นักวิจัยแนะบูรณาการทำงานร่วมมือตั้ง กก. ระดับตำบลดูแลการใช้แรงงานเด็กในประเทศเตรียมขยายผลโครงการ CLM สู่ 22 จังหวัดชายทะเล ชี้นำระบบไอทีมาใช้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ
วันนี้ (30 ต.ค.) นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวในการเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาโครงการ “CLM : กลไกแก้ปัญหาแรงงานเด็ก....บทเรียนสู่การขยายผล” ในโครงการสนับสนุนการพัฒนาและติดตั้งระบบเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้แรงงานเด็กในประเทศไทย ว่า ปีนี้ประเทศไทยถูกสหรัฐอเมริกาจัดอันดับประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการค้ามนุษย์ลดลงเป็นระดับ 3 ส่งผลกระทบต่อการการส่งออกสินค้ากุ้ง ปลา เครื่องนุ่งห่ม และน้ำตาล ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก ดังนั้น กสร. จึงนำระบบ Child labour Montioring System หรือ CLM เป็นมาตรการเชิงรุกที่ กสร. ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ในการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กด้วยการสร้างกลไกบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ระดับตำบลและหน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชนต่างๆ เพื่อสำรวจปัญหาการใช้แรงงานเด็กในระดับพื้นที่และช่วยเหลือเด็กโดยนำร่องในจ.สมุทรสาครและสงขลา ซึ่งการดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ จะนำข้อสรุปของโครงการ CLM ขยายผลไปยัง 22 จังหวัดที่มีผู้ประกอบการด้านกิจการประมงทะเล รวมทั้งจังหวัดที่มีสถานประกอบการผลิตเครื่องนุ่งห่ม และไร่อ้อย
นางสินี ช่วงฉ่ำ หัวหน้าโครงการ CLM มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า โครงการ CLM นำร่องใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร และ ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร และ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีสถานประกอบการด้านกิจการประมงทะเลจำนวนมาก โดยได้ศึกษาในช่วงเดือนกรกฎาคม 2556 ถึง เดือนตุลาคม 2557 ซึ่งพบว่าเด็กที่ทำงานในสถานประกอบการต่างๆ ส่วนใหญ่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปตามที่กฏหมายกำหนด ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ต้องทำงานมีอยู่บ้างแต่น้อยมาก และเด็กส่วนมากมีฐานะยากจน ต้องช่วยเหลือครอบครัว และขาดโอกาสทางการศึกษา
นางสินี กล่าวอีกว่า ส่วนการช่วยเหลือเด็กนั้นดำเนินการโดยประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นระดับตำบล และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุขและสังคม โดยทำงานร่วมกันในรูปแบบของการบูรณาการ ทำให้ช่วยเหลือเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาจะได้ผลดี จะต้องจัดตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาระดับตำบลซึ่งประกอบด้วยองค์การปกครองท้องถิ่นระดับตำบล หน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าถึงตัวเด็กในระดับพื้นที่และสามารถเชื่อมโยงคณะกรรมการระดับจังหวัดและระดับชาติ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาและประสานความร่วมมือกัน
น.ส.เบอร์กิทตา คลอง-พอลเซน ผู้จัดการโครงการระหว่างประเทศว่าด้วยการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก (ไอเปค) ประเทศไทย กล่าวว่า จากการศึกษาระบบ CLM ในประเทศต่างๆ เช่น บราซิล กัมพูชา ได้พบว่า หัวใจของการทำให้ระบบ CLM ประสบความสำเร็จ คือ การประสานงานและบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระดับท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐ. หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องในการเข้าถึงตัวเด็กในระดับพื้นที่ การเก็บข้อมูล วิเคราะห์และการส่งต่อแรงงานเด็กเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดำเนินการโดยลำพังจะไม่ประสบความสำเร็จ และการนำระบบไอทีมาใช้จะทำให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (30 ต.ค.) นายพีรพัฒน์ พรศิริเลิศกิจ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวในการเป็นประธานพิธีเปิดการสัมมนาโครงการ “CLM : กลไกแก้ปัญหาแรงงานเด็ก....บทเรียนสู่การขยายผล” ในโครงการสนับสนุนการพัฒนาและติดตั้งระบบเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การใช้แรงงานเด็กในประเทศไทย ว่า ปีนี้ประเทศไทยถูกสหรัฐอเมริกาจัดอันดับประเทศที่ต้องเฝ้าระวังด้านการค้ามนุษย์ลดลงเป็นระดับ 3 ส่งผลกระทบต่อการการส่งออกสินค้ากุ้ง ปลา เครื่องนุ่งห่ม และน้ำตาล ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นปัญหาการใช้แรงงานเด็ก ดังนั้น กสร. จึงนำระบบ Child labour Montioring System หรือ CLM เป็นมาตรการเชิงรุกที่ กสร. ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ) ในการแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กด้วยการสร้างกลไกบูรณาการความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ระดับตำบลและหน่วยงานรัฐ หน่วยงานเอกชนต่างๆ เพื่อสำรวจปัญหาการใช้แรงงานเด็กในระดับพื้นที่และช่วยเหลือเด็กโดยนำร่องในจ.สมุทรสาครและสงขลา ซึ่งการดำเนินการได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ จะนำข้อสรุปของโครงการ CLM ขยายผลไปยัง 22 จังหวัดที่มีผู้ประกอบการด้านกิจการประมงทะเล รวมทั้งจังหวัดที่มีสถานประกอบการผลิตเครื่องนุ่งห่ม และไร่อ้อย
นางสินี ช่วงฉ่ำ หัวหน้าโครงการ CLM มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) กล่าวว่า โครงการ CLM นำร่องใน 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลบางหญ้าแพรก ตำบลท่าจีน จังหวัดสมุทรสาคร และ ตำบลหัวเขา อำเภอสิงหนคร และ ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีสถานประกอบการด้านกิจการประมงทะเลจำนวนมาก โดยได้ศึกษาในช่วงเดือนกรกฎาคม 2556 ถึง เดือนตุลาคม 2557 ซึ่งพบว่าเด็กที่ทำงานในสถานประกอบการต่างๆ ส่วนใหญ่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปตามที่กฏหมายกำหนด ส่วนเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่ต้องทำงานมีอยู่บ้างแต่น้อยมาก และเด็กส่วนมากมีฐานะยากจน ต้องช่วยเหลือครอบครัว และขาดโอกาสทางการศึกษา
นางสินี กล่าวอีกว่า ส่วนการช่วยเหลือเด็กนั้นดำเนินการโดยประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นระดับตำบล และหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งด้านการศึกษา สาธารณสุขและสังคม โดยทำงานร่วมกันในรูปแบบของการบูรณาการ ทำให้ช่วยเหลือเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาจะได้ผลดี จะต้องจัดตั้งคณะกรรมการแก้ปัญหาระดับตำบลซึ่งประกอบด้วยองค์การปกครองท้องถิ่นระดับตำบล หน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าถึงตัวเด็กในระดับพื้นที่และสามารถเชื่อมโยงคณะกรรมการระดับจังหวัดและระดับชาติ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาและประสานความร่วมมือกัน
น.ส.เบอร์กิทตา คลอง-พอลเซน ผู้จัดการโครงการระหว่างประเทศว่าด้วยการแก้ไขปัญหาแรงงานเด็ก (ไอเปค) ประเทศไทย กล่าวว่า จากการศึกษาระบบ CLM ในประเทศต่างๆ เช่น บราซิล กัมพูชา ได้พบว่า หัวใจของการทำให้ระบบ CLM ประสบความสำเร็จ คือ การประสานงานและบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานระดับท้องถิ่นและหน่วยงานรัฐ. หน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องในการเข้าถึงตัวเด็กในระดับพื้นที่ การเก็บข้อมูล วิเคราะห์และการส่งต่อแรงงานเด็กเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญที่สุด หากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งดำเนินการโดยลำพังจะไม่ประสบความสำเร็จ และการนำระบบไอทีมาใช้จะทำให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น