ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสห่วงไทยพบผู้ป่วย “อีโบลา” แต่ชมหน่วยงานหลักรีบดำเนินการป้องกันแต่เนิ่นๆ ย้ำประชาชนอย่าเชื่อข่าวลือ ให้ยึดข้อมูลจากราชการ เตรียมประชุมผู้เชี่ยวชาญประเมินสถานการณ์และความเสี่ยง 16 ต.ค.
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและยุทธศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะควบคุมการระบาดได้ยากจากการที่ประชาชนในประเทศที่มีการระบาดไม่ให้ความร่วมมือในตอนแรก ซึ่งขณะนี้พบการระบาดนอกพื้นที่ 3 ประเทศแอฟริกาตะวันตกแล้ว รวมไปถึงมีผู้ป่วยในประเทศนอกทวีปแอฟริกาด้วย ซึ่งล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ประกาศให้เมืองเอกาเตอร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ดิอาร์คองโก) เป็นพื้นที่ระบาดเพิ่มเติมตามองคืการอนามัยโลก (WHO) สำหรับประเทศไทยก็มีความเป็นห่วงกลัวพบผู้ติดเชื้อในไทย แต่ยังดีใจที่หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักของไทยตื่นตัว และดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจะมีการหารือร่วมกันเพื่อประเมินสถานการณ์การระบาด และความเสี่ยงในประเทศ ในวันที่ 16 ต.ค. อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังกังวลอยู่ คือ ขอให้ประชาชนอย่างตื่นตระหนก ต้องรู้ให้เท่าทันโรค อย่าเชื่อข่าวลือให้ยึดข้อมูลจากรัฐเท่านั้น ยืนยันว่า รัฐไม่ได้ปิดบัง และช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหากพบสิ่งผิดปกติ คนแปลกหน้าที่มีอาการต้องสงสัยให้แจ้งต่อทางการ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสวิทยา ประธานคณะอนุกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการและยุทธศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลาค่อนข้างน่าเป็นห่วง เพราะควบคุมการระบาดได้ยากจากการที่ประชาชนในประเทศที่มีการระบาดไม่ให้ความร่วมมือในตอนแรก ซึ่งขณะนี้พบการระบาดนอกพื้นที่ 3 ประเทศแอฟริกาตะวันตกแล้ว รวมไปถึงมีผู้ป่วยในประเทศนอกทวีปแอฟริกาด้วย ซึ่งล่าสุด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ประกาศให้เมืองเอกาเตอร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (ดิอาร์คองโก) เป็นพื้นที่ระบาดเพิ่มเติมตามองคืการอนามัยโลก (WHO) สำหรับประเทศไทยก็มีความเป็นห่วงกลัวพบผู้ติดเชื้อในไทย แต่ยังดีใจที่หน่วยงานที่รับผิดชอบหลักของไทยตื่นตัว และดำเนินการตั้งแต่เนิ่นๆ
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญจะมีการหารือร่วมกันเพื่อประเมินสถานการณ์การระบาด และความเสี่ยงในประเทศ ในวันที่ 16 ต.ค. อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ยังกังวลอยู่ คือ ขอให้ประชาชนอย่างตื่นตระหนก ต้องรู้ให้เท่าทันโรค อย่าเชื่อข่าวลือให้ยึดข้อมูลจากรัฐเท่านั้น ยืนยันว่า รัฐไม่ได้ปิดบัง และช่วยเป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหากพบสิ่งผิดปกติ คนแปลกหน้าที่มีอาการต้องสงสัยให้แจ้งต่อทางการ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดเครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น