ระวัง! สเตียรอยด์คุกคามสุขภาพคนไทย พบแอบลักลอบใส่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร - ยาวัด ทำร่างกายรู้สึกกระชุ่มกระชวย หายป่วย คิดว่าอาหารเสริม - ยาดี แท้จริงอันตรายทำหน้าตาเปลี่ยน เกิดหนอก ต่อมหมวกไตผิดปกติ และอาจถึงตาย ชงเข้าสมัชชาสุขภาพแก้ปัญหา
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาการใช้สเตียรอยด์ยังคงคุกคามสุขภาพคนไทย และมีการลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ แม้ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันกวดขันอย่างจริงจัง แต่ปัญหาก็ไม่ลดลง ขณะที่รูปแบบการกระทำผิดมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมแอบผสมในยาชุด กลับพบการลักลอบใส่ในยาลูกกลอน ยาผง ยาแผนโบราณ โดยเฉพาะขณะนี้พบว่าการลักลอบใส่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ รวมถึงยาที่จัดจำหน่ายโดยวัดที่มีการจัดส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งการลักลอบใส่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น จะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างครอบคลุม เพราะช่วยลดการอักเสบและยังเป็นเหมือนยาอายุวัฒนะที่ทำให้คนที่กินรู้สึกว่าระบบร่างกายแลดูดีขึ้น กระชุ่มกระชวยเหมือนหายป่วย และเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนั้นดี รักษาได้ผลครอบคลุมจักรวาล
“เมื่อคนไข้อาการดีขึ้นทันตาเห็นก็จะมีการบอกต่อๆ กันไป ทำให้ยิ่งเกิดการใช้ แต่ความจริงแล้วการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ลักลอบผสมสเตียรอยด์จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายจนถึงขึ้นเสียชีวิตได้” รองเลขาธิการ อย. กล่าวและว่า สเตียรอยด์จัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ เท่ากับต้องมีใช้ในโรงพยาบาล คลินิก หรือร้านขายยาที่จะสามารถขายได้โดยมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น หากใช้โดยไม่ใช่ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์หรือไม่ใช่แพทย์สั่ง จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก ทำให้รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปลง มีหนอก กดการทำงานของต่อมหมวกไต ส่งผลต่อระบบการทำงานของฮอร์โมน ร่างกายทรุดโทรม มีโอกาสติดเชื้อและเลือดออกในทางเดินอาหาร และเสียชีวิตได้ ประชาชนจึงควรซื้อยาจากร้านขายยา และไม่ควรซื้อยาที่ไม่มีทะเบียนตำรับยา โดยเฉพาะยาแผนโบราณไม่ควรซื้อจากรถเร่ แผงลอย ตลาดนัดหรือวัด ยิ่งหากไม่มีทะเบียนตำรับไม่ควรซื้อเด็ดขาด
อนึ่ง ในการประชุมสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2557 ระหว่างวันที่ 24 - 26 ธันวาคม 2557 ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม การจัดการสเตียรอยด์ที่คุกคามสุขภาพคนไทยจะเป็น 1 ใน 6 ระเบียบวาระสำคัญที่จะนำมาหารือเพื่อพิจารณาเป็นมติเสนอแนะเป็นนโยบายสาธารณะในการแก้ปัญหาร่วมกับอีก 5 วาระ ได้แก่ การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง, การพัฒนากระบวนการประเมินและการตัดสินใจการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ, การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน,การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย และทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การป้องกัน ผลกระทบต่อสุขภาวะและสังคมจากการค้าเสรีระหว่างประเทศ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาการใช้สเตียรอยด์ยังคงคุกคามสุขภาพคนไทย และมีการลักลอบนำเข้าจากต่างประเทศ แม้ อย. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันกวดขันอย่างจริงจัง แต่ปัญหาก็ไม่ลดลง ขณะที่รูปแบบการกระทำผิดมีการพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมแอบผสมในยาชุด กลับพบการลักลอบใส่ในยาลูกกลอน ยาผง ยาแผนโบราณ โดยเฉพาะขณะนี้พบว่าการลักลอบใส่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่างๆ รวมถึงยาที่จัดจำหน่ายโดยวัดที่มีการจัดส่งทางไปรษณีย์ ซึ่งการลักลอบใส่ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น จะให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างครอบคลุม เพราะช่วยลดการอักเสบและยังเป็นเหมือนยาอายุวัฒนะที่ทำให้คนที่กินรู้สึกว่าระบบร่างกายแลดูดีขึ้น กระชุ่มกระชวยเหมือนหายป่วย และเข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารชนิดนั้นดี รักษาได้ผลครอบคลุมจักรวาล
“เมื่อคนไข้อาการดีขึ้นทันตาเห็นก็จะมีการบอกต่อๆ กันไป ทำให้ยิ่งเกิดการใช้ แต่ความจริงแล้วการรับประทานยาหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ลักลอบผสมสเตียรอยด์จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายจนถึงขึ้นเสียชีวิตได้” รองเลขาธิการ อย. กล่าวและว่า สเตียรอยด์จัดเป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ เท่ากับต้องมีใช้ในโรงพยาบาล คลินิก หรือร้านขายยาที่จะสามารถขายได้โดยมีใบสั่งแพทย์เท่านั้น หากใช้โดยไม่ใช่ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์หรือไม่ใช่แพทย์สั่ง จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายอย่างมาก ทำให้รูปร่างหน้าตาเปลี่ยนแปลง มีหนอก กดการทำงานของต่อมหมวกไต ส่งผลต่อระบบการทำงานของฮอร์โมน ร่างกายทรุดโทรม มีโอกาสติดเชื้อและเลือดออกในทางเดินอาหาร และเสียชีวิตได้ ประชาชนจึงควรซื้อยาจากร้านขายยา และไม่ควรซื้อยาที่ไม่มีทะเบียนตำรับยา โดยเฉพาะยาแผนโบราณไม่ควรซื้อจากรถเร่ แผงลอย ตลาดนัดหรือวัด ยิ่งหากไม่มีทะเบียนตำรับไม่ควรซื้อเด็ดขาด
อนึ่ง ในการประชุมสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2557 ระหว่างวันที่ 24 - 26 ธันวาคม 2557 ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม การจัดการสเตียรอยด์ที่คุกคามสุขภาพคนไทยจะเป็น 1 ใน 6 ระเบียบวาระสำคัญที่จะนำมาหารือเพื่อพิจารณาเป็นมติเสนอแนะเป็นนโยบายสาธารณะในการแก้ปัญหาร่วมกับอีก 5 วาระ ได้แก่ การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อบูรณาการกลไกคุ้มครองเด็ก เยาวชน และครอบครัวจากปัจจัยเสี่ยง, การพัฒนากระบวนการประเมินและการตัดสินใจการใช้เทคโนโลยีด้านสุขภาพ, การกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในประชาชน,การจัดทำแผนยุทธศาสตร์สุขภาพโลกของประเทศไทย และทบทวนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ การป้องกัน ผลกระทบต่อสุขภาวะและสังคมจากการค้าเสรีระหว่างประเทศ
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่