สปสช. ออกสมุดปกขาว แจงข้อเท็จจริง หลังมีการให้ข้อมูลบิดเบือนโจมตี ทั้งประเด็น รพ. ขาดทุน และการให้งบสนับสนุนหน่วยงานที่ไม่ใช่ รพ. ยันเป็นความเข้าใจผิด เชื่อหลังจากนี้คงไม่มีการบิดเบือนข้อมูลให้ร้ายกันอีก ชี้ข้อเสนอ สธ. ที่จะให้เขตเป็นผู้จัดสรรงบประมาณจะถอยหลัง ทำให้บัตรทองเป็นคนไข้อนาถา ยันรับข้อทักท้วงได้ แต่ต้องแก้ไขตามกระบวนการ ผ่านการอภิปรายถกเถียง เพราะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ไม่ใช่ล้มหลักการของบัตรทอง
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ความเข้าใจผิดของผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ทั้งในประเด็นกล่าวหาว่าการบริหารกองทุนบัตรทองของ สปสช.ภายใต้การควบคุมกำกับของบอร์ด สปสช.ทำให้โรงพยาบาลสังกัด สป.สธ. มีเงินไม่พอ ประสบปัญหาขาดทุน และข้อกล่าวหาว่ามีการนำเงินในกองทุนไปสนับสนุนหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยบริการสาธารณสุข โดยระบุว่าทำผิด พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 นั้น
หลังจาก สปสช. ได้แถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว แต่เพื่อให้สังคมโดยเฉพาะภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง จึงได้จัดทำสมุดปกขาวโดยใช้ชื่อว่า “ความเข้าใจผิดและข้อเท็จจริงการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ขึ้น เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่สังคม นำไปสู่ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวได้อย่างชัดเจน อันจะนำมาซึ่งการร่วมกันสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า สปสช. หวังและเชื่อว่าว่าหลังจากนี้คงไม่มีการตัดตอนบิดเบือนข้อมูลเพื่อให้ร้ายกันอีก การออกสมุดปกขาวนั้น ไม่ได้หมายความว่าสปสช.ไม่ยอมรับในสิ่งที่มีการทักท้วงมา เพียงแต่เรื่องที่ทักท้วงนั้นเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จึงต้องชี้แจงให้เข้าใจให้ถูกต้อง ส่วนประเด็นเรื่องการบริหารกองทุน ที่อยากให้มีการแก้ไข หรือ สป.สธ. เห็นว่ามีตรงไหนที่ผิดพลาด ก็เสนอเข้ามาได้ทุกครั้งตามกระบวนการ และต้องผ่านการหารือ อภิปราย แลกเปลี่ยนกัน เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ไม่สามารถรวบรัดตัดความคุยกันได้แค่ สป.สธ. และ สปสช. เองก็ไม่มีอำนาจตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ต้องนำเสนอเข้าบอร์ด สปสช. เท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาการจัดการงบเหมาจ่ายรายหัวก็จะมีการทักท้วงแก้ไขเป็นประจำทุกปีเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ข้อเสนอที่จะให้เขตสุขภาพ สธ. เป็นผู้จัดสรรงบประมาณนั้น เป็นข้อเสนอสุดโต่งที่ทำลายหลักการแบ่งแยกผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการ กลับไปเป็นแบบเดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการได้รับบริการของประชาชน ที่จะกลายเป็นระบบอนาถา ทุกอย่างจะให้บริการได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้บริการจะทำหรือไม่ โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนเข้าไปกำหนด ต่างจากกลไกบอร์ดสปสช.ที่ออกแบบให้ทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมกำกับได้และทำเช่นนี้ในทุกปี
ทั้งนี้ สมุดปกขาวดังกล่าว มีการชี้แจงใน 4 ประเด็น คือ 1. การแยกบทบาทระหว่างผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการ ประชาชนได้ประโยชน์อะไร 2. เงินไม่พอ จัดสรรไม่ได้ รพ. ขาดทุนจริงหรือ 3. นำเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปสนับสนุนหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการ ผิด พ.ร.บ. จริงหรือ และ 4. ครัวเรือนที่ล้มละลายจากการเจ็บป่วย ลดลงจริงหรือ โดย สปสช. ได้ดำเนินการจัดส่งให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า จากสถานการณ์ความเข้าใจผิดของผู้บริหารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เกี่ยวกับการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง) ทั้งในประเด็นกล่าวหาว่าการบริหารกองทุนบัตรทองของ สปสช.ภายใต้การควบคุมกำกับของบอร์ด สปสช.ทำให้โรงพยาบาลสังกัด สป.สธ. มีเงินไม่พอ ประสบปัญหาขาดทุน และข้อกล่าวหาว่ามีการนำเงินในกองทุนไปสนับสนุนหน่วยงานที่ไม่ใช่หน่วยบริการสาธารณสุข โดยระบุว่าทำผิด พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 นั้น
หลังจาก สปสช. ได้แถลงข่าวชี้แจงข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว แต่เพื่อให้สังคมโดยเฉพาะภาคส่วนที่เกี่ยวข้องได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้อง จึงได้จัดทำสมุดปกขาวโดยใช้ชื่อว่า “ความเข้าใจผิดและข้อเท็จจริงการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ขึ้น เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริงแก่สังคม นำไปสู่ความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวได้อย่างชัดเจน อันจะนำมาซึ่งการร่วมกันสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนด้วยความเข้าใจที่ถูกต้องต่อไป
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า สปสช. หวังและเชื่อว่าว่าหลังจากนี้คงไม่มีการตัดตอนบิดเบือนข้อมูลเพื่อให้ร้ายกันอีก การออกสมุดปกขาวนั้น ไม่ได้หมายความว่าสปสช.ไม่ยอมรับในสิ่งที่มีการทักท้วงมา เพียงแต่เรื่องที่ทักท้วงนั้นเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง จึงต้องชี้แจงให้เข้าใจให้ถูกต้อง ส่วนประเด็นเรื่องการบริหารกองทุน ที่อยากให้มีการแก้ไข หรือ สป.สธ. เห็นว่ามีตรงไหนที่ผิดพลาด ก็เสนอเข้ามาได้ทุกครั้งตามกระบวนการ และต้องผ่านการหารือ อภิปราย แลกเปลี่ยนกัน เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับคนจำนวนมาก ไม่สามารถรวบรัดตัดความคุยกันได้แค่ สป.สธ. และ สปสช. เองก็ไม่มีอำนาจตัดสินใจเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ต้องนำเสนอเข้าบอร์ด สปสช. เท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาการจัดการงบเหมาจ่ายรายหัวก็จะมีการทักท้วงแก้ไขเป็นประจำทุกปีเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ แต่ข้อเสนอที่จะให้เขตสุขภาพ สธ. เป็นผู้จัดสรรงบประมาณนั้น เป็นข้อเสนอสุดโต่งที่ทำลายหลักการแบ่งแยกผู้ให้บริการและผู้ซื้อบริการ กลับไปเป็นแบบเดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการได้รับบริการของประชาชน ที่จะกลายเป็นระบบอนาถา ทุกอย่างจะให้บริการได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้บริการจะทำหรือไม่ โดยที่ประชาชนไม่มีส่วนเข้าไปกำหนด ต่างจากกลไกบอร์ดสปสช.ที่ออกแบบให้ทุกภาคส่วนเข้าไปมีส่วนร่วมกำกับได้และทำเช่นนี้ในทุกปี
ทั้งนี้ สมุดปกขาวดังกล่าว มีการชี้แจงใน 4 ประเด็น คือ 1. การแยกบทบาทระหว่างผู้ซื้อบริการและผู้ให้บริการ ประชาชนได้ประโยชน์อะไร 2. เงินไม่พอ จัดสรรไม่ได้ รพ. ขาดทุนจริงหรือ 3. นำเงินกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไปสนับสนุนหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่หน่วยบริการ ผิด พ.ร.บ. จริงหรือ และ 4. ครัวเรือนที่ล้มละลายจากการเจ็บป่วย ลดลงจริงหรือ โดย สปสช. ได้ดำเนินการจัดส่งให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ รวมถึงโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ สปสช. www.nhso.go.th
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่