หมอชี้เคสสาวทำศัลยกรรมหน้าเรียวแพ้ยาสลบตาย อาจเป็นการผ่าตัดใหญ่ เพราะต้องใช้การดมยาสลบ ระบุต้องมีวิสัญญีแพทย์และเครื่องมือช่วยชีวิตช่วยดูแลใกล้ชิด โอกาสเกิดแพ้ยาจนตายมีต่ำ เหตุสามารถช่วยได้ทัน ห่วงหมอศัลยกรรมเสริมสวยชุบตัวเพียบ ไม่ผ่านการเรียนเฉพาะทาง ด้าน สบส. เร่งตรวจสอบ
นพ.ชลทิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีสังคมออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลพริตตี้สาวสวยคนหนึ่ง ไปทำศัลยกรรมให้ใบหน้าเรียวเป็นวีไลน์ ที่คลินิกแห่งหนึ่ง แต่สุดท้ายเกิดอาการแพ้ยาสลบ (Malignant Hyperthermia) จนเสียชีวิต ว่า ตนไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน แต่เรื่องนี้ต้องแยกออกเป็น 3 ประเด็นคือ 1. การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่บอบบางนั้น แพทย์จะแนะนำให้คนไข้ทำทีละรายการ เช่น จมูก ปาก คาง หรือกราม ซึ่งถือเป็นการผ่าตัดเล็ก แต่ถ้าทำหลายๆ อย่างพร้อมกันถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ ไม่นิยมทำพร้อมกัน เพราะเสี่ยงเกิดอาการบวมจนปิดทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม การศัลยกรรมต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง จะช่วยให้คนไข้ไม่บวมช้ำ แต่หากใช้เวลาในการผ่าตัดนานจะยิ่งทำให้เกิดอาการบวมช้ำ นอกจากนี้ หลังการผ่าตัดยังต้องมีระบบการดูแลให้ความช่วยเหลือ จึงควรทำในโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย
นพ.ชลทิศ กล่าวว่า 2. การดมยาในการผ่าตัดใหญ่ ต้องดำเนินการโดยวิสัญญีแพทย์ ซึ่งจะควบคุมปริมาณยา และดูแลคนไข้หากเกิดภาวะฉุกเฉิน โดยจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต อาทิ เครื่องมือสอดท่อช่วยหายใจ การให้ออกซิเจน การให้น้ำเกลือ ปรับความดัน เป็นต้น โดยวิสัญญีแพทย์จะดูแลระหว่างผ่าตัดไปจนถึงหลังผ่าตัด ดูแลการเต้นของหัวใจ ความดัน จนกว่าคนไข้จะปลอดภัย ซึ่งการแพ้ยาสลบมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่หากมีวิสัญญีแพทย์อยู่ร่วม โอกาสที่คนไข้จะเสียชีวิตเกิดขึ้นได้ต่ำมาก เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยกู้ชีพคนไข้ได้แม้จะแพ้ยา
นพ.ชลทิศ กล่าวว่า และ 3. ประเด็นทางสังคม ถือว่าน่าห่วงมาก โดยธุรกิจความงาม การผ่าตัดศัลยกรรมของไทยเติบโตผิดปกติ มีแพทย์เข้ามาทำวิชานี้โดยบางครั้งไปชุบตัวเกาหลี 1 - 2 เดือน ก็กลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทั้งที่ควรผ่านการฝึกอบรม ต้องได้วุฒิบัตรที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งใช้เวลาเรียน 3 ปี จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญและแก้ปัญหาในการผ่าตัด สามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้ เพราะแพทย์ก็เหมือนนักบิน หากมีชั่วโมงบินมากจะทำให้เกิดความปลอดภัยสูง
“ปัจจุบันการเรียนต่อวุฒิบัตร หรือ แพทย์เฉพาะทางมีอยู่ประมาณ 20 - 30 สาขา แพทย์ที่จะทำศัลยกรรมตกแต่งควรผ่านแพทย์เฉพาะทางสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ออโธปิดิกส์ ช่องท้อง ทรวงอก หู ตา จมูก ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น เพราะจะถูกฝึกความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด การช่วยชีวิต แต่ปัจจุบันพบว่าแค่จบแพทยศาสตร์และไปอบรมสั้นๆ 1 - 2 เดือน ก็กลับมาผ่าตัด ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคนไข้ อยากให้แพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง มิเช่นนั้นจะส่งผลเสียต่อประชาชน กระทบต่อเมดิคัล ฮับ ซึ่งการปล่อยให้เกิดลักษณะแบบนี้ที่ใช้แต่การตลาด และโซเชียลมีเดียในการเรียกลูกค้า อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนโดยรวมของประเทศจะเพิ่มขึ้นจำนวนมาก” นพ.ชลทิศ กล่าว
ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้ว โดยนายแพทย์สาธารณสุขเชียงใหม่ได้พูดคุยกับญาติผู้เสียชีวิต เพื่อขอข้อมูลเบื้องต้นแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ โดย สบส. จะได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ เครื่องมืออุปกรณ์ในการรักษาและช่วยชีวิต แพทย์ผู้ให้บริการ ว่าได้ดำเนินการตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งการผ่าตัดไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน ก็ต้องดำเนินการตามมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ชลทิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีสังคมออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลพริตตี้สาวสวยคนหนึ่ง ไปทำศัลยกรรมให้ใบหน้าเรียวเป็นวีไลน์ ที่คลินิกแห่งหนึ่ง แต่สุดท้ายเกิดอาการแพ้ยาสลบ (Malignant Hyperthermia) จนเสียชีวิต ว่า ตนไม่ทราบรายละเอียดที่ชัดเจน แต่เรื่องนี้ต้องแยกออกเป็น 3 ประเด็นคือ 1. การผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้า ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อที่บอบบางนั้น แพทย์จะแนะนำให้คนไข้ทำทีละรายการ เช่น จมูก ปาก คาง หรือกราม ซึ่งถือเป็นการผ่าตัดเล็ก แต่ถ้าทำหลายๆ อย่างพร้อมกันถือเป็นการผ่าตัดใหญ่ ไม่นิยมทำพร้อมกัน เพราะเสี่ยงเกิดอาการบวมจนปิดทางเดินหายใจ อย่างไรก็ตาม การศัลยกรรมต้องอาศัยแพทย์ที่มีประสบการณ์สูง จะช่วยให้คนไข้ไม่บวมช้ำ แต่หากใช้เวลาในการผ่าตัดนานจะยิ่งทำให้เกิดอาการบวมช้ำ นอกจากนี้ หลังการผ่าตัดยังต้องมีระบบการดูแลให้ความช่วยเหลือ จึงควรทำในโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย
นพ.ชลทิศ กล่าวว่า 2. การดมยาในการผ่าตัดใหญ่ ต้องดำเนินการโดยวิสัญญีแพทย์ ซึ่งจะควบคุมปริมาณยา และดูแลคนไข้หากเกิดภาวะฉุกเฉิน โดยจะต้องมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต อาทิ เครื่องมือสอดท่อช่วยหายใจ การให้ออกซิเจน การให้น้ำเกลือ ปรับความดัน เป็นต้น โดยวิสัญญีแพทย์จะดูแลระหว่างผ่าตัดไปจนถึงหลังผ่าตัด ดูแลการเต้นของหัวใจ ความดัน จนกว่าคนไข้จะปลอดภัย ซึ่งการแพ้ยาสลบมีโอกาสเกิดขึ้นได้ แต่หากมีวิสัญญีแพทย์อยู่ร่วม โอกาสที่คนไข้จะเสียชีวิตเกิดขึ้นได้ต่ำมาก เพราะเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยกู้ชีพคนไข้ได้แม้จะแพ้ยา
นพ.ชลทิศ กล่าวว่า และ 3. ประเด็นทางสังคม ถือว่าน่าห่วงมาก โดยธุรกิจความงาม การผ่าตัดศัลยกรรมของไทยเติบโตผิดปกติ มีแพทย์เข้ามาทำวิชานี้โดยบางครั้งไปชุบตัวเกาหลี 1 - 2 เดือน ก็กลับมาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ทั้งที่ควรผ่านการฝึกอบรม ต้องได้วุฒิบัตรที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งใช้เวลาเรียน 3 ปี จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญและแก้ปัญหาในการผ่าตัด สามารถช่วยชีวิตคนไข้ได้ เพราะแพทย์ก็เหมือนนักบิน หากมีชั่วโมงบินมากจะทำให้เกิดความปลอดภัยสูง
“ปัจจุบันการเรียนต่อวุฒิบัตร หรือ แพทย์เฉพาะทางมีอยู่ประมาณ 20 - 30 สาขา แพทย์ที่จะทำศัลยกรรมตกแต่งควรผ่านแพทย์เฉพาะทางสาขาใดสาขาหนึ่ง เช่น ออโธปิดิกส์ ช่องท้อง ทรวงอก หู ตา จมูก ทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น เพราะจะถูกฝึกความเชี่ยวชาญในการผ่าตัด การช่วยชีวิต แต่ปัจจุบันพบว่าแค่จบแพทยศาสตร์และไปอบรมสั้นๆ 1 - 2 เดือน ก็กลับมาผ่าตัด ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อคนไข้ อยากให้แพทยสภา และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) จัดการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง มิเช่นนั้นจะส่งผลเสียต่อประชาชน กระทบต่อเมดิคัล ฮับ ซึ่งการปล่อยให้เกิดลักษณะแบบนี้ที่ใช้แต่การตลาด และโซเชียลมีเดียในการเรียกลูกค้า อัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนโดยรวมของประเทศจะเพิ่มขึ้นจำนวนมาก” นพ.ชลทิศ กล่าว
ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวว่า ขณะนี้ได้ข้อมูลเบื้องต้นแล้ว โดยนายแพทย์สาธารณสุขเชียงใหม่ได้พูดคุยกับญาติผู้เสียชีวิต เพื่อขอข้อมูลเบื้องต้นแล้ว แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ โดย สบส. จะได้ดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ เครื่องมืออุปกรณ์ในการรักษาและช่วยชีวิต แพทย์ผู้ให้บริการ ว่าได้ดำเนินการตามมาตรฐานหรือไม่ ซึ่งการผ่าตัดไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาลรัฐ หรือเอกชน ก็ต้องดำเนินการตามมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่