สปสช. เผยบริหารกองทุนรักษาพยาบาล อปท. 1 ปี ช่วยข้าราชการท้องถิ่นเข้าถึงการรักษา ลดภาระค่าใช้จ่าย ระบุเบิกจ่ายชดเชยกองทุนเพียง 3.2 พันล้านบาท น้อยกว่าเงินที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นตั้งไว้เกือบพันล้านบาท
วันนี้ (7 ต.ค.) นพ.ชูชัย ศรชำนิ ประธานกลุ่มภารกิจสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังดูงาน “การคุ้มครองสวัสดิการรักษาพยาบาล อปท.” ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน หลัง สปสช.ได้ทำหน้าที่บริหารกองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัว (กองทุนรักษาพยาบาล อปท.) ว่า หลังจากประกาศนโยบายจัดตั้งกองทุนรักษาพยาบาล อปท. เพื่อให้ข้าราชการพนักงานท้องถิ่นและครอบครัวเข้าถึงการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยเริ่มแต่วันที่ 1 ต.ค. 2556 ซึ่งการดำเนินงานช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีผู้มีสิทธิ อปท. 702,939 ราย เป็นผู้ลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง 426,580 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 60.69 ของจำนวนผู้มีสิทธิ
นพ.ชูชัย กล่าวว่า ส่วนข้อมูลการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการ แยกเป็น 1. กรณีการเบิกจ่ายตรงสิทธิ อปท. เป็นจำนวนเงิน 2,730 ล้านบาท เป็นการรับบริการผู้ป่วยนอก 1,345,957 ครั้ง และบริการผู้ป่วยใน 67,966 ครั้ง 2. กรณีการเบิกจ่ายด้วยใบเสร็จ เป็นจำนวนเงิน 298 ล้านบาท จากการเบิกจ่าย 198,301 ครั้ง เป็นการรับบริการผู้ป่วยนอก 196,856 ครั้ง และผู้ป่วยใน 1,445 ครั้ง และ 3. กรณีการฟอกเลือดล้างไตและค่ายากระตุ้นเม็ดเลือดกรณีไตวายเรื้อรัง เป็นจำนวนเงิน 234 ล้านบาท จากจำนวนผู้เข้ารับบริการ 1,408 ราย ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้ง 3 รายการ แล้วเป็นจำนวนเงินที่เบิกจ่ายชดเชยทั้งสิ้นกว่า 3,264 ล้านบาท โดยเป็นจำนวนเงินที่ต่ำกว่ากรมส่งเสริมการปกครองตั้งไว้ในช่วงแรก 4,061 ล้านบาท และได้มีการกันงบประมาณไว้ในกรณีไม่เพียงพออีกกว่า 3,000 ล้านบาท
นพ.ชูชัย กล่าวว่า ส่วนการดำเนินงานกองทุน อปท. พื้นที่แม่ฮ่องสอน มีผู้ลงทะเบียนผู้มีสิทธิ 3,042 ราย ลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง 2,013 ราย เข้ารับบริการรักษาพยาบาลจำนวน 1,865 ครั้ง ขณะที่มีการเบิกจ่ายชดเชยรวมทั้งสิ้น 11,475,813.4 ล้านบาท แยกเป็นเบิกจ่ายตรง 10,087,230.99 ล้านบาท และเบิกจ่ายด้วยใบเสร็จ 1,388,582.41 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการเบิกจ่ายใน อ.แม่สะเรียง 1,808,553.45 ล้านบาท
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า หลัง สปสช. บริหารกองทุน อปท. ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แม้ช่วงแรกระบบจะมีปัญหาด้านต่างๆ อยู่บ้าง แต่ได้ทำการปรับแก้ไขทำให้ผู้มีสิทธิ อปท.สามารถเข้ารักษายังหน่วยบริการต่างๆ ได้ทั่วประเทศ โดย สปสช. มีช่องทางสายด่วน 1330 ที่คอยบริการตอบข้อซักถามและแก้ไขปัญหาให้กับผู้มีสิทธิกรณีที่มีปัญหาการเข้าถึงการรักษา ซึ่งข้อมูลตั้งแต่ 1 ต.ค. 2556 - 24 ก.ย. 2557 มีทั้งผู้มีสิทธิ อปท. และหน่วยบริการ ได้สอบถามผ่านช่องทาง 1330 จำนวน 13,316 ราย มีทั้งกรณีการสอบถาม การร้องทุกข์ การ้องเรียน และการประสานการใช้สิทธิ ซึ่ง สปสช. สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
นายชัยพันธ์ ภักดิ์ปาน รองนายกเทศมนตรีตำบลแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า กองทุน อปท. ไม่เพียงคุ้มครองสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล อปท. กว่า 7 แสนคน ให้เข้าถึงการรักษาเทียบเท่ากับข้าราชการส่วนกลาง ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้วย อย่างเทศบาลตำบลแม่สะเรียง ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงบพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น ประกอบกับมี สปสช. เป็นเคลียริงเฮาส์ ยังช่วยลดภาระการสำรองจ่ายของ อปท. โดยเฉพาะกลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ขณะที่ผู้มีสิทธิ อปท. มีความสะดวกในการเข้ารับการรักษาที่เพิ่มจากเดิม
“ช่วง 1 ปี หลังดำเนินนโยบายกองทุน อปท. เห็นผลชัดเจนในด้านการคุ้มครองสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะการเข้าถึงการรักษา จากแต่เดิมผู้ป่วยโรคซับซ้อนที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่างโรคมะเร็งต้องหาเงินมาจ่ายค่ารักษาและค่อยนำใบเสร็จมาเบิกจ่ายภายหลัง ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีเงินและต้องไม่กู้หนี้ยืมสินเพื่อนำมาจ่าย ขณะที่ อปท. บางแห่ง มีการกันงบค่ารักษาพยาบาลที่จำกัดทำให้เบิกจ่ายไม่ได้ แต่เมื่อรวมเป็นกองทุนรักษาพยาบาล อปท. ที่เป็นการกันเงินค่ารักษาพยาบาลของ อปท. ทั่วประเทศไว้ที่ส่วนกลางทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป” นายชัยพันธ์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ต.ค.) นพ.ชูชัย ศรชำนิ ประธานกลุ่มภารกิจสนับสนุนเครือข่ายระบบบริการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังดูงาน “การคุ้มครองสวัสดิการรักษาพยาบาล อปท.” ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน หลัง สปสช.ได้ทำหน้าที่บริหารกองทุนรักษาพยาบาลข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่นและครอบครัว (กองทุนรักษาพยาบาล อปท.) ว่า หลังจากประกาศนโยบายจัดตั้งกองทุนรักษาพยาบาล อปท. เพื่อให้ข้าราชการพนักงานท้องถิ่นและครอบครัวเข้าถึงการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง โดยเริ่มแต่วันที่ 1 ต.ค. 2556 ซึ่งการดำเนินงานช่วง 1 ปีที่ผ่านมา พบว่า มีผู้มีสิทธิ อปท. 702,939 ราย เป็นผู้ลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง 426,580 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 60.69 ของจำนวนผู้มีสิทธิ
นพ.ชูชัย กล่าวว่า ส่วนข้อมูลการเบิกจ่ายชดเชยค่าบริการ แยกเป็น 1. กรณีการเบิกจ่ายตรงสิทธิ อปท. เป็นจำนวนเงิน 2,730 ล้านบาท เป็นการรับบริการผู้ป่วยนอก 1,345,957 ครั้ง และบริการผู้ป่วยใน 67,966 ครั้ง 2. กรณีการเบิกจ่ายด้วยใบเสร็จ เป็นจำนวนเงิน 298 ล้านบาท จากการเบิกจ่าย 198,301 ครั้ง เป็นการรับบริการผู้ป่วยนอก 196,856 ครั้ง และผู้ป่วยใน 1,445 ครั้ง และ 3. กรณีการฟอกเลือดล้างไตและค่ายากระตุ้นเม็ดเลือดกรณีไตวายเรื้อรัง เป็นจำนวนเงิน 234 ล้านบาท จากจำนวนผู้เข้ารับบริการ 1,408 ราย ทั้งนี้ เมื่อรวมทั้ง 3 รายการ แล้วเป็นจำนวนเงินที่เบิกจ่ายชดเชยทั้งสิ้นกว่า 3,264 ล้านบาท โดยเป็นจำนวนเงินที่ต่ำกว่ากรมส่งเสริมการปกครองตั้งไว้ในช่วงแรก 4,061 ล้านบาท และได้มีการกันงบประมาณไว้ในกรณีไม่เพียงพออีกกว่า 3,000 ล้านบาท
นพ.ชูชัย กล่าวว่า ส่วนการดำเนินงานกองทุน อปท. พื้นที่แม่ฮ่องสอน มีผู้ลงทะเบียนผู้มีสิทธิ 3,042 ราย ลงทะเบียนเบิกจ่ายตรง 2,013 ราย เข้ารับบริการรักษาพยาบาลจำนวน 1,865 ครั้ง ขณะที่มีการเบิกจ่ายชดเชยรวมทั้งสิ้น 11,475,813.4 ล้านบาท แยกเป็นเบิกจ่ายตรง 10,087,230.99 ล้านบาท และเบิกจ่ายด้วยใบเสร็จ 1,388,582.41 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการเบิกจ่ายใน อ.แม่สะเรียง 1,808,553.45 ล้านบาท
ทพ.อรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ โฆษก สปสช. กล่าวว่า หลัง สปสช. บริหารกองทุน อปท. ช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แม้ช่วงแรกระบบจะมีปัญหาด้านต่างๆ อยู่บ้าง แต่ได้ทำการปรับแก้ไขทำให้ผู้มีสิทธิ อปท.สามารถเข้ารักษายังหน่วยบริการต่างๆ ได้ทั่วประเทศ โดย สปสช. มีช่องทางสายด่วน 1330 ที่คอยบริการตอบข้อซักถามและแก้ไขปัญหาให้กับผู้มีสิทธิกรณีที่มีปัญหาการเข้าถึงการรักษา ซึ่งข้อมูลตั้งแต่ 1 ต.ค. 2556 - 24 ก.ย. 2557 มีทั้งผู้มีสิทธิ อปท. และหน่วยบริการ ได้สอบถามผ่านช่องทาง 1330 จำนวน 13,316 ราย มีทั้งกรณีการสอบถาม การร้องทุกข์ การ้องเรียน และการประสานการใช้สิทธิ ซึ่ง สปสช. สามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
นายชัยพันธ์ ภักดิ์ปาน รองนายกเทศมนตรีตำบลแม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน กล่าวว่า กองทุน อปท. ไม่เพียงคุ้มครองสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล อปท. กว่า 7 แสนคน ให้เข้าถึงการรักษาเทียบเท่ากับข้าราชการส่วนกลาง ยังช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้วย อย่างเทศบาลตำบลแม่สะเรียง ส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารงบพัฒนาท้องถิ่นมากขึ้น ประกอบกับมี สปสช. เป็นเคลียริงเฮาส์ ยังช่วยลดภาระการสำรองจ่ายของ อปท. โดยเฉพาะกลุ่มโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง ขณะที่ผู้มีสิทธิ อปท. มีความสะดวกในการเข้ารับการรักษาที่เพิ่มจากเดิม
“ช่วง 1 ปี หลังดำเนินนโยบายกองทุน อปท. เห็นผลชัดเจนในด้านการคุ้มครองสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการพนักงานส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะการเข้าถึงการรักษา จากแต่เดิมผู้ป่วยโรคซับซ้อนที่มีค่าใช้จ่ายสูงอย่างโรคมะเร็งต้องหาเงินมาจ่ายค่ารักษาและค่อยนำใบเสร็จมาเบิกจ่ายภายหลัง ซึ่งมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีเงินและต้องไม่กู้หนี้ยืมสินเพื่อนำมาจ่าย ขณะที่ อปท. บางแห่ง มีการกันงบค่ารักษาพยาบาลที่จำกัดทำให้เบิกจ่ายไม่ได้ แต่เมื่อรวมเป็นกองทุนรักษาพยาบาล อปท. ที่เป็นการกันเงินค่ารักษาพยาบาลของ อปท. ทั่วประเทศไว้ที่ส่วนกลางทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป” นายชัยพันธ์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดรุ่นพี่เทคโนฯสวนนันขอขมาอธิการบดี กรณีหยดน้ำตาเทียนใส่รุ่นน้อง ขณะที่ผลสอบวินัยสั่งลงโทษไม่ร้ายแรง ตักเตือน 23 คน ภาคทัณฑ์ 10 คน ตัดคะแนนความประพฤติอีก 10 คน