พม. เปิดเวทีรับฟังความเห็น ร่วมหาแนวทางการขับเคลื่อน กม. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้สูงอายุ ชี้ ฉบับปี 46 ล้าหลัง ขาดความชัดเจนเรื่องสิทธิ ต้องปฏิรูป - ยกร่าง ขยายการคุ้มครองเข้าถึงสิทธิ กระจายอำนาจจัดโครงสร้าง คกก.กองทุนและการบริหาร มีส่วนร่วมภาคประชาสังคม
วันนี้ (4 ธ.ค. ) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดกิจกรรมเวทีสาธารณะ เรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ. ....” เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในแต่ละภูมิภาคได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ว่า ประเทศไทยได้มีกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุหลายฉบับ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ซึ่งไม่ได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และยังไม่เหมาะสมเพียงพอต่อการดูแลผู้สูงอายุ การจัดสวัสดิการแก่กลุ่มผู้สูงอายุต้องตระหนักถึงความครอบคลุมและสามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายในเชิงพื้นที่ โดยสวัสดิการสังคมมี 4 ด้าน คือ การบริการสังคม การช่วยเหลือทางสังคม การประกันสังคม และการช่วยเหลือเกื้อกูลของภาคประชาชน ซึ่งกฎหมายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศไทยในปัจจุบัน ยังไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับกับสภาพดังกล่าว
นางวิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กรรมการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ. ... กล่าวว่า พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ไม่ทันต่อสถานการณ์ ที่มีจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ขาดความชัดเจนในเรื่องสิทธิของผู้สูงอายุ รวมทั้งไม่เน้นกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จึงเป็นที่มาที่ คปก. เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย กระทั่งยกร่าง โดยอยู่บนหลักการพื้นฐานสำคัญ คือ การขยายการคุ้มครอง และเข้าถึงสิทธิ การกระจายอำนาจในการจัดโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนและการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 ธ.ค. ) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กล่าวในการเป็นประธานเปิดกิจกรรมเวทีสาธารณะ เรื่อง “แนวทางการขับเคลื่อนร่างพระราชบัญญัติคุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ. ....” เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในแต่ละภูมิภาคได้เข้ามามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย ว่า ประเทศไทยได้มีกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับสวัสดิการผู้สูงอายุหลายฉบับ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ซึ่งไม่ได้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน และยังไม่เหมาะสมเพียงพอต่อการดูแลผู้สูงอายุ การจัดสวัสดิการแก่กลุ่มผู้สูงอายุต้องตระหนักถึงความครอบคลุมและสามารถตอบสนองความต้องการของแต่ละกลุ่มเป้าหมายในเชิงพื้นที่ โดยสวัสดิการสังคมมี 4 ด้าน คือ การบริการสังคม การช่วยเหลือทางสังคม การประกันสังคม และการช่วยเหลือเกื้อกูลของภาคประชาชน ซึ่งกฎหมายด้านสวัสดิการผู้สูงอายุของประเทศไทยในปัจจุบัน ยังไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับกับสภาพดังกล่าว
นางวิจิตรา (ฟุ้งลัดดา) วิเชียรชม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กรรมการปรับปรุงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครอง ส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ พ.ศ. ... กล่าวว่า พ.ร.บ.ผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 ไม่ทันต่อสถานการณ์ ที่มีจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ขาดความชัดเจนในเรื่องสิทธิของผู้สูงอายุ รวมทั้งไม่เน้นกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น จึงเป็นที่มาที่ คปก. เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นเพื่อการปฏิรูปกฎหมาย กระทั่งยกร่าง โดยอยู่บนหลักการพื้นฐานสำคัญ คือ การขยายการคุ้มครอง และเข้าถึงสิทธิ การกระจายอำนาจในการจัดโครงสร้างคณะกรรมการกองทุนและการบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมของผู้สูงอายุ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่