xs
xsm
sm
md
lg

รักษาโรคไข้เลือดออกอีโบลาได้

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ศ.เกียรติคุณ ดร.วันเพ็ญ ชัยคำภา
ศ.ดร.พญ.รวงผึ้ง สุทเธนทร์
ศูนย์วิจัยการแพทย์ศิริราช (SiMR)

โรคไข้เลือดออกอีโบลายังคุกคามผู้คนอยู่ตลอด เมื่อไม่นานมานี้ศิริราชแถลง แอนติบอดีสายเดี่ยวรักษาอีโบลาได้

แอนติบอดีคือ โปรตีนชนิดหนึ่งที่สร้างจากระบบภูมิคุ้มกันต้านทานโรคของมนุษย์ ซึ่งจะผลิตจากเม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ลิมโฟซัยท์บี ซึ่งแอนติบอดีจะถูกสร้างขึ้นประมาณ 7-10 วัน หลังจากที่ร่างกายได้รับเชื้อหรือสิ่งแปลกปลอมเข้าไป แต่หากเชื้อหรือพิษบางอย่างที่ร่างกายได้รับก่ออาการรุนแรงและเร็วมาก ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีออกมาได้ไม่ทัน ก็มักจะเสียชีวิตเสียก่อน เช่น การติดเชื้อไวรัสอีโบลา กรณีนี้เราสามารถให้แอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้ออีโบลาแก่ผู้ป่วยทันที เรียกว่า ให้ภูมิคุ้มกันพร้อมใช้ หรือแอนติบอดีรักษา (Therapeutic antibody) เข้าไปสู้กับเชื้อโรคหรือสารพิษโดยตรง

แอนติบอดีจำเพาะต่อไวรัสอีโบลาที่ทีมวิจัยศิริราชผลิตขึ้นนั้น มีคุณสมบัติพิเศษที่มีขนาดเล็กกว่าแอนติ บอดีปกติ 5 เท่า ~25-35 kDa เรียกว่า แอนติบอดีสายเดี่ยว (human single chain antibodies) ผลิตจากยีนของคน จึงไม่เป็นสิ่งแปลกปลอมเมื่อเข้าสู่ร่างกายคน ซึ่งต่างจากแอนติบอดีอื่นๆ ที่ผลิตจากหนูทดลอง หรือสัตว์ใหญ่ เช่น ม้า เป็นต้น และผู้ที่ได้รับแอนติบอดีจะมีภูมิต้านทานทันทีโดยไม่ต้องรอ 7-10 วัน เหมือนการฉีดวัคซีนทั่วไป

โดยที่แอนติบอดีนี้มีความจำเพาะต่อโปรตีนของไวรัสอีโบลา ชนิด จีพีหนึ่ง-จีพีสอง นิวคลีโอโปรตีน (NP) ไวรัสโปรตีน-๔๐ (VP40) ไวรัสโปรตีน-๓๕ (VP35) ซึ่งจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของโปรตีนสำคัญของไวรัสอีโบลา ทำให้ไวรัสไม่สามารถเพิ่มจำนวนในร่างกายของผู้ติดเชื้อและก่ออาการรุนแรงได้ เช่น ถ้ายับยั้งจีพีหนึ่ง ไวรัสก็จะเข้าเซลล์ไม่ได้ ยับยั้งจีพีสอง ไวรัสก็ไม่สามารถออกจากกระเปาะที่หุ้มเพื่อออกไปเพิ่มจำนวนในไซโทพลาซึมได้ ยับยั้งไวรัสโปรตีน-๓๕ จะทำให้ไวรัสกดภูมิคุ้มกันของโฮสท์ไม่ได้และเพิ่มจำนวนไม่ได้ และถ้ายับยั้งไวรัสโปรตีน-๔๐ ก็จะทำให้ไวรัสที่เพิ่มจำนวนแล้ว ประกอบร่างเป็นไวรัสรุ่นลูกตัวใหม่ไม่ได้และออกจากเซลล์เพื่อแพร่ไปยังเซลล์อื่นต่อไปไม่ได้

หลักการใช้แอนติบอดียับยั้งไวรัสอีโบลา โดยผลิตโปรตีนของไวรัสฯ จากยีนสังเคราะห์ ซึ่งใช้ลำดับเบสอ้างอิงของยีนของเชื้อไวรัสอีโบลาที่ระบาดอยู่ขณะนี้เป็นต้นแบบจากธนาคารพันธุกรรม จากนั้นนำโปรตีนสังเคราะห์แต่ละชนิดนั้นไปตรึงบนพื้นผิวพลาสติก คัดเลือกด้วยไวรัสของแบคทีเรีย (ฟาจ) จากคลัง (Library) ที่มีอยู่ โดยนำยีนของคนที่ทำหน้าที่สร้างแอนติบอดีไปใส่ไว้ในยีนของฟาจ ดังนั้นฟาจแต่ละอนุภาคจะมีแอนติบอดีของคนหนึ่งชนิดปรากฏอยู่บนผิว เหมือนลิมโฟซัยท์บีหนึ่งเซลล์ เมื่อเติมคลังฟาจลงบนโปรตีนของไวรัสอีโบลาที่ตรึงไว้ ฟาจที่มีแอนติบอดีจำเพาะต่อโปรตีนนั้นๆ ก็จะจับกับโปรตีน จากนั้นนำฟาจที่จับกับโปรตีนของไวรัสอีโบลาไปใส่ในแบคทีเรียชนิดพิเศษ แล้วนำแบคทีเรียไปเพาะเลี้ยงพร้อมเหนี่ยวนำให้ผลิตแอนติบอดีจากยีนที่ฝากไว้ในฟาจ แล้วทำการแยกแอนติบอดีออกมาจากแบคทีเรีย โดยไม่ให้มีโปรตีนของแบคทีเรียปนเปื้อน ก็จะได้แอนติบอดีจำเพาะต่อโปรตีนของไวรัสอีโบลาที่เป็นแอนติบอดีของมนุษย์

อย่างไรก็ดี แอนติบอดีต้นแบบเหล่านี้ ศิริราชยังผลิตได้น้อยในห้องปฏิบัติการวิจัย คาดว่าในกรณีจำเป็นและผลิตเพื่อใช้รักษา จะขอความร่วมมือจากสยามไบโอไซเอ็นซ์ ให้ผลิตในปริมาณมากขึ้นด้วยมาตรฐาน GMP เพื่อการทดลองในสัตว์และจดทะเบียนเป็นยาใหม่ต่อไป

ทั้งนี้ ต้นแบบแอนติบอดีเหล่านี้ได้ยื่นจดสิทธิบัตรแล้ว ซึ่งสิทธิทั้งหมดเป็นของ คณะแพทย ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

                                                           พบกิจกรรมดีๆ ที่ศิริราช

ชวนเที่ยว Siriraj Palliative Care Day

ศูนย์บริรักษ์ รพ.ศิริราช ขอเชิญบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไป ร่วมงาน Siriraj Palliative Care Day 2014 ในหัวข้อ Who cares? We do! “ดูแลจากใจ ด้วยสายใยแห่งรัก” พร้อมฟังปาฐกถาเกียรติยศ สุมาลี นิมมานนิตย์ เรื่อง “Providing Whole Person Care : the Palliative Care Way” วันที่ 15 - 17 ตุลาคมนี้ เวลา 08.30-16.00 น. ณ ห้องประชุมราชปนัดดาสิรินธร อาคารศรีสวรินทิรา ชั้ น 1 สอบถาม โทร. 02 419 9679 - 80

ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่




กำลังโหลด


รุ่นพี่เทคโนฯสวนนันขอขมาอธิการบดี กรณีหยดน้ำตาเทียนใส่รุ่นน้อง ขณะที่ผลสอบวินัยสั่งลงโทษไม่ร้ายแรง ตักเตือน 23 คน ภาคทัณฑ์ 10 คน ตัดคะแนนความประพฤติอีก 10 คน

ดูบน Instagram






กำลังโหลดความคิดเห็น