เปิด 8 เส้นทางเสี่ยงอุบัติเหตุสุดๆ ช่วงปีใหม่ เตือนผู้ใช้รถใช้ถนนระวังเป็นพิเศษ ระบุส่วนใหญ่เป็นทางหลวงคนใช้รถมาก ขับรถเร็ว รวมถึงทางเป็นภูเขา ด้านกรมควบคุมโรคเผย รถพ่วง รถบรรทุกจอดข้างทางต้นเหตุอุบัติเหตุเสียชีวิตด้วย จี้ออกประกาศห้ามวิ่งช่วงปีใหม่
วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวในการเสวนาเรื่อง “เปิดจุดเสี่ยง ปิดรอยโหว่ ลดสูญเสียอุบัติเหตุบนท้องถนน สัญจรปีใหม่ไปกลับปลอดภัย” ว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่เกิดอุบัติเหตุมากขึ้นเป็น 2 เท่า โดยช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 2556 - 2 ม.ค. 2557 มีการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินรวม 25,959 ราย จังหวัดที่มีสถิติเกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ นครราชสีมา สาเหตุที่เกิดขึ้นมี 3 ปัจจัยเสี่ยงคือ 1. คน เช่น ขับเร็วเกินกำหนด ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เมา อ่อนล้า หลับใน 2. รถไม่พร้อม และ 3. ถนนและสิ่งแวดล้อม โดยช่วงปีใหม่ 2558 สพฉ. เตรียมแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุ โดยประสานศูนย์รับแจ้งเหตุทั่วประเทศ 78 ศูนย์ ให้ตรวจสายด่วน 1669 ให้พร้อมใช้งาน 24 ชั่วโมง และประสานการจัดระบบการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินทั้งทางเรือและอากาศยาน
ด้าน ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) กล่าวว่า อุบัติเหตุช่วง 7 วันอันตรายนั้น วันที่ 1 2 6 และ 7 นั้น มักเกิดบนทางสายหลัก ส่วนวันที่ 3 - 5 ของการเฝ้าระวังจะเกิดบนทางสายรอง สาเหตุคือเมาแล้วขับ การแก้ไขจึงต้องวิเคราะห์เป็นวันๆ ไป นอกจากนี้ สถิติที่น่าตกใจอีกเรื่อง คือ ตั้งแต่ปี 2551 - 2557 ความรุนแรงในการเกิดเหตุเพิ่มมากขึ้นถึง 12% หมายถึงอุบัติเหตุ 100 ครั้ง จะมีคนเสียชีวิต 12 คน ถือว่าน่ากังวลเป็นอย่างมาก สาเหตุของความรุนแรงมาจาก การไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย การขับรถด้วยความเร็วสูง และอันตรายจากสิ่งกีดขวางข้างทาง
ดร.กัณวีร์ กล่าวว่า แต่ละภูมิภาคมีถนนที่จะต้องระวังเป็นพิเศษแบ่งเป็น 4 ภาค รวมทั้งหมด 8 จุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.ทางหลวงเส้นวังน้อยอยุธยา กิโลเมตรที่ 70 2.ทางขึ้นเขาแก่งคอยสระบุรี ภาคใต้ 3.หลวงหมายเลขที่ 35 เส้นพระราม 2 เพราะประชาชนจะใช้ความเร็วในการขับรถค่อนข้างมาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุชนท้ายหรือรถตกข้างทางเป็นจำนวนมาก 4. ทางหลวงหมายเลขที่ 41 เส้นจังหวัดประจวบคิรีขันธ์ และชุมพร เนื่องจากเป็นภูเขาและโค้งที่เยอะจนทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย และแต่ละครั้งก็สร้างการสูญเสียที่ค่อนข้างรุนแรง ภาคเหนือ 5. ทางหลวงหมายเลขที่ 32 ที่จะผ่านทางจังหวัดอุทัยธานีและนครสวรรค์เพื่อขึ้นไปยังจังหวัดอื่น ผู้ใช้รถใช้ถนนควรศึกษาการเดินทางให้ละเอียดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นด้วย
นายธรรมรัตน์ อาจวารินทร์ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยกู้ภัย มูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์ จ.ชลบุรี กล่าวว่า ภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรีที่เป็นประตูสู่ภาคนี้ ต้องระวัง 3 จุด คือ 6. ถนนทางเบี่ยงเข้าถนนเลี่ยงเมืองใกล้เคียงกับทางเข้านิคมอมตะนคร เนื่องจากสภาพถนนสร้างความสับสนให้กับประชาชน จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง 7. ถนนสาย 344 ที่เป็นทางลัดไปสู่จังหวัดระยอง เนื่องจากถนนเป็นหลุมเป็นบ่อทำให้รถที่ขับมาด้วยความเร็วเสียหลัก และ 8. ถนนมอเตอร์เวย์ กิโลเมตรที่ 53 บริเวณเขาเขียว ซึ่งจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งโดยเฉพาะรถตู้โดยสาร เนื่องจากส่วนใหญ่ขับรถด้วยความเร็วสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้รถใช้ถนนควรระมัดระวังการขับรถทุกขณะ ถนนทุกสาย และเคารพกฎจราจร มีน้ำใจให้กับผู้ที่ใช้เส้นทางด้วยกัน
วันเดียวกัน นางณัฐกานต์ ไวยเนตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลและทำการวิเคราะห์ ได้ข้อสรุปทางวิชาการว่า นอกจากเมาแล้วขับ ขับรถเร็วแล้ว การจอดรถพ่วง รถบรรทุกเอาไว้ข้างถนน ยังเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตด้วย โดยเฉพาะถนนเส้น อ.กบินทร์บุรี-อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ที่พบว่ามีรถบรรทุกขนาดใหญ่หลีกเลี่ยงรถติดช่วงเทศกาลปีใหม่ไปวิ่งจำนวนมาก จึงอยากขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกประกาศห้ามรถบรรทุกวิ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่เด็ดขาด
“ขนาดความสูงของรถพ่วง รถบรรทุกพอดีกับช่วงศีรษะของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์พอดี เวลาจอดข้างถนนมืดๆ จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย และเท่าที่ลงพื้นที่สอบสวนโรคพบว่าแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรง และเสียชีวิตสูงแม้จะสวมหมวกนิรภัยก็ตาม เลยอยากให้ประกาศห้ามรถบรรทุกวิ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่” นางณัฐกานต์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (25 ธ.ค.) ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวในการเสวนาเรื่อง “เปิดจุดเสี่ยง ปิดรอยโหว่ ลดสูญเสียอุบัติเหตุบนท้องถนน สัญจรปีใหม่ไปกลับปลอดภัย” ว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่เกิดอุบัติเหตุมากขึ้นเป็น 2 เท่า โดยช่วงปีใหม่ที่ผ่านมาระหว่างวันที่ 27 ธ.ค. 2556 - 2 ม.ค. 2557 มีการให้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉินรวม 25,959 ราย จังหวัดที่มีสถิติเกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ นครราชสีมา สาเหตุที่เกิดขึ้นมี 3 ปัจจัยเสี่ยงคือ 1. คน เช่น ขับเร็วเกินกำหนด ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เมา อ่อนล้า หลับใน 2. รถไม่พร้อม และ 3. ถนนและสิ่งแวดล้อม โดยช่วงปีใหม่ 2558 สพฉ. เตรียมแผนป้องกันและลดอุบัติเหตุ โดยประสานศูนย์รับแจ้งเหตุทั่วประเทศ 78 ศูนย์ ให้ตรวจสายด่วน 1669 ให้พร้อมใช้งาน 24 ชั่วโมง และประสานการจัดระบบการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุฉุกเฉินทั้งทางเรือและอากาศยาน
ด้าน ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้จัดการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) กล่าวว่า อุบัติเหตุช่วง 7 วันอันตรายนั้น วันที่ 1 2 6 และ 7 นั้น มักเกิดบนทางสายหลัก ส่วนวันที่ 3 - 5 ของการเฝ้าระวังจะเกิดบนทางสายรอง สาเหตุคือเมาแล้วขับ การแก้ไขจึงต้องวิเคราะห์เป็นวันๆ ไป นอกจากนี้ สถิติที่น่าตกใจอีกเรื่อง คือ ตั้งแต่ปี 2551 - 2557 ความรุนแรงในการเกิดเหตุเพิ่มมากขึ้นถึง 12% หมายถึงอุบัติเหตุ 100 ครั้ง จะมีคนเสียชีวิต 12 คน ถือว่าน่ากังวลเป็นอย่างมาก สาเหตุของความรุนแรงมาจาก การไม่ใช้อุปกรณ์นิรภัย การขับรถด้วยความเร็วสูง และอันตรายจากสิ่งกีดขวางข้างทาง
ดร.กัณวีร์ กล่าวว่า แต่ละภูมิภาคมีถนนที่จะต้องระวังเป็นพิเศษแบ่งเป็น 4 ภาค รวมทั้งหมด 8 จุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.ทางหลวงเส้นวังน้อยอยุธยา กิโลเมตรที่ 70 2.ทางขึ้นเขาแก่งคอยสระบุรี ภาคใต้ 3.หลวงหมายเลขที่ 35 เส้นพระราม 2 เพราะประชาชนจะใช้ความเร็วในการขับรถค่อนข้างมาก ทำให้เกิดอุบัติเหตุชนท้ายหรือรถตกข้างทางเป็นจำนวนมาก 4. ทางหลวงหมายเลขที่ 41 เส้นจังหวัดประจวบคิรีขันธ์ และชุมพร เนื่องจากเป็นภูเขาและโค้งที่เยอะจนทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อย และแต่ละครั้งก็สร้างการสูญเสียที่ค่อนข้างรุนแรง ภาคเหนือ 5. ทางหลวงหมายเลขที่ 32 ที่จะผ่านทางจังหวัดอุทัยธานีและนครสวรรค์เพื่อขึ้นไปยังจังหวัดอื่น ผู้ใช้รถใช้ถนนควรศึกษาการเดินทางให้ละเอียดเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นด้วย
นายธรรมรัตน์ อาจวารินทร์ เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยกู้ภัย มูลนิธิธรรมรัศมีมณีรัตน์ จ.ชลบุรี กล่าวว่า ภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดชลบุรีที่เป็นประตูสู่ภาคนี้ ต้องระวัง 3 จุด คือ 6. ถนนทางเบี่ยงเข้าถนนเลี่ยงเมืองใกล้เคียงกับทางเข้านิคมอมตะนคร เนื่องจากสภาพถนนสร้างความสับสนให้กับประชาชน จึงทำให้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง 7. ถนนสาย 344 ที่เป็นทางลัดไปสู่จังหวัดระยอง เนื่องจากถนนเป็นหลุมเป็นบ่อทำให้รถที่ขับมาด้วยความเร็วเสียหลัก และ 8. ถนนมอเตอร์เวย์ กิโลเมตรที่ 53 บริเวณเขาเขียว ซึ่งจุดนี้เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งโดยเฉพาะรถตู้โดยสาร เนื่องจากส่วนใหญ่ขับรถด้วยความเร็วสูง อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้รถใช้ถนนควรระมัดระวังการขับรถทุกขณะ ถนนทุกสาย และเคารพกฎจราจร มีน้ำใจให้กับผู้ที่ใช้เส้นทางด้วยกัน
วันเดียวกัน นางณัฐกานต์ ไวยเนตร ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบสวนการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวว่า จากการลงพื้นที่สอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในช่วงเทศกาลและทำการวิเคราะห์ ได้ข้อสรุปทางวิชาการว่า นอกจากเมาแล้วขับ ขับรถเร็วแล้ว การจอดรถพ่วง รถบรรทุกเอาไว้ข้างถนน ยังเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุและเสียชีวิตด้วย โดยเฉพาะถนนเส้น อ.กบินทร์บุรี-อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี ที่พบว่ามีรถบรรทุกขนาดใหญ่หลีกเลี่ยงรถติดช่วงเทศกาลปีใหม่ไปวิ่งจำนวนมาก จึงอยากขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกประกาศห้ามรถบรรทุกวิ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่เด็ดขาด
“ขนาดความสูงของรถพ่วง รถบรรทุกพอดีกับช่วงศีรษะของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์พอดี เวลาจอดข้างถนนมืดๆ จึงเป็นสาเหตุทำให้เกิดอุบัติได้ง่าย และเท่าที่ลงพื้นที่สอบสวนโรคพบว่าแต่ละกรณีที่เกิดขึ้นค่อนข้างรุนแรง และเสียชีวิตสูงแม้จะสวมหมวกนิรภัยก็ตาม เลยอยากให้ประกาศห้ามรถบรรทุกวิ่งในช่วงเทศกาลปีใหม่” นางณัฐกานต์ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่