความพิการ โดยเฉพาะในผู้ที่บาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง กระดูกต้นคอ ซึ่งบางครั้งอาจไม่มีบาดแผลปรากฏให้เห็น จึงขอให้โทรขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพ โทร 1669 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ จะเกิดความปลอดภัยกับผู้บาดเจ็บมากขึ้น ส่วนผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักโรคไม่ติดต่อ โทร 0-2951-0042 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422" นพ.โสภณ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้(28 ธ.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ช่วงวันหยุดยาวเทศกาลปีใหม่นี้ ประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางกลับยังภูมิลำเนา และมีการใช้ยานพาหนะจำนวนมาก ทั้งรถยนต์ รถโดยสารสาธารณะ และรถจักรยานยนต์ โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ก็จะเน้นรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน โดยเฉพาะปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ เมาแล้วขับ การขับรถเร็ว ไม่สวมหมวกนิรภัย ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บและเสียชีวิต และปีนี้สธ.ประสานความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในการตั้งด่านชุมชน โดยเฉพาะที่ปากทางเข้าหมู่บ้านหรือชุมชน มีประมาณ 60,000 จุดทั่วประเทศ
นอกจากนี้ ผู้ขับขี่ก็ถือเป็นบุคคลที่สำคัญที่สุดในการป้องกันและลดอุบัติเหตุในครั้งนี้ จึงขอแนะนำประชาชนในการเตรียมตัวก่อนออกเดินทาง ดังนี้ 1.ควรมีการวางแผนการเดินทาง ตรวจเช็คสภาพของรถให้พร้อมใช้งาน ลมยางหรือน้ำมันต้องพอดีกับการเดินทางไกล ไฟส่องสว่างและไฟเลี้ยวมีการทดสอลก่อนเดินทาง 2.คนขับต้องพักผ่อนให้เพียงพอ ที่สำคัญต้องไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮลล์ทุกชนิดหรือทานยาที่ทำให้ง่วง เช่น ยาลดน้ำมูก ยาภูมิแพ้ ยาแก้ไอ เป็นต้น และขับรถด้วยความระมัดระวัง ปฏิบัติตามกฎจราจร 3.ระหว่างการเดินทางหากปวดปัสสาวะไม่ควรอั้นไว้นาน ควรหาจังหวะแวะเข้าห้องน้ำตามปั้มน้ำมันทันที โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ทั้งชายและหญิง มักปวดปัสสาวะบ่อย ซึ่งไม่ควรอั้นไว้ เนื่องจากจะทำให้เกิดปัญหาทางเดินปัสสาวะอักเสบติดเชื้อได้
นพ.โสภณ กล่าวต่อไปว่า ในการเดินทางควรมียาพื้นฐานหรือยาสามัญติดรถไว้สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน เช่น พาราเซตามอลลดไข้ ทั้งชนิดเม็ดและน้ำเชื่อม ยาลดกรดชนิดน้ำซึ่งออกฤทธิ์ได้ดีกว่าชนิดเม็ด ผงเกลือแร่ ผงถ่านกรณีท้องเสีย ยาแก้เมารถ ยาแก้ปวดเมื่อย และอุปกรณ์ทำแผล เป็นต้น และที่สำคัญควรเตรียมยาในส่วนของผู้สูงอายุให้พร้อม เพราะส่วนใหญ่จะมีโรคเรื้อรังหรือโรคประจำตัว ซึ่งยาของผู้สูงอายุจะมียาที่ต้องกินเป็นประจำและต้องเตรียมยาในปริมาณที่เพียงพอ ส่วนการรับประทานอาหาร ผู้ปรุงอาหารต้องปรุงอาหารให้ “สุก ร้อน สะอาด” ส่วนผู้บริโภคต้อง “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือบ่อยๆ” หากเป็นอาหารถุงอาหารกล่อง ต้องรับประทานภายใน 4 ชั่วโมงหลังปรุงสุก เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคอาหารเป็นพิษ
“ หากพบเห็นผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ถ้าเป็นไปได้ไม่ควรเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเอง เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอันตรายแทรกซ้อนได้ เช่น เกิดความพิการ โดยเฉพาะในผู้ที่บาดเจ็บที่กระดูกสันหลัง กระดูกต้นคอ ซึ่งบางครั้งอาจไม่มีบาดแผลปรากฏให้เห็น จึงขอให้โทรขอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์กู้ชีพ โทร 1669 ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญ จะเกิดความปลอดภัยกับผู้บาดเจ็บมากขึ้น ส่วนผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่สำนักโรคไม่ติดต่อ โทร 0-2951-0042 หรือสายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422" นพ.โสภณ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่