มูลนิธิหญิงชายก้าวไกลร่วม สคล.- สสส. จัดกิจกรรม ชวนพ่อนักดื่ม เล่าประสบการณ์ชีวิตติดเหล้า หวังเตือนสติพ่อละเลยครอบครัว พลิกชีวิตกลับมาเป็นพ่อที่ดี
วันนี้ (4 ธ.ค.) ที่โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ ปี 2557 ในหัวข้อ “เรื่องเล่าเปลี่ยนพ่อ (Daddy change)”
นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า หากวิเคราะห์สถานการณ์การดื่มสุราและพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในชุมชนที่มูลนิธิฯได้ลงพื้นที่ พบว่า สุราส่งผลกระทบต่อครอบครัวอย่างร้ายแรง โดยเริ่มจากการใช้วาจาที่ไม่สุภาพ การทำร้ายร่างกาย บางรายต้องแยกทาง หรือถึงขั้นบาดเจ็บพิการและเสียชีวิต นอกจากนี้ หากวิเคราะห์ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันปีที่ผ่านมา พบว่า มีข่าวที่รุนแรงเกิดขึ้นเกือบทุกวัน เช่น พ่อเมาข่มขืนลูกสาวแท้ๆ พ่อแทงลูกดับ พ่อเมาใช้ยากรอกปากลูกเสียชีวิต ฯลฯ ตัวอย่างดังกล่าวเป็นสถานการณ์ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นกับพ่อบางส่วนเท่านั้น ซึ่งมาจากความเชื่อ ทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ รวมทั้งมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุขเป็นปัจจัยกระตุ้น
“กิจกรรมในวันนี้ มูลนิธิฯหวังอย่างยิ่งว่า เมื่อพ่อได้เห็นบทเรียนอุทาหรณ์ของความรุนแรง ของครอบครัวที่มีสาเหตุจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนวิธีคิด ตระหนักถึงโทษพิษภัย มีแรงบันดาลใจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกและครอบครัวในอนาคตได้ ซึ่งเชื่อว่าพ่อทุกคนมีความรับผิดชอบครอบครัวอยู่ในตัว จึงขอให้มองอีกมุม แก้ปัญหาโดยไม่พึ่งสุรา เป็นพ่อยุคใหม่ ดูแลลูก ดูแลครอบครัว เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน ไม่ใช้ความรุนแรงได้ จากบทเรียนที่มูลนิธิฯลงไปทำงานในชุมชน 16 พื้นที่ 8 จังหวัด ได้เห็นชัดเจนว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้” นางสาวจรีย์ กล่าว
นายนิพล วิชัย อายุ 47 ปี อาชีพพ่อค้าข้าวแกงย่านพระประแดง สมุทรปราการ กล่าวว่า ช่วงที่ทำให้ลูกและภรรยาเสียใจมากที่สุด คือ การดื่มสุราจนถึงขั้นติด สมัยนั้นดื่มหนัก ต้องดื่มเหล้าขาววันละ 5 ขวดกระทิงแดง ชีวิตประจำวันเดินเมาโซเซ ไม่เป็นผู้เป็นคน ไม่รับผิดชอบครอบครัว มีปัญหาหนี้สิน อีกทั้งไม่มีร้านไหนให้ติดหนี้ค่าเหล้าอีก ส่วนภรรยาก็ทะเลาะกันประจำ ทำลายข้าวของในบ้านเสียหาย ขายข้าวแกงก็ลำบากขึ้น เพราะคนแถวบ้านเอือมระอารังเกียจสามีขี้เมาจึงไม่อยากซื้อ ทำให้ต้องปิดร้านบ่อยครั้ง และลูกชายเริ่มทนพฤติกรรมไม่ไหว ต่อต้าน ไม่คุยไม่มองหน้า และอายเพื่อนเวลาที่พ่อไปรับไปส่งที่โรงเรียน หลายครั้งที่เมาแล้วขับรถจนเกิดอุบัติเหตุขณะไปรับลูก
“แม้จะเคยไปบำบัดรักษาพิษสุราด้วยสมุนไพร แต่ก็ไม่สำเร็จกลับมาดื่มหนักเหมือนเดิม จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้ต้องนั่งคิดถึงความรู้สึกสภาพจิตใจลูก จากนั้นจึงสัญญากับลูกและภรรยาว่าจะเลิกเหล้าเด็ดขาด และก็หักดิบ แรกๆ จะมีอาการหงุดหงิด มีไข้ หน้ามืด แต่ก็ต้องอดทน อีกทั้งได้เริ่มเข้าร่วมโครงการลดละเลิกเหล้าลดความรุนแรงกับทางมูลนิธิ จนทำให้เลิกดื่มได้สำเร็จกว่า 7 ปีแล้ว ทั้งนี้ กำลังใจสำคัญที่สุดคือ ลูก ภูมิใจกับความสำเร็จของเขาที่ตั้งใจเรียนจนได้เป็นนายทหารเรือ และลูกก็ทำเพื่อเรามาตลอด ตอนนี้ลางานมาบวชให้พ่อและแม่ 3 เดือน ซึ่งในงานบวชเราก็ประกาศให้เป็นงานปลอดเหล้า เพื่อต้องการบอกกับสังคม อย่าให้เหล้ามาทำร้ายเราอีกเลย ตอนนี้ก็อยากทำอะไรดีๆ ตอบแทนลูกบ้าง และเชื่อแล้วว่าเมื่อเลิกเหล้าได้สิ่งดีๆ ก็เริ่มตามมา จึงอยากฝากถึงพ่อทุกคนที่ยังใช้น้ำเมาเป็นเพื่อนให้เลิกดื่มแล้วหันกลับมาทำหน้าที่พ่อที่ดี” นายนิพล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 ธ.ค.) ที่โรงแรมเอบีน่าเฮ้าส์ มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล ร่วมกับสำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดกิจกรรมเนื่องในโอกาสวันพ่อแห่งชาติ ปี 2557 ในหัวข้อ “เรื่องเล่าเปลี่ยนพ่อ (Daddy change)”
นางสาวจรีย์ ศรีสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมภาคีเครือข่าย มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล กล่าวว่า หากวิเคราะห์สถานการณ์การดื่มสุราและพฤติกรรมที่มีผลกระทบต่อครอบครัวในชุมชนที่มูลนิธิฯได้ลงพื้นที่ พบว่า สุราส่งผลกระทบต่อครอบครัวอย่างร้ายแรง โดยเริ่มจากการใช้วาจาที่ไม่สุภาพ การทำร้ายร่างกาย บางรายต้องแยกทาง หรือถึงขั้นบาดเจ็บพิการและเสียชีวิต นอกจากนี้ หากวิเคราะห์ข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์รายวันปีที่ผ่านมา พบว่า มีข่าวที่รุนแรงเกิดขึ้นเกือบทุกวัน เช่น พ่อเมาข่มขืนลูกสาวแท้ๆ พ่อแทงลูกดับ พ่อเมาใช้ยากรอกปากลูกเสียชีวิต ฯลฯ ตัวอย่างดังกล่าวเป็นสถานการณ์ภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นกับพ่อบางส่วนเท่านั้น ซึ่งมาจากความเชื่อ ทัศนคติแบบชายเป็นใหญ่ รวมทั้งมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอบายมุขเป็นปัจจัยกระตุ้น
“กิจกรรมในวันนี้ มูลนิธิฯหวังอย่างยิ่งว่า เมื่อพ่อได้เห็นบทเรียนอุทาหรณ์ของความรุนแรง ของครอบครัวที่มีสาเหตุจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยลุกขึ้นมาปรับเปลี่ยนวิธีคิด ตระหนักถึงโทษพิษภัย มีแรงบันดาลใจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง และเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกและครอบครัวในอนาคตได้ ซึ่งเชื่อว่าพ่อทุกคนมีความรับผิดชอบครอบครัวอยู่ในตัว จึงขอให้มองอีกมุม แก้ปัญหาโดยไม่พึ่งสุรา เป็นพ่อยุคใหม่ ดูแลลูก ดูแลครอบครัว เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงในชุมชน ไม่ใช้ความรุนแรงได้ จากบทเรียนที่มูลนิธิฯลงไปทำงานในชุมชน 16 พื้นที่ 8 จังหวัด ได้เห็นชัดเจนว่าทุกคนสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้” นางสาวจรีย์ กล่าว
นายนิพล วิชัย อายุ 47 ปี อาชีพพ่อค้าข้าวแกงย่านพระประแดง สมุทรปราการ กล่าวว่า ช่วงที่ทำให้ลูกและภรรยาเสียใจมากที่สุด คือ การดื่มสุราจนถึงขั้นติด สมัยนั้นดื่มหนัก ต้องดื่มเหล้าขาววันละ 5 ขวดกระทิงแดง ชีวิตประจำวันเดินเมาโซเซ ไม่เป็นผู้เป็นคน ไม่รับผิดชอบครอบครัว มีปัญหาหนี้สิน อีกทั้งไม่มีร้านไหนให้ติดหนี้ค่าเหล้าอีก ส่วนภรรยาก็ทะเลาะกันประจำ ทำลายข้าวของในบ้านเสียหาย ขายข้าวแกงก็ลำบากขึ้น เพราะคนแถวบ้านเอือมระอารังเกียจสามีขี้เมาจึงไม่อยากซื้อ ทำให้ต้องปิดร้านบ่อยครั้ง และลูกชายเริ่มทนพฤติกรรมไม่ไหว ต่อต้าน ไม่คุยไม่มองหน้า และอายเพื่อนเวลาที่พ่อไปรับไปส่งที่โรงเรียน หลายครั้งที่เมาแล้วขับรถจนเกิดอุบัติเหตุขณะไปรับลูก
“แม้จะเคยไปบำบัดรักษาพิษสุราด้วยสมุนไพร แต่ก็ไม่สำเร็จกลับมาดื่มหนักเหมือนเดิม จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้ต้องนั่งคิดถึงความรู้สึกสภาพจิตใจลูก จากนั้นจึงสัญญากับลูกและภรรยาว่าจะเลิกเหล้าเด็ดขาด และก็หักดิบ แรกๆ จะมีอาการหงุดหงิด มีไข้ หน้ามืด แต่ก็ต้องอดทน อีกทั้งได้เริ่มเข้าร่วมโครงการลดละเลิกเหล้าลดความรุนแรงกับทางมูลนิธิ จนทำให้เลิกดื่มได้สำเร็จกว่า 7 ปีแล้ว ทั้งนี้ กำลังใจสำคัญที่สุดคือ ลูก ภูมิใจกับความสำเร็จของเขาที่ตั้งใจเรียนจนได้เป็นนายทหารเรือ และลูกก็ทำเพื่อเรามาตลอด ตอนนี้ลางานมาบวชให้พ่อและแม่ 3 เดือน ซึ่งในงานบวชเราก็ประกาศให้เป็นงานปลอดเหล้า เพื่อต้องการบอกกับสังคม อย่าให้เหล้ามาทำร้ายเราอีกเลย ตอนนี้ก็อยากทำอะไรดีๆ ตอบแทนลูกบ้าง และเชื่อแล้วว่าเมื่อเลิกเหล้าได้สิ่งดีๆ ก็เริ่มตามมา จึงอยากฝากถึงพ่อทุกคนที่ยังใช้น้ำเมาเป็นเพื่อนให้เลิกดื่มแล้วหันกลับมาทำหน้าที่พ่อที่ดี” นายนิพล กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่