บอร์ด ร.ร. เล็ก เสนอแก้ไขกฎหมาย เปิดทางให้การศึกษาทางเลือกทุกประเภทได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐ ได้รับการศึกษาและลดหย่อนภาษีตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.การศึกษา พร้อมให้ สพฐ. ทำแผนพัฒนาการศึกษาทางเลือกเสนอ รมว.ศึกษาฯ พิจารณา
นายรังสรรค์ มณีเล็ก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายการศึกษาทางเลือกโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนชุมชนที่มีนางสิริกร มณีรินทร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมเสนอขอแก้ไขกฎหมายให้การจัดการศึกษาทางเลือกทุกประเภทตามมาตรา 12 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ครอบครัว สถานประกอบการ สถาบันทางด้านศาสนา องค์กร ชุมชน เอกชน ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐ ซึ่งที่ผ่านมา ศธ. ได้ออกกฎกระทรวงมา 5 ฉบับ เพื่อรองรับการจัดการศึกษาทางเลือกแล้ว เช่น การจัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือ โฮมสคูล การจัดการศึกษาโดยสถานประกอบการ เป็นต้น แต่มีเพียงการจัดการศึกษาโฮมสคูล และการจัดการศึกษาโดยสถานประกอบการเท่านั้น ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐในรูปของเงินอุดหนุนรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าควรจะต้องเสนอขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อการศึกษาทางเลือกทุกกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ต่อไปในอนาคตการศึกษาทางเลือกทั้งหมดต้องได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐในเรื่องของความรู้ เงินอุดหนุนและการลดหย่อนยกเว้นภาษีตามที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติกำหนดไว้
“ที่ผ่านมา จะพบปัญหาในเรื่องความรู้ ความเข้าใจ ปัญหาการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรับจดทะเบียนศูนย์การเรียนเนื่องจากกฎกระทรวงยังออกไม่ครบจึงยังไม่มีแนวปฏิบัติทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจดทะเบียนให้ได้ แต่ขณะนี้ปัญหาดังกล่าวหมดไปแล้วเพราะมีกฎกระทรวงออกมารองรับและเมื่อดูแนวโน้มแล้วเด็กที่เข้ามาเรียนก็มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ด้าน นางสิริกร กล่าวว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สพฐ. ไปทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาทางเลือกเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยเร็ว เพราะการจัดการศึกษาทางเลือกยังมีปัญหาหลายอย่าง จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน รวมถึงอาจต้องมีการปรับแก้กฎกระทรวงด้วยเพื่อกำจัดอุปสรรคในการจัดการศึกษาทางเลือก นอกจากนั้น ที่ประชุมยังมอบหมายให้ สพฐ.ทำแผนปฏิบัติเพื่อเยียวยา ช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ เสนอ รมว.ศธ. เช่นกัน โดยให้ สพฐ. นำข้อมูลจริงมาดูและวางแผนแก้ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กในทุกด้าน ทั้งด้านบุคลากร การบริหารจัดการ ตัวอย่างเช่น ปัญหาที่ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกว่า 2,000 แห่ง ยังไม่ได้รับการบรรจุ ทบทวนเกณฑ์จำนวนนักเรียนต่อครูที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเกณฑ์ 25 : 1 ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซียอาจไม่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ที่สำคัญ หากโรงเรียนขนาดเล็กแห่งใด ไม่สามารถยุบได้เพราะจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนในชุมชนแล้ว สพฐ. จะต้องทำแผนช่วยเหลือโรงเรียนแห่งนั้นให้ชัดเจนและแตกต่างจากแผนช่วยเหลือในแบบเดิมๆ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายรังสรรค์ มณีเล็ก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเครือข่ายการศึกษาทางเลือกโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนชุมชนที่มีนางสิริกร มณีรินทร์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน ว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เตรียมเสนอขอแก้ไขกฎหมายให้การจัดการศึกษาทางเลือกทุกประเภทตามมาตรา 12 พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่มีความพร้อมในการจัดการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล ครอบครัว สถานประกอบการ สถาบันทางด้านศาสนา องค์กร ชุมชน เอกชน ได้รับการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐ ซึ่งที่ผ่านมา ศธ. ได้ออกกฎกระทรวงมา 5 ฉบับ เพื่อรองรับการจัดการศึกษาทางเลือกแล้ว เช่น การจัดการศึกษาโดยครอบครัว หรือ โฮมสคูล การจัดการศึกษาโดยสถานประกอบการ เป็นต้น แต่มีเพียงการจัดการศึกษาโฮมสคูล และการจัดการศึกษาโดยสถานประกอบการเท่านั้น ที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐในรูปของเงินอุดหนุนรายหัวการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่าควรจะต้องเสนอขอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อการศึกษาทางเลือกทุกกลุ่มได้รับการสนับสนุนจากรัฐ ต่อไปในอนาคตการศึกษาทางเลือกทั้งหมดต้องได้รับการอุดหนุนจากภาครัฐในเรื่องของความรู้ เงินอุดหนุนและการลดหย่อนยกเว้นภาษีตามที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติกำหนดไว้
“ที่ผ่านมา จะพบปัญหาในเรื่องความรู้ ความเข้าใจ ปัญหาการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐในการรับจดทะเบียนศูนย์การเรียนเนื่องจากกฎกระทรวงยังออกไม่ครบจึงยังไม่มีแนวปฏิบัติทำให้เจ้าหน้าที่ไม่สามารถจดทะเบียนให้ได้ แต่ขณะนี้ปัญหาดังกล่าวหมดไปแล้วเพราะมีกฎกระทรวงออกมารองรับและเมื่อดูแนวโน้มแล้วเด็กที่เข้ามาเรียนก็มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ด้าน นางสิริกร กล่าวว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สพฐ. ไปทำแผนปฏิบัติการพัฒนาการศึกษาทางเลือกเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการโดยเร็ว เพราะการจัดการศึกษาทางเลือกยังมีปัญหาหลายอย่าง จำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน รวมถึงอาจต้องมีการปรับแก้กฎกระทรวงด้วยเพื่อกำจัดอุปสรรคในการจัดการศึกษาทางเลือก นอกจากนั้น ที่ประชุมยังมอบหมายให้ สพฐ.ทำแผนปฏิบัติเพื่อเยียวยา ช่วยเหลือโรงเรียนขนาดเล็กทั่วประเทศ เสนอ รมว.ศธ. เช่นกัน โดยให้ สพฐ. นำข้อมูลจริงมาดูและวางแผนแก้ปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็กในทุกด้าน ทั้งด้านบุคลากร การบริหารจัดการ ตัวอย่างเช่น ปัญหาที่ผู้บริหารสถานศึกษาขนาดเล็กกว่า 2,000 แห่ง ยังไม่ได้รับการบรรจุ ทบทวนเกณฑ์จำนวนนักเรียนต่อครูที่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก เพราะเกณฑ์ 25 : 1 ของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเซียอาจไม่เหมาะสมสำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ที่สำคัญ หากโรงเรียนขนาดเล็กแห่งใด ไม่สามารถยุบได้เพราะจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนในชุมชนแล้ว สพฐ. จะต้องทำแผนช่วยเหลือโรงเรียนแห่งนั้นให้ชัดเจนและแตกต่างจากแผนช่วยเหลือในแบบเดิมๆ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่