8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพ บุก อภ. ทวงถามประเมินการทำงาน ผอ.อภ. ชี้หากไม่ผ่านไม่ควรให้โอกาสบริหารอีก พร้อมจี้ถามแก้ปัญหายาเอดส์ขาดแคลน และการเปิดโรงงานยารังสิตล่าช้า ล่าสุดบอร์ด อภ.มีมติเลิกจ้างแล้ว แจ้งล่วงหน้า 30 วัน จ่ายชดเชย 6 เดือน
วันนี้ (26 ต.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่องค์การเภสัชกรรม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทน 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพได้เดินทางมายื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาเร่งด่วนขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ทั้งการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยาต้านไวรัสเอดส์ ยาละลายลิ่มเลือด ความล่าช้าโรงงานผลิตยาที่รังสิต รวมถึงการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของ นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ. ด้วย ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ซึ่งมี พล.ท.ศุภกร สงวนชาติศรไกร เป็นประธาน
ทั้งนี้ นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาเร่งด่วนต่างๆ เหมือนยังไม่ได้ถูกแก้ไข โรงพยาบาลในหลายจังหวัดยังจำเป็นต้องเกลี่ยยาต้านไวรัสเอฟฟาไวเรนซ์ (EFV) ให้กับคนไข้ครั้งละ 10 - 15 เม็ด หรือบางโรงพยาบาลจำเป็นต้องไปซื้อจากบริษัทเอกชนมาสำรองให้คนไข้ไปก่อน ทั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู เลย และบางส่วนในจังหวัดนครราชสีมา ขณะนี้เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ และชมรมเภสัชชนบทกำลังเร่งรวบรวมข้อมูล แต่จนถึงขณะนี้กลับไม่มีความคืบหน้า ส่วนเรื่องการเปิดใช้งานโรงงานผลิตยาที่รังสิต ต้องการทราบว่า ปัญหาอยู่ที่ไหน ทั้งที่บอร์ด อภ. มีนโยบายให้เร่งเปิดใช้งานแล้ว เรื่องนี้เป็นเพราะ ผอ.อภ. จงใจไม่สนองนโยบายบอร์ด โดยที่ไม่สนใจว่า ปัญหายาขาดกระทบกับชีวิตของผู้ป่วยหรือไม่
นายอภิวัฒน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังเดินทางมาเพื่อทวงถามความคืบหน้าการประเมินผลงานของ ผอ.อภ.ด้วย ส่วนตัวเห็นว่า ควรมีการพิจารณาให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรต่อไป กับความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่วนตัวเห็นว่าหากไม่ผ่านประเมินก็ไม่ควรมีการยืดระยะเวลาหรือให้โอกาส และ ผอ.อภ. ไม่ใช่แพะรับบาป เพราะเคยมีการทวงถามมาตั้งแต่ ส.ค. ที่ผ่านมา ส่วนจะเป็นปัญหาจากระบบใดที่ทำให้แก้ความผิดพลาดเรื่องยาก็ต้องหาทางแก้ไข
น.ส.สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเสริม และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านสาธารณสุข กล่าวว่า ไม่เพียงปัญหายาต้านไวรัสขาดแคลน ขณะนี้มีแนวโน้มว่า ยาจำเป็นอีกหลายตัวจำขาดแคลนเพิ่ม เช่น ยาโคลพิโดรเกลซึ่งเป็นยาละลายลิ่มเลือด เป็นยาที่ทำซีแอลเดิม อภ. เคยทำหน้าที่ซื้อจากอินเดียเข้ามาให้ทุกระบบสุขภาพ แต่พบว่า ขณะนี้การสั่งยาทำเฉพาะระบบหลักประกันสุขภาพเท่านั้น เชื่อว่าอีกไม่นานยาตัวนี้ในระบบประกันสังคมจะขาดแคลน หากต้องไปซื้อของบริษัทเอกชนราคาจะเพิ่มขึ้นจากเม็ดละ 3 บาทที่ อภ. รับดำเนินการอยู่จะเป็นเม็ดละ 30 บาททันที
น.ส.สุภัทรา กล่าวว่า เครือข่ายฯต้องการมาทวงถามความคืบหน้าหลังจากเคยทำหนังสือถึงประธานบอร์ดอภ. ไปเมื่อวันที่ 25 ส.ค. และเข้าพบในวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา ถึงปัญหาการบริหารงานของ นพ.สุวัช ที่ไม่มีประสิทธิภาพ เห็นชัดจากปัญหายาต้านไวรัสเอชไอวีขาดแคลน จนขณะนี้ผู้ป่วยต้องมารับยาทุกๆ 7 วัน เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้ยาสต๊อกนานเป็นเดือนๆได้เหมือนเดิม อีกทั้งยังลุกลามไม่สามารถผลิตยาอื่นๆ ทั้งยาโรคหัวใจได้ รวมทั้งการเดินหน้าก่อสร้างโรงงานผลิตยาที่รังสิต ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ แม้จะมีข่าวว่าจะเร่งเปิดให้ได้ภายในต้นปี 2558 อย่างไรก็ตาม จากปัญหาเหล่านี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ศ.ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์ ซึ่งเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านไวรัสฯคนแรกๆ ของไทย และเป็นหนึ่งในบอร์ด อภ. ได้กล่าวก่อนประชุมว่า หากการประชุมไม่มีความคืบหน้าเรื่องการแก้ปัญหาขาดยา และปัญหาภาพรวมต่างๆ คงต้องขอลาออก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมบอร์ด อภ. ล่าสุดมีมติเลิกจ้าง นพ.สุวัช เป็น ผอ.อภ. โดยจะแจ้งล่วงหน้า 30 วัน พร้อมจ่ายชดเชย 6 เดือน เนื่องจากเป็นการทำตามสัญญา และไม่อยากให้มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ต.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. ที่องค์การเภสัชกรรม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตัวแทน 8 เครือข่ายองค์กรสุขภาพได้เดินทางมายื่นหนังสือทวงถามความคืบหน้าในการแก้ปัญหาเร่งด่วนขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ทั้งการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนยาต้านไวรัสเอดส์ ยาละลายลิ่มเลือด ความล่าช้าโรงงานผลิตยาที่รังสิต รวมถึงการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของ นพ.สุวัช เซียศิริวัฒนา ผอ.อภ. ด้วย ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม (บอร์ด อภ.) ซึ่งมี พล.ท.ศุภกร สงวนชาติศรไกร เป็นประธาน
ทั้งนี้ นายอภิวัฒน์ กวางแก้ว ประธานเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ ประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาเร่งด่วนต่างๆ เหมือนยังไม่ได้ถูกแก้ไข โรงพยาบาลในหลายจังหวัดยังจำเป็นต้องเกลี่ยยาต้านไวรัสเอฟฟาไวเรนซ์ (EFV) ให้กับคนไข้ครั้งละ 10 - 15 เม็ด หรือบางโรงพยาบาลจำเป็นต้องไปซื้อจากบริษัทเอกชนมาสำรองให้คนไข้ไปก่อน ทั้งที่จังหวัดร้อยเอ็ด หนองบัวลำภู เลย และบางส่วนในจังหวัดนครราชสีมา ขณะนี้เครือข่ายผู้ติดเชื้อฯ และชมรมเภสัชชนบทกำลังเร่งรวบรวมข้อมูล แต่จนถึงขณะนี้กลับไม่มีความคืบหน้า ส่วนเรื่องการเปิดใช้งานโรงงานผลิตยาที่รังสิต ต้องการทราบว่า ปัญหาอยู่ที่ไหน ทั้งที่บอร์ด อภ. มีนโยบายให้เร่งเปิดใช้งานแล้ว เรื่องนี้เป็นเพราะ ผอ.อภ. จงใจไม่สนองนโยบายบอร์ด โดยที่ไม่สนใจว่า ปัญหายาขาดกระทบกับชีวิตของผู้ป่วยหรือไม่
นายอภิวัฒน์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังเดินทางมาเพื่อทวงถามความคืบหน้าการประเมินผลงานของ ผอ.อภ.ด้วย ส่วนตัวเห็นว่า ควรมีการพิจารณาให้ชัดเจนว่าจะทำอย่างไรต่อไป กับความเสียหายที่เกิดขึ้น ส่วนตัวเห็นว่าหากไม่ผ่านประเมินก็ไม่ควรมีการยืดระยะเวลาหรือให้โอกาส และ ผอ.อภ. ไม่ใช่แพะรับบาป เพราะเคยมีการทวงถามมาตั้งแต่ ส.ค. ที่ผ่านมา ส่วนจะเป็นปัญหาจากระบบใดที่ทำให้แก้ความผิดพลาดเรื่องยาก็ต้องหาทางแก้ไข
น.ส.สุภัทรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพเสริม และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านสาธารณสุข กล่าวว่า ไม่เพียงปัญหายาต้านไวรัสขาดแคลน ขณะนี้มีแนวโน้มว่า ยาจำเป็นอีกหลายตัวจำขาดแคลนเพิ่ม เช่น ยาโคลพิโดรเกลซึ่งเป็นยาละลายลิ่มเลือด เป็นยาที่ทำซีแอลเดิม อภ. เคยทำหน้าที่ซื้อจากอินเดียเข้ามาให้ทุกระบบสุขภาพ แต่พบว่า ขณะนี้การสั่งยาทำเฉพาะระบบหลักประกันสุขภาพเท่านั้น เชื่อว่าอีกไม่นานยาตัวนี้ในระบบประกันสังคมจะขาดแคลน หากต้องไปซื้อของบริษัทเอกชนราคาจะเพิ่มขึ้นจากเม็ดละ 3 บาทที่ อภ. รับดำเนินการอยู่จะเป็นเม็ดละ 30 บาททันที
น.ส.สุภัทรา กล่าวว่า เครือข่ายฯต้องการมาทวงถามความคืบหน้าหลังจากเคยทำหนังสือถึงประธานบอร์ดอภ. ไปเมื่อวันที่ 25 ส.ค. และเข้าพบในวันที่ 17 ก.ย. ที่ผ่านมา ถึงปัญหาการบริหารงานของ นพ.สุวัช ที่ไม่มีประสิทธิภาพ เห็นชัดจากปัญหายาต้านไวรัสเอชไอวีขาดแคลน จนขณะนี้ผู้ป่วยต้องมารับยาทุกๆ 7 วัน เนื่องจากทางโรงพยาบาลไม่สามารถให้ยาสต๊อกนานเป็นเดือนๆได้เหมือนเดิม อีกทั้งยังลุกลามไม่สามารถผลิตยาอื่นๆ ทั้งยาโรคหัวใจได้ รวมทั้งการเดินหน้าก่อสร้างโรงงานผลิตยาที่รังสิต ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ แม้จะมีข่าวว่าจะเร่งเปิดให้ได้ภายในต้นปี 2558 อย่างไรก็ตาม จากปัญหาเหล่านี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับ ศ.ภญ.กฤษณา ไกรสินธุ์ ซึ่งเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการผลิตยาต้านไวรัสฯคนแรกๆ ของไทย และเป็นหนึ่งในบอร์ด อภ. ได้กล่าวก่อนประชุมว่า หากการประชุมไม่มีความคืบหน้าเรื่องการแก้ปัญหาขาดยา และปัญหาภาพรวมต่างๆ คงต้องขอลาออก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมบอร์ด อภ. ล่าสุดมีมติเลิกจ้าง นพ.สุวัช เป็น ผอ.อภ. โดยจะแจ้งล่วงหน้า 30 วัน พร้อมจ่ายชดเชย 6 เดือน เนื่องจากเป็นการทำตามสัญญา และไม่อยากให้มีการฟ้องร้องเกิดขึ้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่