ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดย้ายได้ หรือ Packaged Hybrid Power Supply (PHPS) รุ่น 5 - 2.5 เป็น “นวัตกรรมแหล่งจ่ายพลังงานสำหรับพื้นที่ห่างไกล” ผลงานชิ้นล่าสุดโดยนักวิจัยจากห้องปฏิบัติการวิจัยการบูรณาการระบบพลังงานสะอาด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.)
ทั้งนี้ PHPS รุ่น 5 - 2.5 คือ ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ติดตั้งสะดวก และสามารถจ่ายไฟได้ทันทีหลังการติดตั้ง มีความสามารถในการปรับลดขนาดกำลังการผลิตได้ตามความต้องการ โดย PHPS รุ่น 5 - 2.5 ตัวแรกนี้ มจธ. ได้พัฒนาขึ้นและส่งมอบให้กับชาวบ้านเกาะฮั่ง ไว้ใช้สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับชาวบ้านและนักเรียนในโรงเรียนบ้านเกาะฮั่ง ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
ดร.อุสาห์ บุญบำรุง หัวหน้าทีมวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยบูรณาการระบบพลังงานสะอาด มจธ. เปิดเผยว่า เนื่องจากเกาะฮั่งไม่ได้อยู่ในแผนขยายเขตบริการไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพราะมีข้อจำกัดด้านภูมิประเทศ มีสภาพเป็นเกาะขนาดเล็กมีพื้นที่ประมาณ 15.43 ตารางกิโลเมตร มีประชากรกรอาศัยอยู่ประมาณ 498 คน และถูกมองว่าไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการติดตั้งระบบจำหน่ายระยะไกลๆ เกาะฮั่งจึงเป็นชุมชนรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ มีเพียงระบบโซลาร์โฮมที่ชำรุดเป็นส่วนมาก ดังนั้นชาวบ้านเกือบทั้งหมดยังคงอาศัยการนำเข้าพลังงานจากภายนอกเป็นหลัก
แม้ในปี 2547 - 2548 ภาครัฐนำระบบโซลาร์โฮมจำนวน 150 ระบบ มาติดตั้งให้ชาวบ้าน แต่ปัจจุบันมีการชำรุดของระบบควบคุม, อินเวอร์เตอร์ กว่าร้อยละ 50 ระบบจำนวนหนึ่งถูกปล่อยทิ้งร้าง ทำให้ชาวบ้านต้องกลับไปใช้ระบบผลิตไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กเหมือนเดิมประมาณ 30 เครื่อง ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 60 บาท/วัน/เครื่อง หรือปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อการผลิตไฟฟ้าในเกาะประมาณ 60 ลิตร/วัน (1,800 บาท/วัน) ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสุขภาวะของชาวบ้านที่แย่ลงเพราะมลพิษจากการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล
จากปัญหาดังกล่าวทำให้ ดร.อุสาห์ บุญบำรุง นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และทีมนักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยบูรณาการระบบพลังงานสะอาด มจธ. ได้มีแนวคิดในการนำระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยพลังงานหมุนเวียนชนิดเคลื่อนย้ายได้ขนาดเล็ก รุ่น PHPS 5-2.5 (Pico Package Hybrid Power Supply )ไปติดตั้งให้กับชาวบ้านและโรงเรียนบนเกาะฮั่ง
ทั้งนี้ PHPS 5-2.5 ประกอบไปด้วย ระบบโซลาร์เซลล์ กำลังการผลิต 0.72 กิโลวัตต์ พร้อมอินเวอร์เตอร์แบบเชื่อมต่อสายส่งขนาด 1.2 กิโลวัตต์ มีดีเซลเจเนอเรเตอร์ขนาด 2 กิโลวัตต์ สำหรับจ่ายไฟฟ้าเสริมในช่วงที่ระบบโซล่าเซลล์หรือแบตเตอรี่จ่ายพลังงานไม่เพียงพอ อินเวอร์เตอร์แบบสองทิศทางขนาด 2.2 กิโลวัตต์ แบตเตอรี่ความจุ 4.8 กิโลวัตต์-ชั่วโมง สำหรับเก็บสะสมพลังงาน มีระบบควบคุมและระบบป้องกันฟ้าผ่า มีระบบควบคุมการเริ่ม/หยุดเดินเครื่องยนต์ อัตโนมัติ มีระบบวัดและเก็บข้อมูลอุตุนิยมวิทยา (ความเข้มรังสีอาทิตย์ ความเร็วลม อุณหภูมิ) มีระบบติดตามข้อมูลการทำงานของระบบผ่านสมาร์ทโฟน โดยระบบผลิตไฟฟ้า PHPS 5-2.5 มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้ารวมไม่ต่ำกว่า 5 กิโลวัตต์ จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส 230 โวลต์ 50 เฮิร์ต ได้ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับระบบแสงสว่าง วิทยุทีวีเพื่อรับรู้ข่าวสาร หรือตู้เย็นขนาดเล็ก ซึ่งนำไปสู่การลดค่าใช้จ่าย และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดำเนินการระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลหรือกิจกรรมของชุมชน
“ที่ผ่านมาชาวบ้านที่นี่ต้องใช้พลังงานนำเข้าจากพลังงานภายนอกจำนวนมาก นอกจากใช้ดีเซลในการปั่นไฟแล้ว ชาวบ้านต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากฝั่งมาใช้ในการประกอบอาหารเฉลี่ย 15,000/เดือน (ทั้งชุมชน) การประกอบอาชีพประมงของชาวบ้านที่นี่ก็ยังต้องพึ่งน้ำมันดีเซลเติมเครื่องยนต์สูบเดียวสำหรับเรือขนาดเล็กกว่า 65 ลำ เฉลี่ย 5 ลิตร/วัน/ลำ คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 150 บาท/วัน/ลำ ไม่นับรวมค่าน้ำมันเบนซิลที่ใช้เติมรถจักรยานยนต์ทั้งเกาะที่มีประมาณ 200 คัน สูญเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 บาท/วัน ทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายที่ชาวบ้านบนเกาะฮั่งต้องจ่ายเพื่อซื้อพลังงานจากบนฝั่ง พอเราเห็นข้อมูลชุมชนแบบนี้จึงขอสนับสนุนงบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาพัฒนาระบบผลิตกระแสไฟฟ้าดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีพลังงานทดแทนให้กับชาวบ้าน ขณะการดำเนินงานศึกษาระบบรูปแบบการผลิตและใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่เกาะฮั่งแบบครบวงจร”
อนึ่ง PHPS 5 - 2.5 คือผลของการต่อยอดนวัตกรรมระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้ Packaged Hybrid Power Supply (PHPS) รุ่น 39 - 25 ภายใต้โครงการจัดหาระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้สำหรับอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนี้ PHPSรุ่น 39 - 25 ติดตั้งและใช้งานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานแห่งชาติแม่เมย จังหวัดตาก และอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบผสมผสานจากพลังงานโซลาร์เซลล์ กังหันลม และดีเซลเจนเนอเรเตอร์ ติดตั้งร่วมกับคอนเทนเนอร์ขนาด 2.5x 6 เมตร สูง 2.5 เมตร กำลังการผลิตรวมไม่น้อยกว่า 39 กิโลวัตต์ ความสามารถในการผลิตพลังงานโดยระบบพลังงานสะอาดประมาณ 25 กิโลวัตต์ - ชั่วโมง/วัน ลดการใช้น้ำมันดีเซล และค่าใช้จ่ายของอุทยานและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ และจากความสำเร็จดังกล่าวทีมนักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยการบูรณาการระบบพลังงานสะอาด มจธ. จึงตั้งใจผลิตรุ่น PHPS 5 - 2.5 ให้มีขนาดเล็กลงสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่ามาติดตั้งให้กับชาวบ้านบนเกาะฮั่ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ทั้งนี้ PHPS รุ่น 5 - 2.5 คือ ระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานขนาดเล็ก เคลื่อนที่ได้ ติดตั้งสะดวก และสามารถจ่ายไฟได้ทันทีหลังการติดตั้ง มีความสามารถในการปรับลดขนาดกำลังการผลิตได้ตามความต้องการ โดย PHPS รุ่น 5 - 2.5 ตัวแรกนี้ มจธ. ได้พัฒนาขึ้นและส่งมอบให้กับชาวบ้านเกาะฮั่ง ไว้ใช้สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับชาวบ้านและนักเรียนในโรงเรียนบ้านเกาะฮั่ง ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่
ดร.อุสาห์ บุญบำรุง หัวหน้าทีมวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยบูรณาการระบบพลังงานสะอาด มจธ. เปิดเผยว่า เนื่องจากเกาะฮั่งไม่ได้อยู่ในแผนขยายเขตบริการไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพราะมีข้อจำกัดด้านภูมิประเทศ มีสภาพเป็นเกาะขนาดเล็กมีพื้นที่ประมาณ 15.43 ตารางกิโลเมตร มีประชากรกรอาศัยอยู่ประมาณ 498 คน และถูกมองว่าไม่คุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการติดตั้งระบบจำหน่ายระยะไกลๆ เกาะฮั่งจึงเป็นชุมชนรอบโรงไฟฟ้ากระบี่ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ มีเพียงระบบโซลาร์โฮมที่ชำรุดเป็นส่วนมาก ดังนั้นชาวบ้านเกือบทั้งหมดยังคงอาศัยการนำเข้าพลังงานจากภายนอกเป็นหลัก
แม้ในปี 2547 - 2548 ภาครัฐนำระบบโซลาร์โฮมจำนวน 150 ระบบ มาติดตั้งให้ชาวบ้าน แต่ปัจจุบันมีการชำรุดของระบบควบคุม, อินเวอร์เตอร์ กว่าร้อยละ 50 ระบบจำนวนหนึ่งถูกปล่อยทิ้งร้าง ทำให้ชาวบ้านต้องกลับไปใช้ระบบผลิตไฟฟ้าจากเครื่องยนต์ดีเซลขนาดเล็กเหมือนเดิมประมาณ 30 เครื่อง ทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่า 60 บาท/วัน/เครื่อง หรือปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อการผลิตไฟฟ้าในเกาะประมาณ 60 ลิตร/วัน (1,800 บาท/วัน) ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องยนต์ และค่ารักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากสุขภาวะของชาวบ้านที่แย่ลงเพราะมลพิษจากการทำงานของเครื่องยนต์ดีเซล
จากปัญหาดังกล่าวทำให้ ดร.อุสาห์ บุญบำรุง นักวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) และทีมนักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยบูรณาการระบบพลังงานสะอาด มจธ. ได้มีแนวคิดในการนำระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานด้วยพลังงานหมุนเวียนชนิดเคลื่อนย้ายได้ขนาดเล็ก รุ่น PHPS 5-2.5 (Pico Package Hybrid Power Supply )ไปติดตั้งให้กับชาวบ้านและโรงเรียนบนเกาะฮั่ง
ทั้งนี้ PHPS 5-2.5 ประกอบไปด้วย ระบบโซลาร์เซลล์ กำลังการผลิต 0.72 กิโลวัตต์ พร้อมอินเวอร์เตอร์แบบเชื่อมต่อสายส่งขนาด 1.2 กิโลวัตต์ มีดีเซลเจเนอเรเตอร์ขนาด 2 กิโลวัตต์ สำหรับจ่ายไฟฟ้าเสริมในช่วงที่ระบบโซล่าเซลล์หรือแบตเตอรี่จ่ายพลังงานไม่เพียงพอ อินเวอร์เตอร์แบบสองทิศทางขนาด 2.2 กิโลวัตต์ แบตเตอรี่ความจุ 4.8 กิโลวัตต์-ชั่วโมง สำหรับเก็บสะสมพลังงาน มีระบบควบคุมและระบบป้องกันฟ้าผ่า มีระบบควบคุมการเริ่ม/หยุดเดินเครื่องยนต์ อัตโนมัติ มีระบบวัดและเก็บข้อมูลอุตุนิยมวิทยา (ความเข้มรังสีอาทิตย์ ความเร็วลม อุณหภูมิ) มีระบบติดตามข้อมูลการทำงานของระบบผ่านสมาร์ทโฟน โดยระบบผลิตไฟฟ้า PHPS 5-2.5 มีความสามารถในการผลิตไฟฟ้ารวมไม่ต่ำกว่า 5 กิโลวัตต์ จ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส 230 โวลต์ 50 เฮิร์ต ได้ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับระบบแสงสว่าง วิทยุทีวีเพื่อรับรู้ข่าวสาร หรือตู้เย็นขนาดเล็ก ซึ่งนำไปสู่การลดค่าใช้จ่าย และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ดำเนินการระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้สำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกลหรือกิจกรรมของชุมชน
“ที่ผ่านมาชาวบ้านที่นี่ต้องใช้พลังงานนำเข้าจากพลังงานภายนอกจำนวนมาก นอกจากใช้ดีเซลในการปั่นไฟแล้ว ชาวบ้านต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจีจากฝั่งมาใช้ในการประกอบอาหารเฉลี่ย 15,000/เดือน (ทั้งชุมชน) การประกอบอาชีพประมงของชาวบ้านที่นี่ก็ยังต้องพึ่งน้ำมันดีเซลเติมเครื่องยนต์สูบเดียวสำหรับเรือขนาดเล็กกว่า 65 ลำ เฉลี่ย 5 ลิตร/วัน/ลำ คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 150 บาท/วัน/ลำ ไม่นับรวมค่าน้ำมันเบนซิลที่ใช้เติมรถจักรยานยนต์ทั้งเกาะที่มีประมาณ 200 คัน สูญเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 4,000 บาท/วัน ทั้งหมดเป็นค่าใช้จ่ายที่ชาวบ้านบนเกาะฮั่งต้องจ่ายเพื่อซื้อพลังงานจากบนฝั่ง พอเราเห็นข้อมูลชุมชนแบบนี้จึงขอสนับสนุนงบประมาณจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาพัฒนาระบบผลิตกระแสไฟฟ้าดังกล่าว เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในเทคโนโลยีพลังงานทดแทนให้กับชาวบ้าน ขณะการดำเนินงานศึกษาระบบรูปแบบการผลิตและใช้พลังงานทดแทนในพื้นที่เกาะฮั่งแบบครบวงจร”
อนึ่ง PHPS 5 - 2.5 คือผลของการต่อยอดนวัตกรรมระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้ Packaged Hybrid Power Supply (PHPS) รุ่น 39 - 25 ภายใต้โครงการจัดหาระบบผลิตไฟฟ้าแบบผสมผสานชนิดเคลื่อนย้ายได้สำหรับอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งขณะนี้ PHPSรุ่น 39 - 25 ติดตั้งและใช้งานแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์ อุทยานแห่งชาติแม่เมย จังหวัดตาก และอุทยานแห่งชาติทองผาภูมิ มีประสิทธิภาพในการผลิตกระแสไฟฟ้าแบบผสมผสานจากพลังงานโซลาร์เซลล์ กังหันลม และดีเซลเจนเนอเรเตอร์ ติดตั้งร่วมกับคอนเทนเนอร์ขนาด 2.5x 6 เมตร สูง 2.5 เมตร กำลังการผลิตรวมไม่น้อยกว่า 39 กิโลวัตต์ ความสามารถในการผลิตพลังงานโดยระบบพลังงานสะอาดประมาณ 25 กิโลวัตต์ - ชั่วโมง/วัน ลดการใช้น้ำมันดีเซล และค่าใช้จ่ายของอุทยานและเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อุทยานฯ และจากความสำเร็จดังกล่าวทีมนักวิจัยห้องปฏิบัติการวิจัยการบูรณาการระบบพลังงานสะอาด มจธ. จึงตั้งใจผลิตรุ่น PHPS 5 - 2.5 ให้มีขนาดเล็กลงสามารถเคลื่อนย้ายได้ง่ายกว่ามาติดตั้งให้กับชาวบ้านบนเกาะฮั่ง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่