สอศ. วางแนวทางวิทยาลัยฐานวิทย์ เฟส 2 เน้นความเป็นเลิศด้านวิทย์ในหลากหลายรูปแบบ เช่นเดียวกับสายสามัญ ภายใต้ 3 ลักษณะ ทั้งพัฒนา 5 แห่งเดิมจากฐานวิทย์เป็นวิทยาศาสตร์เต็มรูปแบบ เปิดห้องเรียนวิทย์ในวิทยาลัยที่มีความพร้อม และขยายห้องเรียนฐานวิทย์จากระดับ ปวช. ไปสู่ระดับ ปวส. “ชัยพฤกษ์” ชี้เป็นผลหารือเบื้องต้น เร่งทำข้อมูลเสนอบอร์ดอีกครั้ง 24 ธ.ค. ก่อนชง ครม. พิจารณาเห็นชอบ
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ที่มี นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานคณะกรรมการ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้หารือในรายละเอียดของการติดตามความคืบหน้าของโครงการ การทบทวนสภาพปัญหาในปัจจุบัน ตลอดจนข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางการจัดทำแผนดำเนินโครงการ ระยะที่ 2 ปี 2558 - 2562 โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้นำเสนอว่าเนื่องจากปัจจุบันมีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการเพียง 5 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ชลบุรี วิทยาลัยเทคนิค (วท.) สุรนารี สาขาช่างอุตสาหกรรม วท.พังงา สาขาโรงแรมและการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษา (วอศ.) สิงห์บุรี สาขาเทคโนโลยีอาหาร และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) ลำพูน สาขาเกษตร โดยทุกแห่งเปิดรับผู้เรียนแค่ปีละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 150 คนต่อปีการศึกษา ดังนั้น แผนดำเนินโครงการระยะที่ 2 จึงอยากเสนอให้โครงการมีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ในหลากหลายรูปแบบเหมือนโรงเรียนสายสามัญ ที่มีทั้งกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่เป็นองค์การมหาชน และยังมีการเปิดห้องเรียนวิทยาศาสร์ในโรงเรียนปกติด้วย เริ่มจากเพิ่มผู้เรียนใน 5 วิทยาลัยข้างต้น ตลอดจนขอเพิ่มจำนวนสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้ จะจัดกลุ่มสถานศึกษาที่ร่วมโครงการเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ยกระดับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ 5 แห่งเดิม เป็นวิทยาลัยฐานวิทยาศาสตร์แบบเต็มรูปแบบ คือ เปิดเป็นฐานวิทยาศาสตร์ในทุกสาขาวิชาและทุกชั้นเรียน คล้ายกับโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย และให้มีวิทยาลัยฐานวิทยาศาสตร์ที่เป็นองค์การมหาชน 2. เปิดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาสังกัด สอศ. ที่มีความพร้อม และ 3. ขยายห้องเรียนฐานวิทยาศาสตร์ จากเดิมเปิดแค่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ก็ขอให้เปิดเพิ่มขึ้นไปในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เนื่องจาก สอศ. พบว่าผู้เรียนในปัจจุบันเมื่อเรียนจบส่วนใหญ่จะเลือกศึกษาต่อมากกว่าเข้าสู่ตลาดแรงงาน จึงควรขยายโครงการเพื่อรองรับความต้องการของหัวกระทิสายวิชาชีพกลุ่มนี้ด้วย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของโครงการคือการเปิดพื้นที่ให้เด็กเก่ง มีโอกาสเรียนสายอาชีพมากขึ้น เพราะมีทั้งทุนรองรับ และการันตีการมีงานทำเมื่อเรียนจบ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่ สอศ. เสนอเท่านั้น ยังไม่ถือเป็นข้อยุติ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ทุกฝ่ายกลับไปพิจารณาในประเด็นที่รับผิดชอบ และให้เสนอกลับมาพิจาณาในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการครั้งต่อไปในวันที่ 24 ธ.ค. นี้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการโครงการวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ ที่มี นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานคณะกรรมการ เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้หารือในรายละเอียดของการติดตามความคืบหน้าของโครงการ การทบทวนสภาพปัญหาในปัจจุบัน ตลอดจนข้อเสนอเพื่อเป็นแนวทางการจัดทำแผนดำเนินโครงการ ระยะที่ 2 ปี 2558 - 2562 โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้นำเสนอว่าเนื่องจากปัจจุบันมีสถานศึกษาเข้าร่วมโครงการเพียง 5 แห่ง ประกอบด้วย วิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ชลบุรี วิทยาลัยเทคนิค (วท.) สุรนารี สาขาช่างอุตสาหกรรม วท.พังงา สาขาโรงแรมและการท่องเที่ยว วิทยาลัยอาชีวศึกษา (วอศ.) สิงห์บุรี สาขาเทคโนโลยีอาหาร และวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (วษท.) ลำพูน สาขาเกษตร โดยทุกแห่งเปิดรับผู้เรียนแค่ปีละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 150 คนต่อปีการศึกษา ดังนั้น แผนดำเนินโครงการระยะที่ 2 จึงอยากเสนอให้โครงการมีความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ในหลากหลายรูปแบบเหมือนโรงเรียนสายสามัญ ที่มีทั้งกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ที่เป็นองค์การมหาชน และยังมีการเปิดห้องเรียนวิทยาศาสร์ในโรงเรียนปกติด้วย เริ่มจากเพิ่มผู้เรียนใน 5 วิทยาลัยข้างต้น ตลอดจนขอเพิ่มจำนวนสถานศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
ทั้งนี้ จะจัดกลุ่มสถานศึกษาที่ร่วมโครงการเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ยกระดับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ 5 แห่งเดิม เป็นวิทยาลัยฐานวิทยาศาสตร์แบบเต็มรูปแบบ คือ เปิดเป็นฐานวิทยาศาสตร์ในทุกสาขาวิชาและทุกชั้นเรียน คล้ายกับโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย และให้มีวิทยาลัยฐานวิทยาศาสตร์ที่เป็นองค์การมหาชน 2. เปิดห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษาสังกัด สอศ. ที่มีความพร้อม และ 3. ขยายห้องเรียนฐานวิทยาศาสตร์ จากเดิมเปิดแค่ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ก็ขอให้เปิดเพิ่มขึ้นไปในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) เนื่องจาก สอศ. พบว่าผู้เรียนในปัจจุบันเมื่อเรียนจบส่วนใหญ่จะเลือกศึกษาต่อมากกว่าเข้าสู่ตลาดแรงงาน จึงควรขยายโครงการเพื่อรองรับความต้องการของหัวกระทิสายวิชาชีพกลุ่มนี้ด้วย เนื่องจากวัตถุประสงค์ของโครงการคือการเปิดพื้นที่ให้เด็กเก่ง มีโอกาสเรียนสายอาชีพมากขึ้น เพราะมีทั้งทุนรองรับ และการันตีการมีงานทำเมื่อเรียนจบ อย่างไรก็ตาม รายละเอียดเหล่านี้เป็นเพียงสิ่งที่ สอศ. เสนอเท่านั้น ยังไม่ถือเป็นข้อยุติ ดังนั้น ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ทุกฝ่ายกลับไปพิจารณาในประเด็นที่รับผิดชอบ และให้เสนอกลับมาพิจาณาในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการครั้งต่อไปในวันที่ 24 ธ.ค. นี้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่