แพทยสภาเปิดทางศัลยแพทย์ความงามไทยและเทศหารือ หวังแต่ละประเทศออกหลักเกณฑ์คุมมาตรฐานการทำศัลยกรรม แก้ปัญหาความเสียหายจากการรับบริการ เผยไทยทำข้อบังคับเสร็จแล้วอยู่ระหว่างปรับแก้ถ้อยคำ เตรียมประกาศใช้ปี 2558 ห่วงขาดแคลนหมอดมยา แนะผ่าตัดทำที่โรงพยาบาลชัวร์กว่า
วันนี้ (6 พ.ย.) นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การจัดมหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ 2557 ของแพทยสภา ส่วนหนึ่งเพราะต้องการให้ศัลยแพทย์ด้านความงามได้มาหารือร่วมกันในการกำหนดหลักเกณฑ์ควบคุม ดูแลมาตรฐานศัลยกรรมความงาม เนื่องจากขณะนี้อัตราการเกิดความเสียหายจากการรับบริการเพิ่มขึ้นในทุกประเทศ แม้จะไม่มากเมื่อเทียบกับอัตราการศัลยกรรมที่เพิ่มขึ้น แต่จำเป็นต้องตื่นตัว เพราะประชาชนตื่นตัวกันมาก ซึ่งหลังจากการหารือแล้วแต่ละประเทศจะต้องกลับไปออกข้อกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในแต่ละประเทศเอง ส่วนประเทศไทยจะออกเป็นข้อบังคับเรื่องการประกอบวิชาชีพและการเสริมความงาม ซึ่งขณะนี้จัดทำร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการปรับแก้ถ้อยคำเพื่อไม่ให้ไปขัดกับกฎหมายอื่นๆ
“ร่างข้อบังคับดังกล่าวจะกำหนดคุณสมบัติของศัลยแพทย์ว่าควรเป็นอย่างไรบ้าง เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. แพทย์ที่เคยจับมีดผ่าตัดมาก่อน 2. แพทย์ที่เคยทำศัลยกรรมมาก่อนจนเกิดความชำนาญ และ 3.แพทย์จบใหม่ ซึ่งจะต้องผ่านหลักสูตรการอบรมจากราชวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่แพทยสภารับรองเท่านั้น โดยจะมีการหารือในที่ประชุมแพทยสภาอีกครั้งในวันที่ 13 พ.ย. นี้ และคาดว่าน่าจะประกาศใช้ได้ภายในต้นปี 2558” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการตั้งข้อสังเกตว่าแพทยสภาควรลงมาทำเรื่องการศัลยกรรมเสริมความงามหรือไม่ นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า การทำเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของแพทยสภาแน่นอน ไม่ได้เกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข เพราะแพทยสภามีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ และเรื่องศัลยกรรมตอนนี้ยังไม่มาตรฐานมาควบคุมมากนักแพทยสภาจึงต้องเข้ามาดูแล อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับที่ออกมานี้เป็นเหมือนกับหลักเกณฑ์ ไม่ได้บังคับใช้เข้มงวดแบบกฎหมาย ส่วนที่เป็นปัญหาขณะนี้คือการขาดวิสัญญีแพทย์ หรือแพทย์ดมยาสลบ ทั่วประเทศมีน้อยมาก แต่ต้องทำงานหนักเกี่ยวข้องกับการแพทย์ทุกสาขาที่ต้องมีการผ่าตัด จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไข แต่ก็ไม่สามารถบังคับให้ใครไปเรียนได้ เพราะฉะนั้นการทำศัลยกรรมใหญ่ๆ ที่ต้องผ่าตัดส่วนตัวแนะนำให้ไปทำที่โรงพยาบาล เพราะมีวิสัญญีแพทย์ประจำแน่นอน
วันนี้ (6 พ.ย.) นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า การจัดมหกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ 2557 ของแพทยสภา ส่วนหนึ่งเพราะต้องการให้ศัลยแพทย์ด้านความงามได้มาหารือร่วมกันในการกำหนดหลักเกณฑ์ควบคุม ดูแลมาตรฐานศัลยกรรมความงาม เนื่องจากขณะนี้อัตราการเกิดความเสียหายจากการรับบริการเพิ่มขึ้นในทุกประเทศ แม้จะไม่มากเมื่อเทียบกับอัตราการศัลยกรรมที่เพิ่มขึ้น แต่จำเป็นต้องตื่นตัว เพราะประชาชนตื่นตัวกันมาก ซึ่งหลังจากการหารือแล้วแต่ละประเทศจะต้องกลับไปออกข้อกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้ในแต่ละประเทศเอง ส่วนประเทศไทยจะออกเป็นข้อบังคับเรื่องการประกอบวิชาชีพและการเสริมความงาม ซึ่งขณะนี้จัดทำร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการปรับแก้ถ้อยคำเพื่อไม่ให้ไปขัดกับกฎหมายอื่นๆ
“ร่างข้อบังคับดังกล่าวจะกำหนดคุณสมบัติของศัลยแพทย์ว่าควรเป็นอย่างไรบ้าง เบื้องต้นแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. แพทย์ที่เคยจับมีดผ่าตัดมาก่อน 2. แพทย์ที่เคยทำศัลยกรรมมาก่อนจนเกิดความชำนาญ และ 3.แพทย์จบใหม่ ซึ่งจะต้องผ่านหลักสูตรการอบรมจากราชวิทยาลัยหรือหน่วยงานที่แพทยสภารับรองเท่านั้น โดยจะมีการหารือในที่ประชุมแพทยสภาอีกครั้งในวันที่ 13 พ.ย. นี้ และคาดว่าน่าจะประกาศใช้ได้ภายในต้นปี 2558” เลขาธิการแพทยสภา กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่ามีการตั้งข้อสังเกตว่าแพทยสภาควรลงมาทำเรื่องการศัลยกรรมเสริมความงามหรือไม่ นพ.สัมพันธ์ กล่าวว่า การทำเรื่องนี้เป็นหน้าที่ของแพทยสภาแน่นอน ไม่ได้เกี่ยวกับกระทรวงสาธารณสุข เพราะแพทยสภามีหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานการให้บริการทางการแพทย์ และเรื่องศัลยกรรมตอนนี้ยังไม่มาตรฐานมาควบคุมมากนักแพทยสภาจึงต้องเข้ามาดูแล อย่างไรก็ตาม ข้อบังคับที่ออกมานี้เป็นเหมือนกับหลักเกณฑ์ ไม่ได้บังคับใช้เข้มงวดแบบกฎหมาย ส่วนที่เป็นปัญหาขณะนี้คือการขาดวิสัญญีแพทย์ หรือแพทย์ดมยาสลบ ทั่วประเทศมีน้อยมาก แต่ต้องทำงานหนักเกี่ยวข้องกับการแพทย์ทุกสาขาที่ต้องมีการผ่าตัด จึงถือเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไข แต่ก็ไม่สามารถบังคับให้ใครไปเรียนได้ เพราะฉะนั้นการทำศัลยกรรมใหญ่ๆ ที่ต้องผ่าตัดส่วนตัวแนะนำให้ไปทำที่โรงพยาบาล เพราะมีวิสัญญีแพทย์ประจำแน่นอน