ห่วงอาหารทำพิษช่วงปีใหม่ ชี้ส่วนใหญ่อาหารใช้สังสรรค์เป็นแป้ง น้ำตาล นม ไข่ ง่ายต่อการเจริญเติบโตของเชื้อ แถมปรุงสุกๆ ดิบๆ ย้ำกินอาหารปรุงสุก ล้างมือทุกครั้งก่อนและหลังกิน
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ประชาชนส่วนใหญ่จะนิยมจัดงานเลี้ยงฉลองตามสถานที่ต่างๆ สิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ความสะอาดปลอดภัยของอาหารที่จะบริโภค เพราะงานเลี้ยงส่วนใหญ่มีการจัดเตรียมอาหารล่วงหน้า ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคที่เป็นอันตรายที่ก่อให้ เกิดโรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษที่ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรค 3 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus aureus หรือเชื้อโรคจากแผล ฝีหนอง Vibrio Parahaemolyticus หรือเชื้อโรคที่พบในอาหารทะเล และ Salmonella หรือเชื้อไทฟอยด์ อาการสำคัญที่พบประจำ คือ ปวดท้อง ท้องเสีย หรืออาจจะมีอาเจียนร่วมด้วย จึงต้องระมัดระวัง ในการบริโภคอาหารเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่บูดเสียง่าย ได้แก่ ขนมเอแคร์ ขนมปังไส้สังขยา น้ำสลัดที่ทำจากนม
นพ.พรเทพ กล่าวว่า อาหารดังกล่าว จะมีส่วนประกอบของแป้ง น้ำตาล นม เนย ไข่ ซึ่งเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอย่างมาก นอกจากนี้ยัง ไม่ได้ผ่านความร้อนและต้องสัมผัสกับมือผู้ปรุงประกอบ จึงทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคและบูดเสียง่าย การเลือกบริโภคต้องสังเกต สีของครีม จะต้องมีสีขาว ไม่มีกลิ่นเหม็นบูด อาหารประเภทยำ ลาบ อาหารประเภทนี้ มักจะปรุงประกอบ แบบสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล ยำ ลาบเนื้อ ลาบไก่ ที่มักจะรวนเนื้อสัตว์พอสุกเท่านั้น แล้วใส่เครื่องปรุง และเน้นรสชาติที่เผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัด จึงควรเลือกกินอาหารที่ผ่านความร้อนอย่างทั่วถึงแทนจะดีกว่า ลักษณะเนื้อสัตว์ต้องสุก รสชาติไม่เผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัดจนเกินไป ที่สำคัญคือควรมีภาชนะบรรจุที่สะอาด มีการปกปิดมิดชิดก่อนจะนำมาบริโภค ผู้ขายหรือผู้ปรุงไม่ใช้มือหยิบจับอาหาร สวมผ้ากันเปื้อนหมวกคลุมผมและไม่ควรบริโภคอาหารที่ทิ้งไว้ ข้ามวัน
นพ.พรเทพ กล่าวว่า สำหรับอาหารประเภทขนมจีนและแกงใส่กะทิ ควรอุ่นให้ร้อนเป็นระยะ คือ ประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง ขนมจีนควรซื้อที่จำหน่ายใหม่ๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้และจะต้องมีการนึ่งเส้นขนมจีนใหม่ก่อนจะนำมาบริโภค และใช้ถุงมือหรือภาชนะอุปกรณ์ในการหยิบจับ ส่วน เนื้อสัตว์ประเภทปิ้ง ย่าง มักจะปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ จึงควรปรุงให้สุกหรือใช้การทอดแทนจะดีกว่า อาหารทะเล มักจะมีการปรุงประกอบและบริโภคแบบสุกๆ ดิบๆ เช่น หอยนางรมดิบ กุ้งเผา ปลาหมึกเผา จึงควรมีการล้างและฆ่าเชื้อโรคด้วย น้ำผสมผงปูนคลอรีน ที่ความเข้มข้น 100 ppm อาหารประเภทข้าวผัด โดยเฉพาะ ข้าวผัดปู มีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค ได้ง่าย ควรเลือกข้าวผัดที่ปรุง สุกใหม่ หรือมีการอุ่นร้อนตลอดเวลา และสุดท้าย คืออาหารประเภทผักสดและผลไม้ ควรล้างให้สะอาด รวมทั้งการหยิบจับผักผลไม้สด ควรใช้ภาชนะหยิบจับ ไม่ควรใช้มือหยิบจับ
“ทั้งนี้ ในงานเลี้ยงพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม คือ กินอาหารที่ร้อน บริโภคร่วมกันให้ใช้ช้อนกลาง ก่อนบริโภคอาหารต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดปริมาณอาหารรสหวานจัด กินผลไม้แทนขนมหวาน ลดอาหารรสเค็ม หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด อาหารที่มีไขมันสูง และอาหารสุกๆ ดิบๆ ดื่มน้ำเปล่า หรือชาเขียวแทนการดื่มน้ำหวาน ควรจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อควบคุมพลังงานและสติในการเลือกกินด้วย นอกจากนี้ หลังอาหารมื้อหนักควรรอให้อาหารย่อยก่อนอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง จึงนอน เพราะการนอนหลับหลังมื้ออาหารทันทีเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อนและทำให้มีไขมันสะสมบริเวณท้อง ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและส่งผลต่อการมีสุขภาพดีในระยะยาว” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ช่วงเทศกาลปีใหม่ประชาชนส่วนใหญ่จะนิยมจัดงานเลี้ยงฉลองตามสถานที่ต่างๆ สิ่งที่ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ ความสะอาดปลอดภัยของอาหารที่จะบริโภค เพราะงานเลี้ยงส่วนใหญ่มีการจัดเตรียมอาหารล่วงหน้า ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคที่เป็นอันตรายที่ก่อให้ เกิดโรคอุจจาระร่วงและอาหารเป็นพิษที่ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อโรค 3 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus aureus หรือเชื้อโรคจากแผล ฝีหนอง Vibrio Parahaemolyticus หรือเชื้อโรคที่พบในอาหารทะเล และ Salmonella หรือเชื้อไทฟอยด์ อาการสำคัญที่พบประจำ คือ ปวดท้อง ท้องเสีย หรืออาจจะมีอาเจียนร่วมด้วย จึงต้องระมัดระวัง ในการบริโภคอาหารเป็นพิเศษ หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่บูดเสียง่าย ได้แก่ ขนมเอแคร์ ขนมปังไส้สังขยา น้ำสลัดที่ทำจากนม
นพ.พรเทพ กล่าวว่า อาหารดังกล่าว จะมีส่วนประกอบของแป้ง น้ำตาล นม เนย ไข่ ซึ่งเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคอย่างมาก นอกจากนี้ยัง ไม่ได้ผ่านความร้อนและต้องสัมผัสกับมือผู้ปรุงประกอบ จึงทำให้เสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรคและบูดเสียง่าย การเลือกบริโภคต้องสังเกต สีของครีม จะต้องมีสีขาว ไม่มีกลิ่นเหม็นบูด อาหารประเภทยำ ลาบ อาหารประเภทนี้ มักจะปรุงประกอบ แบบสุกๆ ดิบๆ โดยเฉพาะอาหารทะเล ยำ ลาบเนื้อ ลาบไก่ ที่มักจะรวนเนื้อสัตว์พอสุกเท่านั้น แล้วใส่เครื่องปรุง และเน้นรสชาติที่เผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัด จึงควรเลือกกินอาหารที่ผ่านความร้อนอย่างทั่วถึงแทนจะดีกว่า ลักษณะเนื้อสัตว์ต้องสุก รสชาติไม่เผ็ดจัด หรือเปรี้ยวจัดจนเกินไป ที่สำคัญคือควรมีภาชนะบรรจุที่สะอาด มีการปกปิดมิดชิดก่อนจะนำมาบริโภค ผู้ขายหรือผู้ปรุงไม่ใช้มือหยิบจับอาหาร สวมผ้ากันเปื้อนหมวกคลุมผมและไม่ควรบริโภคอาหารที่ทิ้งไว้ ข้ามวัน
นพ.พรเทพ กล่าวว่า สำหรับอาหารประเภทขนมจีนและแกงใส่กะทิ ควรอุ่นให้ร้อนเป็นระยะ คือ ประมาณ 2 - 4 ชั่วโมง ขนมจีนควรซื้อที่จำหน่ายใหม่ๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้และจะต้องมีการนึ่งเส้นขนมจีนใหม่ก่อนจะนำมาบริโภค และใช้ถุงมือหรือภาชนะอุปกรณ์ในการหยิบจับ ส่วน เนื้อสัตว์ประเภทปิ้ง ย่าง มักจะปรุงแบบสุกๆ ดิบๆ จึงควรปรุงให้สุกหรือใช้การทอดแทนจะดีกว่า อาหารทะเล มักจะมีการปรุงประกอบและบริโภคแบบสุกๆ ดิบๆ เช่น หอยนางรมดิบ กุ้งเผา ปลาหมึกเผา จึงควรมีการล้างและฆ่าเชื้อโรคด้วย น้ำผสมผงปูนคลอรีน ที่ความเข้มข้น 100 ppm อาหารประเภทข้าวผัด โดยเฉพาะ ข้าวผัดปู มีโอกาสเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อโรค ได้ง่าย ควรเลือกข้าวผัดที่ปรุง สุกใหม่ หรือมีการอุ่นร้อนตลอดเวลา และสุดท้าย คืออาหารประเภทผักสดและผลไม้ ควรล้างให้สะอาด รวมทั้งการหยิบจับผักผลไม้สด ควรใช้ภาชนะหยิบจับ ไม่ควรใช้มือหยิบจับ
“ทั้งนี้ ในงานเลี้ยงพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสม คือ กินอาหารที่ร้อน บริโภคร่วมกันให้ใช้ช้อนกลาง ก่อนบริโภคอาหารต้องล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดปริมาณอาหารรสหวานจัด กินผลไม้แทนขนมหวาน ลดอาหารรสเค็ม หลีกเลี่ยงอาหารประเภททอด อาหารที่มีไขมันสูง และอาหารสุกๆ ดิบๆ ดื่มน้ำเปล่า หรือชาเขียวแทนการดื่มน้ำหวาน ควรจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพื่อควบคุมพลังงานและสติในการเลือกกินด้วย นอกจากนี้ หลังอาหารมื้อหนักควรรอให้อาหารย่อยก่อนอย่างน้อย 2 - 3 ชั่วโมง จึงนอน เพราะการนอนหลับหลังมื้ออาหารทันทีเป็นสาเหตุของการเกิดโรคกรดไหลย้อนและทำให้มีไขมันสะสมบริเวณท้อง ซึ่งหากสามารถปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำ ก็จะสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรังและส่งผลต่อการมีสุขภาพดีในระยะยาว” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่