อธิการ ม.รามฯ เตือน นศ. อย่าหลงเชื่อแก๊งต้มตุ๋นลวงสามารถช่วยสมัครเรียน ลงทะเบียน ติวสอบ การันตีผลการเรียนไปจนถึงช่วยให้จบได้ ยัน ม.ร. ไม่เกี่ยวข้อง พร้อมเผย นศ. บางรายสูญเงินสูงถึงหลักหมื่นบาท โดยวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ภาษาอังกฤษเบื้องต้น ซึ่ง นศ. ลงทะเบียนมากเป็นเป้าหมายของการหลอกลวง ขณะที่ล่าสุด 3 ก.ค. แจ้งความ สน.หัวหมาก เพราะพบกระบวนการนำเด็กมาสมัครเรียนแต่ ตร. ไม่ได้แจ้งข้องกล่าวหาเหตุเป็นการสมยอม
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) ผศ.ดร.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง แถลงข่าวกรณีมีกลุ่มบุคคลแอบอ้างชื่อ ม.ร. ไปแสวงหาประโยชน์หลอกลวงนักศึกษา ว่า ม.ร. ได้รับการร้องเรียนจากกนักศึกษาจำนวนไม่น้อยตกเป็นผู้เสียหายจากกลุ่มบุคคลที่แอบอ้างชื่อ ม.ร. ไปแสวงหาประโยชน์ ด้วยการโฆษณาเชิญชวนผ่านสื่อว่าสามารถช่วยเหลือนักศึกษาในการสมัครเรียน การลงทะเบียนเรียน วางแผนการเรียน การติว และการสอบ จนถึงขั้นรับรองผลว่าจะช่วยให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาที่ ม.ร. ได้ ทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นบริการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย และหลงเชื่อใช้บริการจนเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก บางคนเสียเป็นหลักหมื่นบาท แต่ผลที่ได้ไม่เป็นไปตามที่โฆษณาชวนเชื่อ ทั้งนี้ ขอชี้แจงว่า ม.ร. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการดำเนินการดังกล่าวและขอเตือนนักศึกษาอย่าหลงเชื่อ
“สาเหตุที่แก๊งมิจฉาชีพเหล่านี้มุ่งเป้าหลอกลวงนักศึกษา ม.ร. เนื่องจาก ม.ร. มีนักศึกษาจำนวนมาก อีกทั้งค่าหน่วยกิตถูก ทำให้บางคนหลงเชื่อให้แก๊งเหล่านี้ ซึ่งเป็นเหมือนธุรกิจนายหน้าคอยอำนวยความสะดวกให้และคิดค่าบริการเพิ่ม ส่วนกรณีที่หลอกลวงว่าสามารถติว เก็งข้อสอบและรับประกันผลสอบได้นั้น ผมไม่ทราบว่าแก๊งเหล่านี้มีกระบวนการดำเนินการอย่างไร ซึ่งวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนจำนวนมาก เช่น เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ภาษาอังกฤษเบื้องต้น มักจะตกเป็นเป้าของกระบวนการนี้ ทั้งนี้ ล่าสุด ได้ตรวจพบแก๊งเหล่านี้หลอกบริการนำพาเด็กมาสมัครเรียน และได้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีแล้วที่ สน.หัวหมาก เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ที่ผ่านมา แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าไม่ทราบจะแจ้งข้อหาอะไรเนื่องจากเป็นการสมยอม” ผศ.ดร.วุฒิศักดิ์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม หากนักศึกษาคนใดถูกหลอกและมีข้อมูลหลักฐานขอให้แจ้งที่ประชาสัมพันธ์ ม.ร. เพื่อรวบรวมประกอบการดำเนินคดีทางกฎหมาย ก่อนหน้านี้ ม.ร. ก็เคยแจ้งความพวกแอบอ้างเปิดเว็บไซต์หลอกลวงนักศึกษาไว้แล้วทั้งที่กองปราบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลายคดีแต่ยังไม่มีความคืบหน้า เท่าที่ทราบแก๊งมิจฉาชีพหากินกับนักศึกษา ม.ร. เหล่านี้มีสำนักงานทั้งใน กทม. แถวลาดพร้าว ซ.รามคำแหง และที่ จ.สุราษฎร์ธานี
ด้าน รศ.สุวรรณี เดชวรชัย ผอ.สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล ม.ร. กล่าวว่า กรณีล่าสุดที่พบเป็นแก๊งต้มตุ๋นซึ่งเป็นหญิง 2 - 3 คน แต่งกายชุดฟอร์ม ม.ร. ทั้งที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ม.ร. พาเด็กมาสมัครเรียน จึงได้แจ้งความที่ สน.หัวหมาก เมื่อวันที่ 3 ก.ค. และตรวจพบมีเอกสารในการให้บริการนักศึกษา ม.ร. ในกระเป๋าเพียงวันเดียวถึง 300 คน นอกจากนี้ ยังได้รับการร้องเรียนจากนักศึกษาที่ถูกหลอกโดยการันตีผลการเรียน แต่เมื่อผลการเรียนออกมาปรากฏไม่เป็นตามที่ตกลง หรือบางคนถูกหลอกว่าสามารถสำเร็จการศึกษาภายใน 2 ปีครึ่ง นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบของการรุกเข้าไปประชาสัมพันธ์ถึงตามโรงเรียน ทั้งที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของม.ร.จึงขอให้สถานศึกษาตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ม.ร. และมีหนังสือ ม.ร. ที่แต่งตั้งให้ไปประชาสัมพันธ์ตามสถานศึกษาหรือไม่
ทั้งนี้ เป็นห่วงนักศึกษาที่ถูกหลอกไปใช้บริการของแก๊งธุรกิจนายหน้าเหล่านี้ ทั้งที่การลงทะเบียนนักศึกษาต่อภาคเรียนจะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 1,000 - 2,000 บาท แต่หากผ่านแก๊งนายหน้าเหล่านี้จะบวกค่าบริการเพิ่มหลายเท่าตัวเป็น 4,000 - 7,000 บาทต่อภาคเรียน ขอย้ำนักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ด้วยตนเองที่ ม.ร. หรือผ่านทางเว็บไซต์โดยตรง อย่าไปหลงเชื่อพวกแอบอ้างที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเกินจริงและเสียประโยชน์ทุกด้าน อีกทั้งอาจนำไปสู่การทุจริตรูปแบบต่างๆ ที่ผิดกฎหมายได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (29 ต.ค.) ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ม.ร.) ผศ.ดร.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง แถลงข่าวกรณีมีกลุ่มบุคคลแอบอ้างชื่อ ม.ร. ไปแสวงหาประโยชน์หลอกลวงนักศึกษา ว่า ม.ร. ได้รับการร้องเรียนจากกนักศึกษาจำนวนไม่น้อยตกเป็นผู้เสียหายจากกลุ่มบุคคลที่แอบอ้างชื่อ ม.ร. ไปแสวงหาประโยชน์ ด้วยการโฆษณาเชิญชวนผ่านสื่อว่าสามารถช่วยเหลือนักศึกษาในการสมัครเรียน การลงทะเบียนเรียน วางแผนการเรียน การติว และการสอบ จนถึงขั้นรับรองผลว่าจะช่วยให้นักศึกษาสำเร็จการศึกษาที่ ม.ร. ได้ ทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่าเป็นบริการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย และหลงเชื่อใช้บริการจนเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก บางคนเสียเป็นหลักหมื่นบาท แต่ผลที่ได้ไม่เป็นไปตามที่โฆษณาชวนเชื่อ ทั้งนี้ ขอชี้แจงว่า ม.ร. ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับการดำเนินการดังกล่าวและขอเตือนนักศึกษาอย่าหลงเชื่อ
“สาเหตุที่แก๊งมิจฉาชีพเหล่านี้มุ่งเป้าหลอกลวงนักศึกษา ม.ร. เนื่องจาก ม.ร. มีนักศึกษาจำนวนมาก อีกทั้งค่าหน่วยกิตถูก ทำให้บางคนหลงเชื่อให้แก๊งเหล่านี้ ซึ่งเป็นเหมือนธุรกิจนายหน้าคอยอำนวยความสะดวกให้และคิดค่าบริการเพิ่ม ส่วนกรณีที่หลอกลวงว่าสามารถติว เก็งข้อสอบและรับประกันผลสอบได้นั้น ผมไม่ทราบว่าแก๊งเหล่านี้มีกระบวนการดำเนินการอย่างไร ซึ่งวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนจำนวนมาก เช่น เศรษฐศาสตร์เบื้องต้น ภาษาอังกฤษเบื้องต้น มักจะตกเป็นเป้าของกระบวนการนี้ ทั้งนี้ ล่าสุด ได้ตรวจพบแก๊งเหล่านี้หลอกบริการนำพาเด็กมาสมัครเรียน และได้ดำเนินการแจ้งความดำเนินคดีแล้วที่ สน.หัวหมาก เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ที่ผ่านมา แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุว่าไม่ทราบจะแจ้งข้อหาอะไรเนื่องจากเป็นการสมยอม” ผศ.ดร.วุฒิศักดิ์ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม หากนักศึกษาคนใดถูกหลอกและมีข้อมูลหลักฐานขอให้แจ้งที่ประชาสัมพันธ์ ม.ร. เพื่อรวบรวมประกอบการดำเนินคดีทางกฎหมาย ก่อนหน้านี้ ม.ร. ก็เคยแจ้งความพวกแอบอ้างเปิดเว็บไซต์หลอกลวงนักศึกษาไว้แล้วทั้งที่กองปราบ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หลายคดีแต่ยังไม่มีความคืบหน้า เท่าที่ทราบแก๊งมิจฉาชีพหากินกับนักศึกษา ม.ร. เหล่านี้มีสำนักงานทั้งใน กทม. แถวลาดพร้าว ซ.รามคำแหง และที่ จ.สุราษฎร์ธานี
ด้าน รศ.สุวรรณี เดชวรชัย ผอ.สำนักบริการทางวิชาการและทดสอบประเมินผล ม.ร. กล่าวว่า กรณีล่าสุดที่พบเป็นแก๊งต้มตุ๋นซึ่งเป็นหญิง 2 - 3 คน แต่งกายชุดฟอร์ม ม.ร. ทั้งที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ม.ร. พาเด็กมาสมัครเรียน จึงได้แจ้งความที่ สน.หัวหมาก เมื่อวันที่ 3 ก.ค. และตรวจพบมีเอกสารในการให้บริการนักศึกษา ม.ร. ในกระเป๋าเพียงวันเดียวถึง 300 คน นอกจากนี้ ยังได้รับการร้องเรียนจากนักศึกษาที่ถูกหลอกโดยการันตีผลการเรียน แต่เมื่อผลการเรียนออกมาปรากฏไม่เป็นตามที่ตกลง หรือบางคนถูกหลอกว่าสามารถสำเร็จการศึกษาภายใน 2 ปีครึ่ง นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบของการรุกเข้าไปประชาสัมพันธ์ถึงตามโรงเรียน ทั้งที่ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของม.ร.จึงขอให้สถานศึกษาตรวจสอบให้แน่ชัดว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ม.ร. และมีหนังสือ ม.ร. ที่แต่งตั้งให้ไปประชาสัมพันธ์ตามสถานศึกษาหรือไม่
ทั้งนี้ เป็นห่วงนักศึกษาที่ถูกหลอกไปใช้บริการของแก๊งธุรกิจนายหน้าเหล่านี้ ทั้งที่การลงทะเบียนนักศึกษาต่อภาคเรียนจะเสียค่าใช้จ่ายเพียง 1,000 - 2,000 บาท แต่หากผ่านแก๊งนายหน้าเหล่านี้จะบวกค่าบริการเพิ่มหลายเท่าตัวเป็น 4,000 - 7,000 บาทต่อภาคเรียน ขอย้ำนักศึกษาสามารถลงทะเบียนเรียนได้ด้วยตนเองที่ ม.ร. หรือผ่านทางเว็บไซต์โดยตรง อย่าไปหลงเชื่อพวกแอบอ้างที่ทำให้เสียค่าใช้จ่ายเกินจริงและเสียประโยชน์ทุกด้าน อีกทั้งอาจนำไปสู่การทุจริตรูปแบบต่างๆ ที่ผิดกฎหมายได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
Loadingเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น