สธ. ยืนยันผลตรวจชิ้นเนื้อ - เลือดนักท่องเที่ยวอังกฤษตายในคอนโดหาดป่าตอง จ.ภูเก็ต ไม่พบเชื้ออีโบลา ยันตรวจชิ้นเนื้อจากศพเป็นแนวทางปฏิบัติจากองค์การอนามัยโลก ให้ผลไม่ต่างจากตรวจเลือด ผู้เชี่ยวชาญไวรัสห่วงตรวจพิสูจน์ศพมือเปล่า เสี่ยงรับเชื้อ ด้านกรมควบคุมโรคยันตำรวจ - จนท.สาธารณสุข มีมาตรฐานการตรวจ สวมถุงมือป้องกันการสัมผัสเลือด สารคัดหลั่ง
วันนี้ (26 ต.ค.) นพ.อภิชัย มงคล กล่าวถึงผลการตรวจเชื้ออีโบลานักท่องเที่ยวชายชาวอังกฤษที่เสียชีวิตภายในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในพื้นที่หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 23 ต.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากมีประวัติเดินทางมาจากเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย ซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา แม้ผลการชันสูตรจากแพทย์นิติเวชจะวินิจฉัยเป็นการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวก็ตาม ว่า กรมฯได้ทำการตรวจชิ้นเนื้อบริเวณกระพุ้งแก้ม ตับ และช่องทวารหนักมาตรวจสอบ ไม่พบเชื้ออีโบลาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม มาตรฐานองค์การอนามัยโลกจะใช้เลือดทำการตรวจวิเคราะห์ ทำให้ผลตรวจสอบที่ออกมานั้นยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ เพราะเป็นการตรวจชิ้นเนื้อที่มาจากศพ ซึ่งยังไม่มีแนวทางปฏิบัติ ทั้งนี้ ได้แจ้งผลการตรวจทั้งหมดไปยังกรมควบคุมโรค (คร.) แล้ว โดยให้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาตีความหมายอีกครั้งหนึ่ง
ด้าน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบ 3 ประเภท คือ 1. การตรวจด้วยวิธีเรียลไทม์ พีซีอาร์ 2. การตรวจสอบยืนยันผลซ้ำซึ่งครอบคลุมความผันแปรของรหัสพันธุกรรม เพื่อหาเชื้อไวรัสอีโบลา เชื้อไวรัสมาร์บวร์ก และเชื้อไวรัสในตระกูลเดียวกัน และ 3. ตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (ซีดีซี) พบว่า ให้ผลเป็นลบทั้ง 3 ประเภท คือไม่พบเชื้อไวรัสอีโบลาหรือเชื้อมาร์บวร์ก ส่วนเลือดที่ได้จากศพ ซึ่งเสียชีวิตมาแล้วหลายวันนั้น ไม่มั่นใจว่ามีผลกับผลวิเคราะห์หรือไม่ จึงยังน่าเป็นห่วง ต้องเฝ้าระวังโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆ ต่อไป
“การตรวจศพที่ต้องสงสัยว่ามีเชื้อไวรัสอีโบลา ไม่ว่าจะมีเชื้อหรือไม่มีต้องระมัดระวังเต็มที่ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด จะต้องเข้มงวดเรื่องการสัมผัสศะให้มาก เพราะแม้จะไม่ใช่เชื้อไวรัสอีโบลาก็อาจเป็นไวรัสตัวอื่นได้ ซึ่งผมได้หารือเรื่องนี้กับ นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) แล้ว กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะต้องกำชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเรื่องการเตรียมความพร้อมป้องกันตัวเองเต็มที่” นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า ผลการตรวจเชื้ออีโบลาจากชิ้นเนื้อให้ผลที่ถูกต้องไม่ต่างจากตรวจสอบจากเลือด ซึ่งตามมาตรฐานแนวทางปฏิบัติขององค์การอนามัยโลกก็ชัดเจนว่าหากตรวจสอบเชื้ออีโบลาจากศพ ก็จะใช้ชิ้นเนื้อจากศพในการตรวจสอบอยู่แล้ว ซึ่งการตรวจสอบชิ้นเนื้อของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษรายนี้ก็ถือว่าใช้ชิ้นเนื้อหลายส่วนค่อนข้างมาก ผลตรวจที่ได้ถือว่าถูกต้องตามมาตรฐาน
นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับประเด็นความสะเพร่าของเจ้าหน้าที่ในการตรวจศพผู้ต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลาโดยไม่มีการป้องกันนั้น เนื่องจากตอนเข้าไปตรวจสอบศพครั้งแรกไม่ทราบว่าผู้เสียชีวิตเป็นใคร จึงไม่ทราบว่าเดินทางมาจากประเทศเสี่ยง แต่การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ก็ทำถูกต้องตามมาตรฐาน คือ มีการสวมถุงมือ สวมอุปกรณ์ป้องกัน และไม่สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งโดยตรง เพราะโรคนี้ติดต่อแบบเดียวกันกับโรคเอดส์
สำหรับมาตรการการเฝ้าระวังโรคอีโบลานั้น นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า สธ. จะยังคงมาตรการเฝ้าระวังโรคอีโบลาในผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรคอย่างเข้มงวดทุกวัน ทั้งผู้เดินทางโดยเครื่องบิน ทางเรือ และทางรถยนต์ ที่ผ่านช่องทางเข้าออกประเทศทุกแห่ง ตามมาตรการที่กระทรวงกำหนดไว้ ซึ่งเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ในการตรวจจับการนำเชื้ออีโบลาเข้าประเทศ ส่วนความพร้อมด้านอื่นๆ เช่น การรักษาพยาบาล การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ขณะนี้กล่าวได้ว่าการเตรียมความพร้อมมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีสนามบินนานาชาติ หรือมีช่องทางเข้าออกประเทศ จำนวน 30 จังหวัด หากพบผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายสงสัยจะสามารถรับตัวไว้ดูแลตามแนวทางได้ทันที
นพ.โสภณ กล่าวว่า ผลการเฝ้าระวังผู้เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดโรคอีโบลาจนถึงวันนี้ ยอดสะสมทั้งหมด 2,444 คน เฉลี่ยวันละประมาณ 26 คน ร้อยละ 96 เดินทางมาโดยเครื่องบิน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใน กทม. และจังหวัดต่างๆ จะเฝ้าระวังติดตามอาการผู้เดินทางเหล่านี้ทุกวัน ประชาชนไทยสามารถใช้ชีวิตตามปกติ โดยไม่ต้องวิตกกังวล ผู้ป่วยโรคนี้จะแพร่เชื้อได้ เฉพาะเมื่อมีอาการป่วยแล้ว โดยอาการสำคัญคือ มีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย หรือมีเลือดออก ในขณะนี้ยังไม่พบ ผู้ติดเชื้ออีโบลาในประเทศไทย ส่วนการป้องกันโรคอีโบลา ขอให้ประชาชนไทยหลีกเลี่ยงหรือเลื่อนการเดินทางไปพื้นที่ระบาดออกไปก่อน หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามสายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับสถานการณ์โรคอีโบลา ล่าสุด องค์การอนามัยโลกรายงานเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2557 พบผู้ป่วยรวม 10,141 ราย เสียชีวิต 4,922 ราย มีรายงานผู้ป่วยใน 8 ประเทศ ได้แก่ 1. กินี ป่วย 1,553 ราย เสียชีวิต 926 ราย 2. ไลบิเรีย ป่วย 4,665 ราย เสียชีวิต 2,705 ราย 3. เซียร์ราลีโอน ป่วย 3,896 ราย เสียชีวิต 1,281 ราย 4. มาลี ป่วยและเสียชีวิต 1 ราย 5. ไนจีเรีย ป่วย 20 ราย เสียชีวิต 2 ราย 6. เซเนกัล ป่วย 1 ราย 7. สเปน ป่วย 1 ราย และ 8. สหรัฐอเมริกา ป่วย 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้ประเทศเซเนกัล และไนจีเรีย เป็นพื้นที่ปลอดโรคอีโบลา เมื่อวันที่ 17 และ 20 ตุลาคม 2557 ตามลำดับ เนื่องจากไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ติดต่อกัน เป็นเวลา 42 วัน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (26 ต.ค.) นพ.อภิชัย มงคล กล่าวถึงผลการตรวจเชื้ออีโบลานักท่องเที่ยวชายชาวอังกฤษที่เสียชีวิตภายในคอนโดมิเนียมแห่งหนึ่งในพื้นที่หาดป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เมื่อวันที่ 23 ต.ค. ที่ผ่านมา เนื่องจากมีประวัติเดินทางมาจากเมืองลากอส ประเทศไนจีเรีย ซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา แม้ผลการชันสูตรจากแพทย์นิติเวชจะวินิจฉัยเป็นการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจล้มเหลวก็ตาม ว่า กรมฯได้ทำการตรวจชิ้นเนื้อบริเวณกระพุ้งแก้ม ตับ และช่องทวารหนักมาตรวจสอบ ไม่พบเชื้ออีโบลาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม มาตรฐานองค์การอนามัยโลกจะใช้เลือดทำการตรวจวิเคราะห์ ทำให้ผลตรวจสอบที่ออกมานั้นยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ เพราะเป็นการตรวจชิ้นเนื้อที่มาจากศพ ซึ่งยังไม่มีแนวทางปฏิบัติ ทั้งนี้ ได้แจ้งผลการตรวจทั้งหมดไปยังกรมควบคุมโรค (คร.) แล้ว โดยให้คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยาตีความหมายอีกครั้งหนึ่ง
ด้าน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผอ.ศูนย์ความร่วมมือองค์การอนามัยโลกด้านโรคติดเชื้อไวรัสสัตว์สู่คน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า จากการตรวจสอบ 3 ประเภท คือ 1. การตรวจด้วยวิธีเรียลไทม์ พีซีอาร์ 2. การตรวจสอบยืนยันผลซ้ำซึ่งครอบคลุมความผันแปรของรหัสพันธุกรรม เพื่อหาเชื้อไวรัสอีโบลา เชื้อไวรัสมาร์บวร์ก และเชื้อไวรัสในตระกูลเดียวกัน และ 3. ตรวจวิเคราะห์ตามมาตรฐานของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอเมริกา (ซีดีซี) พบว่า ให้ผลเป็นลบทั้ง 3 ประเภท คือไม่พบเชื้อไวรัสอีโบลาหรือเชื้อมาร์บวร์ก ส่วนเลือดที่ได้จากศพ ซึ่งเสียชีวิตมาแล้วหลายวันนั้น ไม่มั่นใจว่ามีผลกับผลวิเคราะห์หรือไม่ จึงยังน่าเป็นห่วง ต้องเฝ้าระวังโรคติดเชื้อชนิดอื่นๆ ต่อไป
“การตรวจศพที่ต้องสงสัยว่ามีเชื้อไวรัสอีโบลา ไม่ว่าจะมีเชื้อหรือไม่มีต้องระมัดระวังเต็มที่ โดยเฉพาะผู้ที่เดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด จะต้องเข้มงวดเรื่องการสัมผัสศะให้มาก เพราะแม้จะไม่ใช่เชื้อไวรัสอีโบลาก็อาจเป็นไวรัสตัวอื่นได้ ซึ่งผมได้หารือเรื่องนี้กับ นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) แล้ว กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จะต้องกำชับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเรื่องการเตรียมความพร้อมป้องกันตัวเองเต็มที่” นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว
ด้าน นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดี คร. กล่าวว่า ผลการตรวจเชื้ออีโบลาจากชิ้นเนื้อให้ผลที่ถูกต้องไม่ต่างจากตรวจสอบจากเลือด ซึ่งตามมาตรฐานแนวทางปฏิบัติขององค์การอนามัยโลกก็ชัดเจนว่าหากตรวจสอบเชื้ออีโบลาจากศพ ก็จะใช้ชิ้นเนื้อจากศพในการตรวจสอบอยู่แล้ว ซึ่งการตรวจสอบชิ้นเนื้อของนักท่องเที่ยวชาวอังกฤษรายนี้ก็ถือว่าใช้ชิ้นเนื้อหลายส่วนค่อนข้างมาก ผลตรวจที่ได้ถือว่าถูกต้องตามมาตรฐาน
นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับประเด็นความสะเพร่าของเจ้าหน้าที่ในการตรวจศพผู้ต้องสงสัยติดเชื้ออีโบลาโดยไม่มีการป้องกันนั้น เนื่องจากตอนเข้าไปตรวจสอบศพครั้งแรกไม่ทราบว่าผู้เสียชีวิตเป็นใคร จึงไม่ทราบว่าเดินทางมาจากประเทศเสี่ยง แต่การตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ก็ทำถูกต้องตามมาตรฐาน คือ มีการสวมถุงมือ สวมอุปกรณ์ป้องกัน และไม่สัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งโดยตรง เพราะโรคนี้ติดต่อแบบเดียวกันกับโรคเอดส์
สำหรับมาตรการการเฝ้าระวังโรคอีโบลานั้น นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัด สธ. กล่าวว่า สธ. จะยังคงมาตรการเฝ้าระวังโรคอีโบลาในผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดของโรคอย่างเข้มงวดทุกวัน ทั้งผู้เดินทางโดยเครื่องบิน ทางเรือ และทางรถยนต์ ที่ผ่านช่องทางเข้าออกประเทศทุกแห่ง ตามมาตรการที่กระทรวงกำหนดไว้ ซึ่งเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพ ในการตรวจจับการนำเชื้ออีโบลาเข้าประเทศ ส่วนความพร้อมด้านอื่นๆ เช่น การรักษาพยาบาล การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ขณะนี้กล่าวได้ว่าการเตรียมความพร้อมมีความก้าวหน้าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในจังหวัดที่มีสนามบินนานาชาติ หรือมีช่องทางเข้าออกประเทศ จำนวน 30 จังหวัด หากพบผู้ป่วยมีอาการเข้าข่ายสงสัยจะสามารถรับตัวไว้ดูแลตามแนวทางได้ทันที
นพ.โสภณ กล่าวว่า ผลการเฝ้าระวังผู้เดินทางมาจากพื้นที่ระบาดโรคอีโบลาจนถึงวันนี้ ยอดสะสมทั้งหมด 2,444 คน เฉลี่ยวันละประมาณ 26 คน ร้อยละ 96 เดินทางมาโดยเครื่องบิน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ใน กทม. และจังหวัดต่างๆ จะเฝ้าระวังติดตามอาการผู้เดินทางเหล่านี้ทุกวัน ประชาชนไทยสามารถใช้ชีวิตตามปกติ โดยไม่ต้องวิตกกังวล ผู้ป่วยโรคนี้จะแพร่เชื้อได้ เฉพาะเมื่อมีอาการป่วยแล้ว โดยอาการสำคัญคือ มีไข้สูงอย่างเฉียบพลัน ปวดศีรษะ อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลีย หรือมีเลือดออก ในขณะนี้ยังไม่พบ ผู้ติดเชื้ออีโบลาในประเทศไทย ส่วนการป้องกันโรคอีโบลา ขอให้ประชาชนไทยหลีกเลี่ยงหรือเลื่อนการเดินทางไปพื้นที่ระบาดออกไปก่อน หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามสายด่วนกรมควบคุมโรค หมายเลข 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
สำหรับสถานการณ์โรคอีโบลา ล่าสุด องค์การอนามัยโลกรายงานเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2557 พบผู้ป่วยรวม 10,141 ราย เสียชีวิต 4,922 ราย มีรายงานผู้ป่วยใน 8 ประเทศ ได้แก่ 1. กินี ป่วย 1,553 ราย เสียชีวิต 926 ราย 2. ไลบิเรีย ป่วย 4,665 ราย เสียชีวิต 2,705 ราย 3. เซียร์ราลีโอน ป่วย 3,896 ราย เสียชีวิต 1,281 ราย 4. มาลี ป่วยและเสียชีวิต 1 ราย 5. ไนจีเรีย ป่วย 20 ราย เสียชีวิต 2 ราย 6. เซเนกัล ป่วย 1 ราย 7. สเปน ป่วย 1 ราย และ 8. สหรัฐอเมริกา ป่วย 4 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยองค์การอนามัยโลก ได้ประกาศให้ประเทศเซเนกัล และไนจีเรีย เป็นพื้นที่ปลอดโรคอีโบลา เมื่อวันที่ 17 และ 20 ตุลาคม 2557 ตามลำดับ เนื่องจากไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ติดต่อกัน เป็นเวลา 42 วัน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่