นายกฯ ชวนคนไทยเลิกดื่มเหล้าต่อเนื่องยาวหลังออกพรรษา หวังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน สสส.- สคล. รับลูกจัดกิจกรรมสร้างกำลังใจ ระบุส่วนใหญ่ลดเหล้าเข้าพรรษาสำเร็จ เหตุสิ้นเปลือง เสียสุขภาพ ห่วงคนติดเหล้าอายุเฉลี่ยลดลง 20 - 30 ปี ด้านหมอสถาบัญธัญญารักษ์เผยคนติดเหล้าอายุ 40 - 45 ปี แห่รักษาตัวบำบัดมากสุด
วันนี้ (6 ต.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่โรงแรมเอบีน่าเฮาส์ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสถาบันธัญญารักษ์ จัดกิจกรรมรณรงค์ “สร้างกำลังใจ..สู้ต่อไปงดเหล้าออกพรรษา” โดยภายในงานมีกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “เซียนเหล้า ล้างมือในอ่างทองคำประกาศเลิกเหล้า”
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการ สคล. กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ชื่นชมคนที่งดเหล้างดอบายมุขช่วงเข้าพรรษา ในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา และเชิญชวนให้งดต่อไป เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน กิจกรรมรณรงค์ในครั้งนี้จึงเป็นการให้กำลังใจผู้ที่ตั้งใจจะงดเหล้าครบพรรษาและสู้ต่อไปหลังจากออกพรรษา นำไปสู่การเลิกดื่มระยะยาว เพื่อตัวเอง ครอบครัว และคนรอบข้าง ทั้งนี้ ภาพรวมกิจกรรม “ชวน ช่วย ให้กำลังใจ คนไทยงดเหล้าครบพรรษา” ที่ผ่านมา เห็นชัดเจนว่า นักดื่มส่วนหนึ่งที่เลิกดื่มช่วงเข้าพรรษาได้ มีความตั้งใจลดการดื่มหลังออกพรรษา เพราะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียสุขภาพ ที่สำคัญ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีเงินเก็บ สอดคล้องกับข้อมูลศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ระบุว่า การเลิกสุราจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 1,312 บาทต่อเดือนต่อคน ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยควักกระเป๋าซื้อเหล้าปีละกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งยังไม่นับความสูญเสียที่เกิดจากการดื่ม
นายธีระ กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจระบาดวิทยาระดับชาติครั้งล่าสุด พบว่า จากเดิมผู้ติดเหล้าเฉลี่ยมีอายุ 30-45 ปีขึ้นไป ลดเหลือเพียง 20-30 ปี ภาพรวมมีผู้ติดสุราราว 4.3 ล้านคน 1 ใน 4 หรือกว่า 1 ล้านคน เป็นคนอายุ 15-25 ปี ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคเรื้อรังหลายชนิด ดังนั้น การรณรงค์จึงต้องทำต่อเนื่องครอบคลุมทุกจังหวัด ซึ่งแต่ละพื้นที่จะเน้นกิจกรรมชวนเพื่อน ครอบครัว และญาติเลิกดื่มสุรา คาดว่า ออกพรรษานี้จะมีหลายครอบครัวที่พร้อมใจลดละเลิกและขอเชิญชวนผู้ที่งดเหล้าครบพรรษา 3 เดือน ให้เข้มแข็งและงดต่อเนื่องเพื่อสุขภาพและคนที่เรารัก
พญ.ริชาพรรณ ชูแกล้ว นายแพทย์ชำนาญการ สถาบันธัญญารักษ์ กล่าวว่า สุราถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง คนไข้ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาด้วยโรคที่เกิดจากสุรามีอายุ 40-45 ปี อายุมากสุดคือ 80 ปี อายุน้อยสุด 23 ปี ส่วนการบำบัดรักษามี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. เตรียมการก่อนรักษา เป็นกระบวนการชักจูงคนไข้ให้เข้าสู่การรักษา 2. รักษาภาวะถอน ได้แก่ อาการสั่น นอนไม่หลับ สับสน ประสาทหลอน หรือชักเกร็ง 3. บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการรักษาภาวะติดสุราโดยตรง เพื่อให้คนไข้สามารถหยุดดื่มไม่กลับไปใช้ซ้ำ และ 4. ติดตามการรักษา เพื่อช่วยประคับประคองให้หยุดได้ต่อเนื่อง หากมีการกลับไปดื่มซ้ำจะได้รักษาได้ทันท่วงที สำหรับภาวะแทรกซ้อนในคนไข้ที่ติดสุรา มีทั้งอาการทางกาย เช่น ชักเกร็ง สมองเสื่อม หัวใจเต้นผิดปกติ เลือดออกทางเดินอาหาร ตับวาย ตับอ่อนอักเสบ บางรายถึงขั้นเสียชีวิต และอาการทางจิต เช่น ความผิดปกติทางอารมณ์ ก้าวร้าว ซึมเศร้า สูญเสียความจำ หูแว่ว ประสาทหลอน คนไข้แต่ละรายมีอาการและการรักษาต่างกัน หากผู้ดื่มแอลกอฮอล์กำลังตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ ทำให้มีพัฒนาการผิดปกติ
“สาเหตุที่ทำให้ติดสุรามีหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม สังคม การเป็นแบบอย่าง การเข้าถึงง่าย ภาวะทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า เครียด เมื่อดื่มเข้าไปแรกๆ อาจทำให้อารมณ์ดีขึ้น รู้สึกดีขึ้น จนเกิดการใช้ซ้ำบ่อยๆ เมื่อดื้อต่อแอลกอฮอล์ในสมอง ต้องเพิ่มปริมาณทำให้ติดสุราในที่สุด อย่างไรก็ตาม คนไข้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บำบัดฟื้นฟู สร้างวงจรในสมองใหม่เพื่อไม่ให้กลับไปดื่มซ้ำ และฝากคำแนะนำสำหรับผู้ที่หยุดดื่ม หากต้องการหยุดได้ต่อเนื่องต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้นึกถึง ส่วนผู้ที่ยังดื่มอยู่อยากให้ลองเปรียบเทียบระหว่างข้อดีข้อเสียของการดื่ม แม้จะยังไม่เกิดผลกระทบกับตัวเองตอนนี้ แต่ในอนาคตหากเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ตับแข็งตับวาย สมองเสื่อม อุบัติเหตุ อัมพฤกษ์อัมพาต เป็นต้น ทั้งนี้หากต้องการเลิกดื่มสุรา สามารถปรึกษาแพทย์ใกล้บ้านหรือสายด่วนสถาบันธัญญารักษ์ โทร.1165” พญ.ริชาพรรณ กล่าว
ด้าน น.ส.สายทอง ฤกษ์สระ อายุ 47 ปี อาชีพขายอาหารในโรงเรียนย่านท่าพระ กรุงเทพฯ เล่าประสบการณ์ติดสุรา ว่า เริ่มดื่มตั้งแต่อายุ 16 ปี ช่วงวัยรุ่นอยากรู้อยากลอง ชอบสังสรรค์ มักซื้อสุราสีมาดื่มกับเพื่อนเป็นประจำ เพราะหาซื้อง่ายมีขายอยู่ทั่วไปตามร้านค้า จากนั้นเริ่มหันมาดื่มยาดอง ดื่มหนักขึ้นเรื่อยๆ พออายุ 20 ปี เข้าสู่วัยทำงานดื่มทุกวันทั้งเช้าเย็นจนติด ที่หนักสุดดื่มติดต่อกัน 1 เดือนโดยที่ไม่ทานข้าวเลย กระทั่งต้องออกจากงาน พอร่างกายไม่ไหว อาเจียน พี่สาวพาส่งโรงพยาบาล หมอระบุว่าเป็นตับอ่อนอักเสบ สาเหตุเพราะดื่มสุรา นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 3 วัน เมื่อออกจากโรงพยาบาลได้ไม่นาน ก็กลับมาดื่มซ้ำ เพราะคิดว่าดื่มแล้วมีแรง กระปรี้กระเปร่า ดื่มนิดเดียวคงไม่เป็นไร สุดท้ายเพิ่มปริมาณการดื่มขึ้นเรื่อยๆ จนติด
“เมื่อมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เข้ามาให้คำแนะนำช่วยเหลือ และพาไปรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์ ถูกเจ้าหน้าที่กักบริเวณ 20 วัน ต้องทานยาก่อนและหลังอาหาร 3 เวลา ทำกิจกรรมออกกำลังกายทุกวัน ตอนนั้นรู้สึกดีขึ้นและไม่คิดกลับไปดื่มอีกแล้ว แต่พอออกจากโรงพยาบาลก็กลับมาดื่มซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 3 จนพี่สาวเริ่มรับไม่ได้ ทะเลาะกันเป็นประจำ ข้างบ้านดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีใครอยากคบหา เมื่อบ่อยครั้งเข้าเริ่มรู้สึกว่าชีวิตไม่มีคุณค่า ไม่มีความสุข จึงคิดอยากจะเลิกดื่ม ทางมูลนิธิฯเลยแนะนำหาแนวทางให้เลิก จนกระทั่งตัดสินใจหักดิบ และอดทนจนตอนนี้เลิกดื่มได้ 2 เดือนแล้ว ช่วงแรกๆแม้จะมีอาการขาสั่นคลื่นไส้ อยากสุรา แต่พยายามฝืนความรู้สึกจนเอาชนะใจตัวเองได้ในที่สุด” น.ส.สายทอง กล่าว
น.ส.สายทอง กล่าวว่า เมื่อย้อนคิดถึงช่วงที่ติดสุรา รู้สึกขยาดมาก เพราะเกือบเอาชีวิตไม่รอด เสียทั้งสุขภาพ หมดตัว ตกงาน คนใกล้ชิดไม่อยากยุ่งเกี่ยว ต่อไปนี้สัญญากับตัวเองว่าจะไม่ตกเป็นทาสสุรา ต้องขอบคุณมูลนิธิ และพี่สาวที่คอยให้กำลังใจจนกลับมาเป็นผู้เป็นคนได้ ชีวิตตอนนี้ดีขึ้น มีเงินเก็บ มีงานทำ พี่สาวมีความสุขมากขึ้น อยากฝากเป็นอุทาหรณ์กับสังคมว่า ขอให้คนที่ดื่ม ดูผลกระทบที่ตนได้รับมาเกือบทั้งชีวิต แล้วเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ควรเลิกดื่มและหันมาเลือกสิ่งที่ดีให้กับชีวิตตัวเอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 ต.ค.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่โรงแรมเอบีน่าเฮาส์ สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า (สคล.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล และสถาบันธัญญารักษ์ จัดกิจกรรมรณรงค์ “สร้างกำลังใจ..สู้ต่อไปงดเหล้าออกพรรษา” โดยภายในงานมีกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “เซียนเหล้า ล้างมือในอ่างทองคำประกาศเลิกเหล้า”
นายธีระ วัชรปราณี ผู้จัดการ สคล. กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ชื่นชมคนที่งดเหล้างดอบายมุขช่วงเข้าพรรษา ในรายการ “คืนความสุขให้คนในชาติ” เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ผ่านมา และเชิญชวนให้งดต่อไป เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กและเยาวชน กิจกรรมรณรงค์ในครั้งนี้จึงเป็นการให้กำลังใจผู้ที่ตั้งใจจะงดเหล้าครบพรรษาและสู้ต่อไปหลังจากออกพรรษา นำไปสู่การเลิกดื่มระยะยาว เพื่อตัวเอง ครอบครัว และคนรอบข้าง ทั้งนี้ ภาพรวมกิจกรรม “ชวน ช่วย ให้กำลังใจ คนไทยงดเหล้าครบพรรษา” ที่ผ่านมา เห็นชัดเจนว่า นักดื่มส่วนหนึ่งที่เลิกดื่มช่วงเข้าพรรษาได้ มีความตั้งใจลดการดื่มหลังออกพรรษา เพราะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เสียสุขภาพ ที่สำคัญ มีคุณภาพชีวิตดีขึ้น มีเงินเก็บ สอดคล้องกับข้อมูลศูนย์วิจัยปัญหาสุรา (ศวส.) ระบุว่า การเลิกสุราจะประหยัดค่าใช้จ่ายได้ 1,312 บาทต่อเดือนต่อคน ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยควักกระเป๋าซื้อเหล้าปีละกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งยังไม่นับความสูญเสียที่เกิดจากการดื่ม
นายธีระ กล่าวว่า จากข้อมูลการสำรวจระบาดวิทยาระดับชาติครั้งล่าสุด พบว่า จากเดิมผู้ติดเหล้าเฉลี่ยมีอายุ 30-45 ปีขึ้นไป ลดเหลือเพียง 20-30 ปี ภาพรวมมีผู้ติดสุราราว 4.3 ล้านคน 1 ใน 4 หรือกว่า 1 ล้านคน เป็นคนอายุ 15-25 ปี ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโรคเรื้อรังหลายชนิด ดังนั้น การรณรงค์จึงต้องทำต่อเนื่องครอบคลุมทุกจังหวัด ซึ่งแต่ละพื้นที่จะเน้นกิจกรรมชวนเพื่อน ครอบครัว และญาติเลิกดื่มสุรา คาดว่า ออกพรรษานี้จะมีหลายครอบครัวที่พร้อมใจลดละเลิกและขอเชิญชวนผู้ที่งดเหล้าครบพรรษา 3 เดือน ให้เข้มแข็งและงดต่อเนื่องเพื่อสุขภาพและคนที่เรารัก
พญ.ริชาพรรณ ชูแกล้ว นายแพทย์ชำนาญการ สถาบันธัญญารักษ์ กล่าวว่า สุราถือเป็นสารเสพติดชนิดหนึ่ง คนไข้ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาด้วยโรคที่เกิดจากสุรามีอายุ 40-45 ปี อายุมากสุดคือ 80 ปี อายุน้อยสุด 23 ปี ส่วนการบำบัดรักษามี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1. เตรียมการก่อนรักษา เป็นกระบวนการชักจูงคนไข้ให้เข้าสู่การรักษา 2. รักษาภาวะถอน ได้แก่ อาการสั่น นอนไม่หลับ สับสน ประสาทหลอน หรือชักเกร็ง 3. บำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพ เป็นการรักษาภาวะติดสุราโดยตรง เพื่อให้คนไข้สามารถหยุดดื่มไม่กลับไปใช้ซ้ำ และ 4. ติดตามการรักษา เพื่อช่วยประคับประคองให้หยุดได้ต่อเนื่อง หากมีการกลับไปดื่มซ้ำจะได้รักษาได้ทันท่วงที สำหรับภาวะแทรกซ้อนในคนไข้ที่ติดสุรา มีทั้งอาการทางกาย เช่น ชักเกร็ง สมองเสื่อม หัวใจเต้นผิดปกติ เลือดออกทางเดินอาหาร ตับวาย ตับอ่อนอักเสบ บางรายถึงขั้นเสียชีวิต และอาการทางจิต เช่น ความผิดปกติทางอารมณ์ ก้าวร้าว ซึมเศร้า สูญเสียความจำ หูแว่ว ประสาทหลอน คนไข้แต่ละรายมีอาการและการรักษาต่างกัน หากผู้ดื่มแอลกอฮอล์กำลังตั้งครรภ์จะส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ ทำให้มีพัฒนาการผิดปกติ
“สาเหตุที่ทำให้ติดสุรามีหลายปัจจัย ทั้งพันธุกรรม สังคม การเป็นแบบอย่าง การเข้าถึงง่าย ภาวะทางอารมณ์ เช่น ซึมเศร้า เครียด เมื่อดื่มเข้าไปแรกๆ อาจทำให้อารมณ์ดีขึ้น รู้สึกดีขึ้น จนเกิดการใช้ซ้ำบ่อยๆ เมื่อดื้อต่อแอลกอฮอล์ในสมอง ต้องเพิ่มปริมาณทำให้ติดสุราในที่สุด อย่างไรก็ตาม คนไข้จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม บำบัดฟื้นฟู สร้างวงจรในสมองใหม่เพื่อไม่ให้กลับไปดื่มซ้ำ และฝากคำแนะนำสำหรับผู้ที่หยุดดื่ม หากต้องการหยุดได้ต่อเนื่องต้องหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้นึกถึง ส่วนผู้ที่ยังดื่มอยู่อยากให้ลองเปรียบเทียบระหว่างข้อดีข้อเสียของการดื่ม แม้จะยังไม่เกิดผลกระทบกับตัวเองตอนนี้ แต่ในอนาคตหากเกิดขึ้นแล้วไม่สามารถแก้ไขได้ เช่น ตับแข็งตับวาย สมองเสื่อม อุบัติเหตุ อัมพฤกษ์อัมพาต เป็นต้น ทั้งนี้หากต้องการเลิกดื่มสุรา สามารถปรึกษาแพทย์ใกล้บ้านหรือสายด่วนสถาบันธัญญารักษ์ โทร.1165” พญ.ริชาพรรณ กล่าว
ด้าน น.ส.สายทอง ฤกษ์สระ อายุ 47 ปี อาชีพขายอาหารในโรงเรียนย่านท่าพระ กรุงเทพฯ เล่าประสบการณ์ติดสุรา ว่า เริ่มดื่มตั้งแต่อายุ 16 ปี ช่วงวัยรุ่นอยากรู้อยากลอง ชอบสังสรรค์ มักซื้อสุราสีมาดื่มกับเพื่อนเป็นประจำ เพราะหาซื้อง่ายมีขายอยู่ทั่วไปตามร้านค้า จากนั้นเริ่มหันมาดื่มยาดอง ดื่มหนักขึ้นเรื่อยๆ พออายุ 20 ปี เข้าสู่วัยทำงานดื่มทุกวันทั้งเช้าเย็นจนติด ที่หนักสุดดื่มติดต่อกัน 1 เดือนโดยที่ไม่ทานข้าวเลย กระทั่งต้องออกจากงาน พอร่างกายไม่ไหว อาเจียน พี่สาวพาส่งโรงพยาบาล หมอระบุว่าเป็นตับอ่อนอักเสบ สาเหตุเพราะดื่มสุรา นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล 3 วัน เมื่อออกจากโรงพยาบาลได้ไม่นาน ก็กลับมาดื่มซ้ำ เพราะคิดว่าดื่มแล้วมีแรง กระปรี้กระเปร่า ดื่มนิดเดียวคงไม่เป็นไร สุดท้ายเพิ่มปริมาณการดื่มขึ้นเรื่อยๆ จนติด
“เมื่อมูลนิธิหญิงชายก้าวไกล เข้ามาให้คำแนะนำช่วยเหลือ และพาไปรักษาที่สถาบันธัญญารักษ์ ถูกเจ้าหน้าที่กักบริเวณ 20 วัน ต้องทานยาก่อนและหลังอาหาร 3 เวลา ทำกิจกรรมออกกำลังกายทุกวัน ตอนนั้นรู้สึกดีขึ้นและไม่คิดกลับไปดื่มอีกแล้ว แต่พอออกจากโรงพยาบาลก็กลับมาดื่มซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 3 จนพี่สาวเริ่มรับไม่ได้ ทะเลาะกันเป็นประจำ ข้างบ้านดูถูกเหยียดหยาม ไม่มีใครอยากคบหา เมื่อบ่อยครั้งเข้าเริ่มรู้สึกว่าชีวิตไม่มีคุณค่า ไม่มีความสุข จึงคิดอยากจะเลิกดื่ม ทางมูลนิธิฯเลยแนะนำหาแนวทางให้เลิก จนกระทั่งตัดสินใจหักดิบ และอดทนจนตอนนี้เลิกดื่มได้ 2 เดือนแล้ว ช่วงแรกๆแม้จะมีอาการขาสั่นคลื่นไส้ อยากสุรา แต่พยายามฝืนความรู้สึกจนเอาชนะใจตัวเองได้ในที่สุด” น.ส.สายทอง กล่าว
น.ส.สายทอง กล่าวว่า เมื่อย้อนคิดถึงช่วงที่ติดสุรา รู้สึกขยาดมาก เพราะเกือบเอาชีวิตไม่รอด เสียทั้งสุขภาพ หมดตัว ตกงาน คนใกล้ชิดไม่อยากยุ่งเกี่ยว ต่อไปนี้สัญญากับตัวเองว่าจะไม่ตกเป็นทาสสุรา ต้องขอบคุณมูลนิธิ และพี่สาวที่คอยให้กำลังใจจนกลับมาเป็นผู้เป็นคนได้ ชีวิตตอนนี้ดีขึ้น มีเงินเก็บ มีงานทำ พี่สาวมีความสุขมากขึ้น อยากฝากเป็นอุทาหรณ์กับสังคมว่า ขอให้คนที่ดื่ม ดูผลกระทบที่ตนได้รับมาเกือบทั้งชีวิต แล้วเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ควรเลิกดื่มและหันมาเลือกสิ่งที่ดีให้กับชีวิตตัวเอง
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
กำลังโหลดรุ่นพี่เทคโนฯสวนนันขอขมาอธิการบดี กรณีหยดน้ำตาเทียนใส่รุ่นน้อง ขณะที่ผลสอบวินัยสั่งลงโทษไม่ร้ายแรง ตักเตือน 23 คน ภาคทัณฑ์ 10 คน ตัดคะแนนความประพฤติอีก 10 คน