วงประชุมบอร์ดสุขภาพจิตแห่งชาติเตรียมปรับแก้กฎหมาย เน้นทำงานเชิงรุก สางปัญหาสิทธิประโยชน์ไม่เท่าเทียม เพิ่มการเข้าถึงคนไร้สถานะ ต่างด้าว ช่วยเจ้าหน้าที่รับตัวผู้ป่วยเสี่ยงก่อเหตุรุนแรงถึงบ้านแบบไม่ผิดกฎหมาย
วันนี้ (5 พ.ย.) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติครั้งที่ 1/2557 โดยมี นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัด สธ. และ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นต้น ซึ่งเป็นกรรมการเข้าร่วมประชุมด้วย ว่า การดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตจำเป็นต้องมีการปรับปรุง พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เพื่อให้การทำงานรอบด้านมากขึ้น โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมในการบำบัดรักษาผู้ป่วยของแต่ละสิทธิประโยชน์ เช่น สิทธิประกันสังคม เดิมไม่คุ้มครองผู้พยายามฆ่าตัวตาย แต่ล่าสุดคุ้มครองแล้ว เป็นต้น
“ผมได้กำชับว่าทุกสิทธิจะต้องให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าอยู่สิทธิไหน รวมทั้งกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสิทธิ ไม่มีสถานะ หรือไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งอาจมาจากไร้คนดูแล จำไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใคร รวมไปถึงคนชายขอบ คนไร้สถานะ คนต่างด้าว รวมกว่า 4 แสนคน จะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทั่วถึง ส่วนหน่วยงานไหนจะมาดูแล จะเป็นกรมสุขภาพจิต หรือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็ต้องมาหารืออีกครั้ง ซึ่งในการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวจะมีการนำเข้าการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตฯ อีกครั้งใน ม.ค. 2558 เพื่อพิจารณารายละเอียดต่อไป” รองนายกฯ กล่าว
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยจิตเวชประมาณ 6 แสนคน ร้อยละ 20 มีอาการเสี่ยงก่อความรุนแรง จนเกิดความกังวลว่าจะทำอย่างไรในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะแม้จะเข้ารับการรักษาจนหาย แต่หากไม่มีการเฝ้าระวัง หรือติดตามอย่างใกล้ชิด ย่อมมีโอกาสกลับมาป่วยซ้ำ และมีอาการรุนแรงขึ้นจนก่อคดีได้ ดังนั้น การปรับปรุง พ.ร.บ.สุขภาพจิต จะเน้นทำงานเชิงรุก ป้องกันปัญหา เช่น เปิดโอกาสให้พนักงานเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตมีสิทธิตามกฎหมายเข้าไปรับตัวผู้ป่วยในบ้านพัก หรือสถานที่ส่วนตัวได้โดยไม่ผิดกฎหมาย หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตที่สุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรงแก่สังคม ซึ่งปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตประมาณ 6,590 คนทั่วประเทศ
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า นอกจากนี้ จะต้องพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชใหม่ เพื่อให้สามารถทราบภาวะสุขภาพจิตอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ ผ่านคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตระดับพื้นที่ ที่มีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) เป็นเลขานุการ จะทำหน้าที่สำรวจสุขภาพจิตของคนในชุมชนผ่านเครื่องมือเฉพาะที่พัฒนาขึ้น เพื่อคัดกรองว่ากลุ่มไหนมีปัญหาสภาพจิตมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งกรณีผู้ป่วยจิตเวชรุนแรง จะต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ทางกรมฯ อยู่ระหว่างพัฒนาข้อมูลในการติดตามตัวเฉพาะราย เพื่อติดตามความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยจะเป็นความลับระหว่างจิตแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งเรื่องนี้จะมีประโยชน์ในแง่การเฝ้าระวังและป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (5 พ.ย.) นายยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติครั้งที่ 1/2557 โดยมี นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย รองปลัด สธ. และ นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นต้น ซึ่งเป็นกรรมการเข้าร่วมประชุมด้วย ว่า การดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตจำเป็นต้องมีการปรับปรุง พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ. 2551 เพื่อให้การทำงานรอบด้านมากขึ้น โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมในการบำบัดรักษาผู้ป่วยของแต่ละสิทธิประโยชน์ เช่น สิทธิประกันสังคม เดิมไม่คุ้มครองผู้พยายามฆ่าตัวตาย แต่ล่าสุดคุ้มครองแล้ว เป็นต้น
“ผมได้กำชับว่าทุกสิทธิจะต้องให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย ไม่ว่าอยู่สิทธิไหน รวมทั้งกรณีผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสิทธิ ไม่มีสถานะ หรือไม่มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งอาจมาจากไร้คนดูแล จำไม่ได้ว่าตัวเองเป็นใคร รวมไปถึงคนชายขอบ คนไร้สถานะ คนต่างด้าว รวมกว่า 4 แสนคน จะต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างทั่วถึง ส่วนหน่วยงานไหนจะมาดูแล จะเป็นกรมสุขภาพจิต หรือกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ก็ต้องมาหารืออีกครั้ง ซึ่งในการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ. ดังกล่าวจะมีการนำเข้าการประชุมคณะกรรมการสุขภาพจิตฯ อีกครั้งใน ม.ค. 2558 เพื่อพิจารณารายละเอียดต่อไป” รองนายกฯ กล่าว
พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ปัจจุบันมีผู้ป่วยจิตเวชประมาณ 6 แสนคน ร้อยละ 20 มีอาการเสี่ยงก่อความรุนแรง จนเกิดความกังวลว่าจะทำอย่างไรในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะแม้จะเข้ารับการรักษาจนหาย แต่หากไม่มีการเฝ้าระวัง หรือติดตามอย่างใกล้ชิด ย่อมมีโอกาสกลับมาป่วยซ้ำ และมีอาการรุนแรงขึ้นจนก่อคดีได้ ดังนั้น การปรับปรุง พ.ร.บ.สุขภาพจิต จะเน้นทำงานเชิงรุก ป้องกันปัญหา เช่น เปิดโอกาสให้พนักงานเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตมีสิทธิตามกฎหมายเข้าไปรับตัวผู้ป่วยในบ้านพัก หรือสถานที่ส่วนตัวได้โดยไม่ผิดกฎหมาย หากพบว่าผู้ป่วยมีอาการทางจิตที่สุ่มเสี่ยงก่อความรุนแรงแก่สังคม ซึ่งปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่สุขภาพจิตประมาณ 6,590 คนทั่วประเทศ
พญ.พรรณพิมล กล่าวว่า นอกจากนี้ จะต้องพัฒนาฐานข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชใหม่ เพื่อให้สามารถทราบภาวะสุขภาพจิตอย่างครอบคลุมทั่วประเทศ ผ่านคณะอนุกรรมการสุขภาพจิตระดับพื้นที่ ที่มีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) เป็นเลขานุการ จะทำหน้าที่สำรวจสุขภาพจิตของคนในชุมชนผ่านเครื่องมือเฉพาะที่พัฒนาขึ้น เพื่อคัดกรองว่ากลุ่มไหนมีปัญหาสภาพจิตมากน้อยแค่ไหน รวมทั้งกรณีผู้ป่วยจิตเวชรุนแรง จะต้องได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ทางกรมฯ อยู่ระหว่างพัฒนาข้อมูลในการติดตามตัวเฉพาะราย เพื่อติดตามความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น โดยจะเป็นความลับระหว่างจิตแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งเรื่องนี้จะมีประโยชน์ในแง่การเฝ้าระวังและป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่