รมต.สาธารณสุขอาเซียน หารือ “เลขาธิการ สปสช.” ในฐานะประธานเครือข่ายหลักประกันสุขภาพอาเซียน (ASEAN Plus Three UHC Network) พร้อมร่วมกำหนดขับเคลื่อน “ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ระดับประเทศ/ภูมิภาค ผ่านกลไก The ASEAN Plus Three UHC Network เน้นพัฒนาบริการปฐมภูมิ สร้างความเข็มแข็ง กระจายการเข้าถึงการรักษา เตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ปี 2558
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการเตรียมการของเครือข่ายหลักประกันสุขภาพในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ASEAN Plus Three UHC Network) เปิดเผยว่า ในการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 12 และประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 17-19 กันยายน ที่ผ่านมา ณ เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยเป็นการประชุมในกลุ่มประเทศอาเซียนบวก 3 ในหัวข้อหลัก อาทิ “การมุ่งสู่ภาวะสุขภาพดีของประชาคมอาเซียนหลัง ปี ค.ศ. 2015”, “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิเพื่อการป้องกันและการควบคุมโรคในกลุ่ม NCD” ของประเทศในกลุ่มอาเซียนบวกสาม และ “การส่งเสริมความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อการป้องกันและการควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID)” ของประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศจีน จากเนื้อหาประชุมที่กำหนดขึ้นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนบวกสาม ต่างให้ความสำคัญต่อการเร่งผลักดันเดินหน้างานดูแลสุขภาพให้กับประชาชน
นพ.วินัย กล่าวว่า ไฮไลต์สำคัญคือเวทีของการร่วมทบทวนความเห็น รมต.สาธารณสุขอาเซียนทุกประเทศ โดยเฉพาะประเด็น “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิเพื่อนำไปสู่การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เพื่อร่วมวิเคราะห์ระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ประชาชนแต่ละประเทศมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเป็นธรรม และนำไปสู่มติความร่วมมือ รมต.สาธารณสุขอาเซียน อาทิ การลดความแตกต่างกันในระบบบริการปฐมภูมิและระบบหลักประกันสุขภาพที่มีอยู่ในภูมิภาค โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงบริการที่ไม่เท่าเทียมกัน เน้นการสร้างการเข้าถึงการรักษาโดยเฉาะกลุ่มด้อยโอกาส, การสร้างความเข้มแข็งให้กับบริการปฐมภูมิ ในการดูแลทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การมุ่งจัดบริการสุขภาพอย่างครอบคลุม และการมีระบบการคลังสาธารณสุขที่ยั่งยืน
“ในการประชุมเพื่อทบทวนต่องานในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร่วมกันของ รมต.สาธารณสุขอาเซียน ต่างให้ความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งระบบบริการปฐมภูมิอย่างมาก เพราะเห็นตรงกันว่าการบริการปฐมภูมินอกจากเป็นกลไกสร้างความเข็มแข็งให้กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว ยังเป็นกลไกสำคัญช่วยให้เกิดการเข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียมได้ จำเป็นที่ทุกประเทศต้องเร่งให้ความสำคัญ” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ทาง รมต.สาธารณสุขอาเซียน ยังร่วมกำหนดทิศทางขับเคลื่อนร่วมกัน โดยในระดับเน้นการจัดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อาทิ การจัดสิทธิประโยชน์ที่เหมาะกับบริบทของแต่ละพื้นที่ เน้นการครอบคลุมกลุ่มผู้ด้อยโอกาส การสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการคลังในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การบูรณาการร่วมกันของภาครัฐและเอกชนในการจัดบริการ่วมกัน เป็นต้น ส่วนทิศทางการขับเคลื่อนระดับภูมิภาค ได้เน้นการพัฒนากลไกองค์ความรู้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร่วมกัน ผ่านกลไกระดับภูมิภาค อย่าง ASEAN Plus Three UHC network เน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้ร่วมกัน ที่นำไปสู่การจัดทำนโยบานสนับสนุนทั้งในด้านเศรษฐและการเมือง พร้อมกันนี้ ยังกำหนดให้ระบบหลักประกันสุขภาพ และการส่งเสริมเตรียมความพร้อมระบบบริการปฐมภูมิ โดยนำเข้าสู่กระบวนการทั่วไปของการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 นี้
“เหล่านี้ล้วนเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในแต่ละประเทศให้ประสบผลสำเร็จ และจากมติขับเคลื่อน รมต.อาเซียน จะเห็นได้ว่า ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิมากขึ้น ทั้งยังกำหนดให้เป็นหนึ่งกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ทุกประเทศต้องดำเนินการ” เลขาธิกร สปสช. กล่าวและว่า ทั้งนี้ ไทยในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยจัดตั้ง “สถาบันพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนให้กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และที่ผ่านมาได้เดินหน้าไปแล้ว ทั้งความร่วมมือในการสร้างองค์ความรู้ และการอบรมบุคลากร เป็นต้น นับเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในฐานะประธานคณะกรรมการเตรียมการของเครือข่ายหลักประกันสุขภาพในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสาธารณรัฐประชาชนจีน (ASEAN Plus Three UHC Network) เปิดเผยว่า ในการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขอาเซียน ครั้งที่ 12 และประชุมที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 17-19 กันยายน ที่ผ่านมา ณ เมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม โดยเป็นการประชุมในกลุ่มประเทศอาเซียนบวก 3 ในหัวข้อหลัก อาทิ “การมุ่งสู่ภาวะสุขภาพดีของประชาคมอาเซียนหลัง ปี ค.ศ. 2015”, “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิเพื่อการป้องกันและการควบคุมโรคในกลุ่ม NCD” ของประเทศในกลุ่มอาเซียนบวกสาม และ “การส่งเสริมความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เพื่อการป้องกันและการควบคุมโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID)” ของประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศจีน จากเนื้อหาประชุมที่กำหนดขึ้นนี้ สะท้อนให้เห็นว่า ขณะนี้ประเทศต่างๆ ในกลุ่มอาเซียนบวกสาม ต่างให้ความสำคัญต่อการเร่งผลักดันเดินหน้างานดูแลสุขภาพให้กับประชาชน
นพ.วินัย กล่าวว่า ไฮไลต์สำคัญคือเวทีของการร่วมทบทวนความเห็น รมต.สาธารณสุขอาเซียนทุกประเทศ โดยเฉพาะประเด็น “การเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบบริการปฐมภูมิเพื่อนำไปสู่การมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เพื่อร่วมวิเคราะห์ระบบหลักประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ประชาชนแต่ละประเทศมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากการเข้าถึงบริการสุขภาพอย่างเป็นธรรม และนำไปสู่มติความร่วมมือ รมต.สาธารณสุขอาเซียน อาทิ การลดความแตกต่างกันในระบบบริการปฐมภูมิและระบบหลักประกันสุขภาพที่มีอยู่ในภูมิภาค โดยเฉพาะเรื่องการเข้าถึงบริการที่ไม่เท่าเทียมกัน เน้นการสร้างการเข้าถึงการรักษาโดยเฉาะกลุ่มด้อยโอกาส, การสร้างความเข้มแข็งให้กับบริการปฐมภูมิ ในการดูแลทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การมุ่งจัดบริการสุขภาพอย่างครอบคลุม และการมีระบบการคลังสาธารณสุขที่ยั่งยืน
“ในการประชุมเพื่อทบทวนต่องานในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร่วมกันของ รมต.สาธารณสุขอาเซียน ต่างให้ความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งระบบบริการปฐมภูมิอย่างมาก เพราะเห็นตรงกันว่าการบริการปฐมภูมินอกจากเป็นกลไกสร้างความเข็มแข็งให้กับระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแล้ว ยังเป็นกลไกสำคัญช่วยให้เกิดการเข้าถึงการรักษาอย่างเท่าเทียมได้ จำเป็นที่ทุกประเทศต้องเร่งให้ความสำคัญ” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ทาง รมต.สาธารณสุขอาเซียน ยังร่วมกำหนดทิศทางขับเคลื่อนร่วมกัน โดยในระดับเน้นการจัดระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า อาทิ การจัดสิทธิประโยชน์ที่เหมาะกับบริบทของแต่ละพื้นที่ เน้นการครอบคลุมกลุ่มผู้ด้อยโอกาส การสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการคลังในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การบูรณาการร่วมกันของภาครัฐและเอกชนในการจัดบริการ่วมกัน เป็นต้น ส่วนทิศทางการขับเคลื่อนระดับภูมิภาค ได้เน้นการพัฒนากลไกองค์ความรู้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าร่วมกัน ผ่านกลไกระดับภูมิภาค อย่าง ASEAN Plus Three UHC network เน้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การเรียนรู้ร่วมกัน ที่นำไปสู่การจัดทำนโยบานสนับสนุนทั้งในด้านเศรษฐและการเมือง พร้อมกันนี้ ยังกำหนดให้ระบบหลักประกันสุขภาพ และการส่งเสริมเตรียมความพร้อมระบบบริการปฐมภูมิ โดยนำเข้าสู่กระบวนการทั่วไปของการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนปี 2558 นี้
“เหล่านี้ล้วนเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในแต่ละประเทศให้ประสบผลสำเร็จ และจากมติขับเคลื่อน รมต.อาเซียน จะเห็นได้ว่า ประเทศต่างๆ ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิมากขึ้น ทั้งยังกำหนดให้เป็นหนึ่งกระบวนการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่ทุกประเทศต้องดำเนินการ” เลขาธิกร สปสช. กล่าวและว่า ทั้งนี้ ไทยในฐานะประเทศที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ โดยจัดตั้ง “สถาบันพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เพื่อสนับสนุนขับเคลื่อนให้กับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค และที่ผ่านมาได้เดินหน้าไปแล้ว ทั้งความร่วมมือในการสร้างองค์ความรู้ และการอบรมบุคลากร เป็นต้น นับเป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่