สตง. เผยตรวจการใช้งบบัตรทองทุกปี เพื่อประเมินผมความเหมาะสมและประสิทธิภาพ เสนอกระจายการตรวจสอบในระดับพื้นที่ ให้ สปสช. ทั้ง 13 เขต เชิญ สตง. จังหวัดเข้าร่วมประชุมเพื่อทำความเข้าใจการดำเนินงานกองทุนบัตรทอง
วันนี้ (23 ธ.ค.) ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นประธานเกิดการสัมมนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เรื่อง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลุกประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนสุขภาพตำบล) พ.ศ. 2557
นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า สตง. มีการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นประจำทุกปี โดยเป็นการติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายว่าเป็นไปโดยเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่ ซึ่งตรงนี้เป็นข้อสำคัญว่า ในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินนั้น นอกจากความสุจริตแล้ว ยังต้องใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด ตามระเบียบและประกาศต่างๆ ที่ออกไว้เพื่อควบคุมกำกับการใช้งบประมาณ ดังนั้น ถ้ามีระเบียบแล้วไม่ทำ ก็คือไม่ถูกต้อง ถ้าสิ่งใดสามารถปรับปรุงแก้ไข เยียวยาได้ก็ให้รีบเร่งดำเนินการให้ถูกต้อง และเพื่อเป็นแนวทางในการพึ่งระมัดระวัง สำหรับการใช้จ่ายเงินในโอกาสต่อไป เนื่องจากเรากำลังใช้เงินของแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินของประชาชนทุกคน ที่สำคัญ คงต้องทำความเข้าใจว่า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินของแผ่นดิน ประชาชนทุกคนควรมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หน่วยงานที่ใช้จ่ายเงินของประชาชน ต้องมีหน้าที่แสดงให้สังคมได้รับรู้รับทราบว่า ใช้จ่ายเงินไปอย่างไร และคงต้องยอมรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์
“สำหรับการจัดสัมมนาวันนี้ เน้นเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวกับการสนับสนุน อปท. เพื่อดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งสามารถดำเนินการได้ และที่ผ่านมาบอร์ด สปสช. ก็ออกประกาศกำกับแนวทางการใช้งบประมาณไว้ สตง. ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้การใช้เงินมีประโยชน์สูงสุด ตรงกับวัตถุประสงค์ ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกันที่ให้ความร่วมมือด้วยดีเสมอมาในการตรวจสอบการใช้งบประมาณ” ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า สปสช.เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามแนวทางภายใต้การกำกับของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) และการตรวจสอบ โดย สตง. อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ที่ผ่านมา มีการเข้าใจผิดและไม่เห็นด้วยที่บอร์ด สปสช. อนุมัติงบกองทุนฯให้ อปท. ซึ่งไม่ใช่หน่วยบริการสาธารณสุขในการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคในชุมชน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด นี่เป็นหนึ่งในแนวทางของการกระจายอำนาจและสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพของคนในท้องถิ่นเอง และ สปสช. ก็มีกลไกการตรวจสอบกำกับการใช้งบประมาณ ทั้งอนุกรรมการตรวจสอบ และ สตง. การจัดสัมมนาวันนี้ก็เป็นการต่อยอดการตรวจสอบร่วมกันของทั้งสองหน่วยงาน
“ซึ่งในวันนี้มีข้อเสนอให้สปสช.เขต ทั้ง 13 เขต จัดประชุมทำความเข้าใจกับสตง. จังหวัด และหากมีการอบรมสัมมนาในพื้นที่ให้เชิญ สตง.จังหวัด เข้าร่วมด้วย ตามนโยบายของผู้ว่าการ สตง. ที่ให้ สตง. จังหวัดเข้าร่วมกำกับในระดับเขตพื้นที่ด้วย” นพ.วินัย กล่าว
ทั้งนี้ ภายในงานดังกล่าว มีการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับสาระสำคัญของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เรื่องหลักเกณ์ฑสนับสนุน อปท. ดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล ตลอดจนการอภิปรายระหว่างตัวแทนของ สตง. อปท. และ สปสช. เพื่อแลกเปลี่ยนการใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลให้ถูกต้องตามประกาศของบอร์ดสปสช.และระเบียบการใช้เงินแผ่นดินของ สตง. โดยมีวิทยากรจาก สตง. อปท. เข้าร่วมแลกเปลี่ยน เช่น นายคัมภีร์ สมใจ อนุกรรมการตรวจสอบ บอร์ด สปสช. และอดีตรองผอ.สตง., นางศุลีมาศ ชลายนเดชะ ผอ.สำนักตรวจสอบการเงินที่ 17 สตง., นางพจนีย์ มโนดำรงธรรม ผอ.สำนักตรวจสอบการดำเนินงานที่ 1 สตง. และ นายวิจัย อัมราลิขิต นายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (23 ธ.ค.) ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการ ถ.แจ้งวัฒนะ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นประธานเกิดการสัมมนาผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เรื่อง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 และหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลุกประกัน สุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนสุขภาพตำบล) พ.ศ. 2557
นายพิศิษฐ์ กล่าวว่า สตง. มีการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นประจำทุกปี โดยเป็นการติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายว่าเป็นไปโดยเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล เกิดประโยชน์สูงสุดหรือไม่ ซึ่งตรงนี้เป็นข้อสำคัญว่า ในการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินนั้น นอกจากความสุจริตแล้ว ยังต้องใช้จ่ายเงินให้เหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด ตามระเบียบและประกาศต่างๆ ที่ออกไว้เพื่อควบคุมกำกับการใช้งบประมาณ ดังนั้น ถ้ามีระเบียบแล้วไม่ทำ ก็คือไม่ถูกต้อง ถ้าสิ่งใดสามารถปรับปรุงแก้ไข เยียวยาได้ก็ให้รีบเร่งดำเนินการให้ถูกต้อง และเพื่อเป็นแนวทางในการพึ่งระมัดระวัง สำหรับการใช้จ่ายเงินในโอกาสต่อไป เนื่องจากเรากำลังใช้เงินของแผ่นดิน ซึ่งเป็นเงินของประชาชนทุกคน ที่สำคัญ คงต้องทำความเข้าใจว่า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายเงินของแผ่นดิน ประชาชนทุกคนควรมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสาร หน่วยงานที่ใช้จ่ายเงินของประชาชน ต้องมีหน้าที่แสดงให้สังคมได้รับรู้รับทราบว่า ใช้จ่ายเงินไปอย่างไร และคงต้องยอมรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์
“สำหรับการจัดสัมมนาวันนี้ เน้นเฉพาะเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่เกี่ยวกับการสนับสนุน อปท. เพื่อดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งสามารถดำเนินการได้ และที่ผ่านมาบอร์ด สปสช. ก็ออกประกาศกำกับแนวทางการใช้งบประมาณไว้ สตง. ก็ทำหน้าที่ตรวจสอบเพื่อให้การใช้เงินมีประโยชน์สูงสุด ตรงกับวัตถุประสงค์ ซึ่งนี่เป็นตัวอย่างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการด้วยกันที่ให้ความร่วมมือด้วยดีเสมอมาในการตรวจสอบการใช้งบประมาณ” ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าว
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสปสช. กล่าวว่า สปสช.เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่บริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามแนวทางภายใต้การกำกับของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) และการตรวจสอบ โดย สตง. อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ที่ผ่านมา มีการเข้าใจผิดและไม่เห็นด้วยที่บอร์ด สปสช. อนุมัติงบกองทุนฯให้ อปท. ซึ่งไม่ใช่หน่วยบริการสาธารณสุขในการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคในชุมชน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด นี่เป็นหนึ่งในแนวทางของการกระจายอำนาจและสร้างการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพของคนในท้องถิ่นเอง และ สปสช. ก็มีกลไกการตรวจสอบกำกับการใช้งบประมาณ ทั้งอนุกรรมการตรวจสอบ และ สตง. การจัดสัมมนาวันนี้ก็เป็นการต่อยอดการตรวจสอบร่วมกันของทั้งสองหน่วยงาน
“ซึ่งในวันนี้มีข้อเสนอให้สปสช.เขต ทั้ง 13 เขต จัดประชุมทำความเข้าใจกับสตง. จังหวัด และหากมีการอบรมสัมมนาในพื้นที่ให้เชิญ สตง.จังหวัด เข้าร่วมด้วย ตามนโยบายของผู้ว่าการ สตง. ที่ให้ สตง. จังหวัดเข้าร่วมกำกับในระดับเขตพื้นที่ด้วย” นพ.วินัย กล่าว
ทั้งนี้ ภายในงานดังกล่าว มีการบรรยายพิเศษเกี่ยวกับสาระสำคัญของประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) เรื่องหลักเกณ์ฑสนับสนุน อปท. ดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบล ตลอดจนการอภิปรายระหว่างตัวแทนของ สตง. อปท. และ สปสช. เพื่อแลกเปลี่ยนการใช้งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลให้ถูกต้องตามประกาศของบอร์ดสปสช.และระเบียบการใช้เงินแผ่นดินของ สตง. โดยมีวิทยากรจาก สตง. อปท. เข้าร่วมแลกเปลี่ยน เช่น นายคัมภีร์ สมใจ อนุกรรมการตรวจสอบ บอร์ด สปสช. และอดีตรองผอ.สตง., นางศุลีมาศ ชลายนเดชะ ผอ.สำนักตรวจสอบการเงินที่ 17 สตง., นางพจนีย์ มโนดำรงธรรม ผอ.สำนักตรวจสอบการดำเนินงานที่ 1 สตง. และ นายวิจัย อัมราลิขิต นายกเทศมนตรีเมืองพนัสนิคม จ.ชลบุรี
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่