xs
xsm
sm
md
lg

ฟุ้งอบรมไม้เท้าขาวช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตคนตาบอด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

สปสช. เผยตั้งศูนย์อบรมไม้เท้าขาว สำหรับผู้พิการทางสายตาแล้วกว่า 120 แห่งทั่วประเทศ ระบุช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้พิการทางสายตา สามารถใช้ชีวิตภายนอกบ้านได้ใกล้เคียงคนปกติและปลอดภัย

ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) กล่าวว่า วันที่ 15 ต.ค. ของทุกปีเป็น “วันไม้เท้าขาวโลก” เพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงความสำคัญของผู้พิการทางสายตา ซึ่งไม้เท้าขาวถือเป็นสัญลักษณ์ของผู้พิการทางสายตา โดยตั้งแต่ปี 2553 บอร์ด สปสช. ได้มีมติให้ สปสช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินงานด้านฟื้นฟูสมรรถภาพทางการเห็นพัฒนาระบบบริการ O&M (Orientation and Mobility) หรือการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหวเพื่อให้คนพิการสายตาได้รับไม้เท้าขาวพร้อมกับการฝึกใช้ โดยการประสานงานของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โรงพยาบาล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผลของการดำเนินงานที่ผ่านมาทำให้คนพิการและครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

“ที่ผ่านมา สปสช. ได้ร่วมกับ สธ. จัดทำโครงการฝึกอบรมไม้เท้าขาว มีระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี ตั้งแต่ปี 2553 - 2558 โดยรับงบประมาณ 705.74 ล้านบาท ในการจัดตั้งศูนย์บริการเพื่อการฝึกอบรมในทุกจังหวัดจนครบ 76 จังหวัด ในปี 2556 พร้อมกันนี้ ยังได้ตั้งเป้าแจกไม้เท้าขาวให้คนตาบอดประมาณ 73,710 ราย และฝีกอบรมวิธีการใช้ไม้เท้าขาวให้คนตาบอดหลักสูตรละ 120 ชม. ใช้เวลา 20 วัน เพื่อให้คนตาบอดสามารถเดินทางไปไหนมาไหนได้ด้วยความปลอดภัย และใช้ชีวิตประจำวันได้ใกล้เคียงกับคนปกติทั่วไปให้ได้มากที่สุด ทั้งนี้ ยังร่วมมือกับวิทยาลัยราชสุดา มหาวิทยาลัยมหิดล จัดหลักสูตรอบรมครูฝึก และมีสมาคมคนตาบอด สมาคมเวชปฏิบัติต่างๆ มีหน่วยอบรมหลายแห่ง เช่น ศูนย์สิรินธร รวมทั้งกระจายไปพื้นที่ต่างๆ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ” ประธานบอร์ด สปสช. กล่าว

ด้าน นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า จากข้อมูลปี 2553 สปสช. มีจำนวนคนตาบอดในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประมาณ 80,548 คน ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 85 ไม่เคยได้รับการฟื้นฟูทักษะด้านการทำความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหว ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญของกระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการมองเห็น นอกจากนี้ คาดว่า ยังมีผู้พิการประมาณ 1 เท่าตัวที่ยังไม่ได้มาขึ้นทะเบียน ซึ่งได้ให้เจ้าหน้าที่ออกค้นหาต่อไป เบื้องต้นจากข้อมูลการดำเนินงานปี 2557 ณ เดือนพฤษภาคม ได้มีการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมแล้ว 121 แห่ง และอยู่ระหว่างการเดินหน้าฝึกอบรมผู้พิการทางการมองเห็น

นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า ส่วนภาพรวมในการดูแลผู้พิการในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จากข้อมูลปี 2557 มีผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 1,144,076 คน เป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว หรือทางร่างกาย 48.96% หรือ 387,838 คน ผู้พิการทางการได้ยิน 20.50% หรือ 162,727 คน ผู้พิการสติปัญญา 15.95% หรือ 126,976 คน ผู้พิการทางการมองเห็น 13.65% หรือ 108,341 คน ผู้พิการจิตใจ พฤติกรรม ออทิสติกส์ 10.45% หรือ 83,202 ราย เป็นต้น และตั้งแต่ปี 51 - 57 มีผู้พิการได้รับการสนับสนุนกายอุปกรณ์เพิ่มขึ้นจากปี 2551 อยู่ที่ 6,185 ราย หรือ 13,397 ชิ้น และในปี 2557 อยู่ที่ 21,406 ราย หรือ 40,997 ชิ้น ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์ทางการเคลื่อนไหว รองลงมาเป็นอุปกรณ์ทางการได้ยิน และการมองเห็น

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่

กำลังโหลด

เครื่อง oncothermia ความหวังใหม่รักษามะเร็งเต้านม-ตับระยะท้าย ใช้คลื่นวิทยุยิงเฉพาะจุดมะเร็งจนเกิดความร้อน เอื้อยาเคมีบำบัดเข้าถึงมะเร็งง่ายขึ้น ผลศึกษาก้แนมะเร็งเต้านมยุบทั้งหมด 22% ผู้ป่วยมะเร็งตับอายุยืนขึ้น

ดูบน Instagram





กำลังโหลดความคิดเห็น