อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุคนไทยป่วยธาลัสซีเมียประมาณ 6 แสนคน เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงปานกลาง ต้องรับเลือดและยาขับเหล็กเป็นประจำทุกเดือน ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี แนะคู่สมรสควรตรวจเลือดก่อนมีบุตรจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยธาลัสซีเมียได้
วันนี้ (18 ธ.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ธาลัสซีเมีย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว จากการศึกษาพบว่า ประชากรไทยมียีนทางพันธุกรรมที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ประมาณร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 18 - 24 ล้านคน ในแต่ละปีมีเด็กเกิดใหม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียประมาณ 12,125 ราย ซึ่งมีผู้ป่วยประมาณ 6 แสนคน เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงปานกลางที่จำเป็นต้องรับเลือดและยาขับเหล็กเป็นประจำทุกเดือน ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันความรู้และเทคโนโลยีด้านธาลัสซีเมียมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วส่งผลให้สามารถป้องกันและควบคุมโรคได้ จึงได้มีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติขึ้น เพื่อนำเสนอวิทยาการใหม่ๆ ในด้านการรักษาพยาบาลและควบคุมโรคธาลัสซีเมียและหาข้อสรุปเชิงนโยบายของการแก้ปัญหาของประเทศ นำไปแก้ไขเชิงระบบและเชื่อมโยงระบบบริการของประเทศตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อนำมาปรับการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน การประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยการบรรยาย อภิปรายโดยมีวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งเผยแพร่แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในประเทศไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเจ้าหน้าที่ห้องชันสูตร จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งสิ้น 500 คน
แพทย์หญิง ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดจากยีนต้นกำเนิดของพ่อและแม่หากไม่ได้รับการดูแลรักษา อาจส่งผลต่อเนื่องตามระดับความรุนแรงของโรค เนื่องจากโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในประเทศไทย มีหลายชนิดและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ชนิดที่รุนแรงที่สุด ทารกจะบวมน้ำและอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ส่วนชนิดที่ค่อนข้างรุนแรงช่วงทารกแรกเกิดจะปกติแต่ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 1 - 2 ปี โดยมักจะมีอาการซีดเรื้อรัง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย เจริญเติบโตไม่สมอายุ ตับและม้ามโต กระดูกใบหน้าเปลี่ยนรูป จมูกแบน กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง ชนิดที่มีอาการน้อย ผู้ป่วยจะซีดเล็กน้อยหรือไม่ซีดเลย แต่ถ้ามีไข้หรือติดเชื้อ จะมีอาการซีดลงได้มากและเร็ว ซึ่งถ้ามีอาการไข้หรือติดเชื้อรุนแรง อาจเกิดภาวการณ์ทำงานของหัวใจล้มเหลวได้ การรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคองโดยการให้เลือด ซึ่งมี 2 แบบคือ แบบแรก เป็นการให้เลือดแบบประคับประคองเมื่อผู้ป่วยซีดมาก เพื่อเพิ่มระดับฮีโมโกลบินขึ้น ให้สูงเพื่อให้ผู้ป่วยจะหายจากอาการอ่อนเพลีย หรือหายเหนื่อยจากการขาดออกซิเจนซึ่งจะให้ตามความจำเป็น และแบบที่ 2 เป็นการให้เลือดเพื่อให้ผู้ป่วยมีระดับฮีโมโกลบินใกล้เคียงเด็กปกติ ซึ่งจะใช้กับผู้ป่วยชนิดรุนแรงที่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อยๆ เพื่อยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของลักษณะกระดูกใบหน้า ป้องกันไม่ให้ตับและม้ามโต ไม่เหนื่อย และมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงเด็กปกติทั้งความสูงและน้ำหนักตัว แต่ข้อเสียของการให้เลือดวิธีนี้คือ ผู้ป่วยต้องมารับเลือดอย่างสม่ำเสมอและจะมีปัญหาที่สำคัญแทรกซ้อนตามมา คือภาวะธาตุเหล็กเกิน
สำหรับการป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมีย เป็นสิ่งที่กรมการแพทย์ร่วมกับกรมอื่นๆ และภาคีเครือข่ายด้านเด็กพิการ แต่กำเนิดร่วมผลักดันแผนการดูแลเด็กพิการแต่กำเนิดระดับชาติ (Country Action Plan) ซึ่งหนึ่งในมาตรการคือการตรวจคัดกรองหญิงกำลังตั้งครรภ์และสามีให้ทั้งคู่มาตรวจเลือดเพื่อค้นหายีนธาลัสซีเมีย โดยมีการตั้งเป้าหมายการคัดกรองธาลัสซีเมีย ในปี 2557 ให้มากกว่าร้อยละ 70 และในอีก 3 ปีข้างหน้า (ปี 2560) ให้มากกว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้แพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด และหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นเลือดจางธาลัสซีเมีย รวมทั้งวางแผนในการมีลูกคนต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (18 ธ.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ธาลัสซีเมีย เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญปัญหาหนึ่งของประเทศ ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และจิตใจของผู้ป่วยและครอบครัว จากการศึกษาพบว่า ประชากรไทยมียีนทางพันธุกรรมที่เป็นพาหะของโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ ประมาณร้อยละ 30-40 หรือประมาณ 18 - 24 ล้านคน ในแต่ละปีมีเด็กเกิดใหม่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมียประมาณ 12,125 ราย ซึ่งมีผู้ป่วยประมาณ 6 แสนคน เป็นโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงปานกลางที่จำเป็นต้องรับเลือดและยาขับเหล็กเป็นประจำทุกเดือน ทำให้สูญเสียค่าใช้จ่ายมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ปัจจุบันความรู้และเทคโนโลยีด้านธาลัสซีเมียมีความก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วส่งผลให้สามารถป้องกันและควบคุมโรคได้ จึงได้มีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการธาลัสซีเมียแห่งชาติขึ้น เพื่อนำเสนอวิทยาการใหม่ๆ ในด้านการรักษาพยาบาลและควบคุมโรคธาลัสซีเมียและหาข้อสรุปเชิงนโยบายของการแก้ปัญหาของประเทศ นำไปแก้ไขเชิงระบบและเชื่อมโยงระบบบริการของประเทศตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้จุดแข็ง จุดอ่อน เพื่อนำมาปรับการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงาน การประชุมครั้งนี้ประกอบด้วยการบรรยาย อภิปรายโดยมีวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและนอกสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งเผยแพร่แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ เพื่อให้การรักษาผู้ป่วยธาลัสซีเมียในประเทศไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ แพทย์ พยาบาล นักวิชาการ นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ และเจ้าหน้าที่ห้องชันสูตร จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ทบวงมหาวิทยาลัย และโรงพยาบาลเอกชน รวมทั้งสิ้น 500 คน
แพทย์หญิง ศิราภรณ์ สวัสดิวร ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เปิดเผยว่า โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรม ที่ถ่ายทอดจากยีนต้นกำเนิดของพ่อและแม่หากไม่ได้รับการดูแลรักษา อาจส่งผลต่อเนื่องตามระดับความรุนแรงของโรค เนื่องจากโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในประเทศไทย มีหลายชนิดและมีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน ชนิดที่รุนแรงที่สุด ทารกจะบวมน้ำและอาจเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา ส่วนชนิดที่ค่อนข้างรุนแรงช่วงทารกแรกเกิดจะปกติแต่ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการตั้งแต่อายุ 1 - 2 ปี โดยมักจะมีอาการซีดเรื้อรัง ตัวเหลือง อ่อนเพลีย เจริญเติบโตไม่สมอายุ ตับและม้ามโต กระดูกใบหน้าเปลี่ยนรูป จมูกแบน กะโหลกศีรษะหนา โหนกแก้มนูนสูง ชนิดที่มีอาการน้อย ผู้ป่วยจะซีดเล็กน้อยหรือไม่ซีดเลย แต่ถ้ามีไข้หรือติดเชื้อ จะมีอาการซีดลงได้มากและเร็ว ซึ่งถ้ามีอาการไข้หรือติดเชื้อรุนแรง อาจเกิดภาวการณ์ทำงานของหัวใจล้มเหลวได้ การรักษาโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ส่วนใหญ่เป็นการรักษาแบบประคับประคองโดยการให้เลือด ซึ่งมี 2 แบบคือ แบบแรก เป็นการให้เลือดแบบประคับประคองเมื่อผู้ป่วยซีดมาก เพื่อเพิ่มระดับฮีโมโกลบินขึ้น ให้สูงเพื่อให้ผู้ป่วยจะหายจากอาการอ่อนเพลีย หรือหายเหนื่อยจากการขาดออกซิเจนซึ่งจะให้ตามความจำเป็น และแบบที่ 2 เป็นการให้เลือดเพื่อให้ผู้ป่วยมีระดับฮีโมโกลบินใกล้เคียงเด็กปกติ ซึ่งจะใช้กับผู้ป่วยชนิดรุนแรงที่เริ่มมีอาการตั้งแต่อายุน้อยๆ เพื่อยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของลักษณะกระดูกใบหน้า ป้องกันไม่ให้ตับและม้ามโต ไม่เหนื่อย และมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงเด็กปกติทั้งความสูงและน้ำหนักตัว แต่ข้อเสียของการให้เลือดวิธีนี้คือ ผู้ป่วยต้องมารับเลือดอย่างสม่ำเสมอและจะมีปัญหาที่สำคัญแทรกซ้อนตามมา คือภาวะธาตุเหล็กเกิน
สำหรับการป้องกันการเกิดโรคธาลัสซีเมีย เป็นสิ่งที่กรมการแพทย์ร่วมกับกรมอื่นๆ และภาคีเครือข่ายด้านเด็กพิการ แต่กำเนิดร่วมผลักดันแผนการดูแลเด็กพิการแต่กำเนิดระดับชาติ (Country Action Plan) ซึ่งหนึ่งในมาตรการคือการตรวจคัดกรองหญิงกำลังตั้งครรภ์และสามีให้ทั้งคู่มาตรวจเลือดเพื่อค้นหายีนธาลัสซีเมีย โดยมีการตั้งเป้าหมายการคัดกรองธาลัสซีเมีย ในปี 2557 ให้มากกว่าร้อยละ 70 และในอีก 3 ปีข้างหน้า (ปี 2560) ให้มากกว่าร้อยละ 90 ทั้งนี้ เพื่อที่จะให้แพทย์ได้ตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ก่อนคลอด และหลีกเลี่ยงการมีลูกเป็นเลือดจางธาลัสซีเมีย รวมทั้งวางแผนในการมีลูกคนต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่