บอร์ดคุรุสภาไฟเขียวให้ ผอ.ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์ ได้รับตั๋วผู้บริหารเป็นกรณีพิเศษ เพราะเป็น ร.ร. จัดสอนเฉพาะทางต้องการคนที่มีความรู้เฉพาะทางบริหาร และอนุมัติให้เพียง 1 วาระดำรงตำแหน่ง ยันไม่ได้ให้โดยอัตโนมัติ พร้อมอนุมัติให้ สอศ. รับสมัครผู้จบสาขาอื่นมาสอบเป็นครูผู้ช่วยได้เฉพาะสาขาที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการ และต้องพัฒนาตามระบบตามเงื่อนไขคุรุสภากำหนดเพื่อให้ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาครูในสาขาขาดแคลน ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยเปิดช่องให้สามารถรับผู้จบสาขาวิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่สาขาวิชาชีพทางการศึกษา มาเป็นครูสาขาขาดแคลนที่เป็นความต้องการของสถานศึกษาแต่คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ไม่ได้เปิดสอนในตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จะออกหนังสือปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้ชั่วคราวเป็นระยะเวลา 90 วัน เพื่อให้นำไปสมัครสอบครูผู้ช่วยของ สอศ. หากสอบได้ครูกลุ่มนี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการเพื่อพัฒนาตามขั้นตอนที่คุรุสภา กำหนดซึ่งคุรุสภาจะออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั่วคราวให้ 3 ครั้งๆ ละ 2 ปีรวม 6 ปี แต่หากสอบไม่ผ่านก็ไม่มีสิทธิใช้หนังสือปฏิบัติการสอนฯ ไปใช้ได้อีก
“เวลานี้มีข้อเรียกร้องมามากว่านักศึกษาอาชีวศึกษาที่ได้ทุนการศึกษาทั้งจากของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สอศ. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เมื่อสำเร็จการศึกษามาแล้วไม่สามารถบรรจุเข้ารับราชการครูได้ เพราะไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทำให้ต้องไปทำงานเอกชนหมด ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุโลมนักศึกษาอาชีวะที่ได้รับทุนเหล่านี้เมื่อกลับมาสามารถบรรจุรับราชการครูตามเงื่อนไขของทุนได้ทันที แต่ต้องแจ้งให้คุรุสภารับทราบเพื่อออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั่วคราวและเข้าสู่การพัฒนาตามระบบวิชาชีพครูของคุรุสภาต่อไป” ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาอนุญาตการประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กรณีของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นกรณีพิเศษที่จำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ดังนั้น หากสถานศึกษาใดจำเป็นต้องมีผู้บริหารเฉพาะทางก็ต้องเสนอขออนุญาตเป็นรายกรณี ทั้งนี้ขอย้ำว่า การอนุญาตให้บริหารสถานศึกษาได้ดังกล่าวเฉพาะตนและตามวาระการดำรงตำแหน่งเท่านั้น ไม่ได้เป็นการให้ได้ใบอนุญาตอัตโนมัติ ส่วนภาคเอกชนที่เปิดโรงเรียน แต่ยังขาดผู้บริหารที่มีใบอนุญาตฯ นั้น คุรุสภายืนยันว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าวยังจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหาร สถานศึกษา เพื่อให้การบริหาร และการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
“ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เน้นจัดการเรียนการสอนเฉพาะทางเกิดขึ้นจำนวนมาก อาทิ โรงเรียนที่เน้นสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ดนตรี และ กีฬา ดังนั้น โรงเรียนดังกล่าวจึงต้องการผู้บริหารที่ผ่านการคัดเลือกในรูปแบบพิเศษ และเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ซึ่งคนเหล่านี้อาจไม่มีใบอนุญาตฯ เพื่อมาใช้ในการบริหารโรงเรียน ดังนั้น คุรุสภาจึงอนุโลมให้สามารถบริหารโรงเรียนได้ตามวาระที่กำหนด โดยเบื้องต้นอนุมัติในหลักการให้คราวละ 1 วาระ ส่วนจะเพิ่มมากกว่านั้นหรือไม่ต้องไปพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การอนุมัติครั้งนี้จะมีผลเฉพาะโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่า นั้น ส่วนโรงเรียนอื่นๆ ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน ต้องเสนอขออนุญาตมายังคุรุสภาเพื่อพิจารณาเป็นรายๆ ไป” ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาครูในสาขาขาดแคลน ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) โดยเปิดช่องให้สามารถรับผู้จบสาขาวิชาชีพอื่นที่ไม่ใช่สาขาวิชาชีพทางการศึกษา มาเป็นครูสาขาขาดแคลนที่เป็นความต้องการของสถานศึกษาแต่คณะศึกษาศาสตร์ คณะครุศาสตร์ไม่ได้เปิดสอนในตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา จะออกหนังสือปฏิบัติการสอนโดยไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ให้ชั่วคราวเป็นระยะเวลา 90 วัน เพื่อให้นำไปสมัครสอบครูผู้ช่วยของ สอศ. หากสอบได้ครูกลุ่มนี้จะต้องเข้าสู่กระบวนการเพื่อพัฒนาตามขั้นตอนที่คุรุสภา กำหนดซึ่งคุรุสภาจะออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูชั่วคราวให้ 3 ครั้งๆ ละ 2 ปีรวม 6 ปี แต่หากสอบไม่ผ่านก็ไม่มีสิทธิใช้หนังสือปฏิบัติการสอนฯ ไปใช้ได้อีก
“เวลานี้มีข้อเรียกร้องมามากว่านักศึกษาอาชีวศึกษาที่ได้ทุนการศึกษาทั้งจากของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สอศ. คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เมื่อสำเร็จการศึกษามาแล้วไม่สามารถบรรจุเข้ารับราชการครูได้ เพราะไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพทำให้ต้องไปทำงานเอกชนหมด ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติอนุโลมนักศึกษาอาชีวะที่ได้รับทุนเหล่านี้เมื่อกลับมาสามารถบรรจุรับราชการครูตามเงื่อนไขของทุนได้ทันที แต่ต้องแจ้งให้คุรุสภารับทราบเพื่อออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพชั่วคราวและเข้าสู่การพัฒนาตามระบบวิชาชีพครูของคุรุสภาต่อไป” ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ประธานคณะกรรมการคุรุสภา กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาอนุญาตการประกอบวิชาชีพผู้บริหารสถานศึกษา ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ กรณีของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นกรณีพิเศษที่จำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ดังนั้น หากสถานศึกษาใดจำเป็นต้องมีผู้บริหารเฉพาะทางก็ต้องเสนอขออนุญาตเป็นรายกรณี ทั้งนี้ขอย้ำว่า การอนุญาตให้บริหารสถานศึกษาได้ดังกล่าวเฉพาะตนและตามวาระการดำรงตำแหน่งเท่านั้น ไม่ได้เป็นการให้ได้ใบอนุญาตอัตโนมัติ ส่วนภาคเอกชนที่เปิดโรงเรียน แต่ยังขาดผู้บริหารที่มีใบอนุญาตฯ นั้น คุรุสภายืนยันว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าวยังจำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหาร สถานศึกษา เพื่อให้การบริหาร และการจัดการเรียนการสอนในภาพรวมเป็นไปอย่างมีคุณภาพ
“ปัจจุบันมีโรงเรียนที่เน้นจัดการเรียนการสอนเฉพาะทางเกิดขึ้นจำนวนมาก อาทิ โรงเรียนที่เน้นสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ ดนตรี และ กีฬา ดังนั้น โรงเรียนดังกล่าวจึงต้องการผู้บริหารที่ผ่านการคัดเลือกในรูปแบบพิเศษ และเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ซึ่งคนเหล่านี้อาจไม่มีใบอนุญาตฯ เพื่อมาใช้ในการบริหารโรงเรียน ดังนั้น คุรุสภาจึงอนุโลมให้สามารถบริหารโรงเรียนได้ตามวาระที่กำหนด โดยเบื้องต้นอนุมัติในหลักการให้คราวละ 1 วาระ ส่วนจะเพิ่มมากกว่านั้นหรือไม่ต้องไปพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม การอนุมัติครั้งนี้จะมีผลเฉพาะโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เท่า นั้น ส่วนโรงเรียนอื่นๆ ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน ต้องเสนอขออนุญาตมายังคุรุสภาเพื่อพิจารณาเป็นรายๆ ไป” ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่