อาชีวะเตรียมออกเกณฑ์ใหม่ จับ นร. นศ. ปี 1 ทั้ง ปวช. และ ปวส. เข้าค่ายเตรียมความพร้อม 1 เดือนก่อนเปิดภาคเรียน ปรับพื้นฐานความรู้ ฝึกวินัย และปรับพฤติกรรมหวังสร้างภาพลักษณ์ให้เด็กอาชีวะ จูงใจผู้ปกครองส่งบุตรหลานเรียนต่อสาบอาชีพมากขึ้น พร้อมแก้เด็กตีกัน เล็งประสาน สพฐ. ขอแนะแนวเรียนต่อสายอาชีพตั้งแต่ ม.ต้น
วันนี้ (24 ก.ย.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือระหว่างพล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการ ทบ. และ รมช.ศึกษาธิการ พร้อมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เสนอโครงการ Pre อาชีวศึกษาให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณา โครงการดังกล่าวเป็นการนำ นักเรียน นักศึกษาชั้นปี 1 ที่เข้าใหม่ทั้งระดับประกาศประกาศนียบัตรวิชาชี (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มาเข้าค่ายเตรียมความพร้อมเป็นเวลา 1 เดือน ก่อนเปิดภาคเรียนในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยให้นักเรียน นักศึกษาจากวิทยาลัยต่างๆ มาเข้าค่ายรวมกัน
นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อว่า ช่วงเวลา 1 เดือนในค่าย Pre อาชีวศึกษานี้ นักเรียน นักศึกษา จะได้รับการปรับพื้นฐานทางวิชาการ ฝึกทักษะอาชีพ และการฝึกทักษะชีวิต โดยเฉพาะการปลูกฝังระเบียบวินัยและการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยคาดหวังว่าเด็กที่เข้ารับการฝึกอบรม จะมีความพร้อมด้านความรู้และจิตใจที่พร้อมสำหรับการเรียนสายอาชีพ รวมถึงยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยระหว่างนักเรียน นักศึกษาต่างสถาบัน เป็นการละลายพฤติกรรม ช่วยลดปัญหานักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท อย่างไรก็ตาม รมว.ศึกษาธิการ มีข้อเสนอแนะว่า จากประสบการณ์ฝึกอบรมนักเรียนเตรียมทหารใหม่ พบว่า ระยะเวลาการอบรมเพียง 1 เดือน สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้นักเรียนเตรียมทหารมีวินัย รู้จักการดูแลตนเอง จนสร้างความแปลกใจให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ดังนั้น สอศ. จะนำประสบการณ์จากการฝึกอบรมของโรงเรียนเตรียมทหาร รวมถึงโครงการสุภาพบุรุษอาชีวะที่ได้ดำเนินการร่วมกับทหารมาก่อน มาใช้ในการยกร่างหลักสูตรฝึกอบรมด้วย
“ภายใน 2 สัปดาห์ นี้ สอศ. จะจัดทำรายละเอียดของโครงดังกล่าว และเร่งยกร่างหลักสูตรที่จะใช้ในการอบรมด้วย เพราะ สอศ. วางแผนนำร่องโครงการเตรียมความ Pre อาชีวศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้กับนักศึกษารุ่นปัจจุบันก่อน เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการฝึกอบรมที่จะเริ่มใช้จริงในเดือนพฤษภาคม 2558 กับ วิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ทั้งนี้ คาดว่า เด็กที่ผ่านการอบรมจะได้รับพื้นฐานความรู้ทางวิชาการแล้ว เด็กจะมีจิตอาสา และมีวินัยมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์เด็กอาชีวะ เพราะ รมว.ศึกษาธิการ ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะนั้นได้ส่งผลกระทบกับผู้บริสุทธิ์ และภาพลักษณ์วิทยาลัย ทำให้ผู้ปกครองไม่อยากส่งเด็กมากเรียน จึงจำเป็นต้องกอบกู้ภาพลักษณ์ของอาชีวะขึ้นมาใหม่” เลขาธิการ กอศ. กล่าว
นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กหันมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น สอศ. กำลังเตรียมปรับการแนะแนวเรียนต่อสายอาชีพเชิงรุกมากขึ้น โดยจะประสาน สพฐ. ขอเข้าไปแนะแนวเรียนต่อระดับสายอาชีพตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเน้นโรงเรียนมัธยมในชนบทเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เด็กได้เข้าใจและเห็นภาพการเรียนต่อสายอาชีพในสาขาต่างๆ อย่างไรก็ตาม นายกฤษณพงศ์ ให้ข้อมูลว่า นักเรียนระดับ ม.ปลาย จะเป็นเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย ดังนั้น สอศ. ก็จะเตรียมแนะแนวอาชีพที่เหมาะสมกับเด็กผู้หญิงด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 ก.ย.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือระหว่างพล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รมว.ศึกษาธิการ นายกฤษณพงศ์ กีรติกร รมช.ศึกษาธิการ พล.ท.สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการ ทบ. และ รมช.ศึกษาธิการ พร้อมผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้เสนอโครงการ Pre อาชีวศึกษาให้ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณา โครงการดังกล่าวเป็นการนำ นักเรียน นักศึกษาชั้นปี 1 ที่เข้าใหม่ทั้งระดับประกาศประกาศนียบัตรวิชาชี (ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) มาเข้าค่ายเตรียมความพร้อมเป็นเวลา 1 เดือน ก่อนเปิดภาคเรียนในช่วงเดือนพฤษภาคม โดยให้นักเรียน นักศึกษาจากวิทยาลัยต่างๆ มาเข้าค่ายรวมกัน
นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อว่า ช่วงเวลา 1 เดือนในค่าย Pre อาชีวศึกษานี้ นักเรียน นักศึกษา จะได้รับการปรับพื้นฐานทางวิชาการ ฝึกทักษะอาชีพ และการฝึกทักษะชีวิต โดยเฉพาะการปลูกฝังระเบียบวินัยและการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยคาดหวังว่าเด็กที่เข้ารับการฝึกอบรม จะมีความพร้อมด้านความรู้และจิตใจที่พร้อมสำหรับการเรียนสายอาชีพ รวมถึงยังเป็นการสร้างความคุ้นเคยระหว่างนักเรียน นักศึกษาต่างสถาบัน เป็นการละลายพฤติกรรม ช่วยลดปัญหานักเรียน นักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาท อย่างไรก็ตาม รมว.ศึกษาธิการ มีข้อเสนอแนะว่า จากประสบการณ์ฝึกอบรมนักเรียนเตรียมทหารใหม่ พบว่า ระยะเวลาการอบรมเพียง 1 เดือน สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้นักเรียนเตรียมทหารมีวินัย รู้จักการดูแลตนเอง จนสร้างความแปลกใจให้กับผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ดังนั้น สอศ. จะนำประสบการณ์จากการฝึกอบรมของโรงเรียนเตรียมทหาร รวมถึงโครงการสุภาพบุรุษอาชีวะที่ได้ดำเนินการร่วมกับทหารมาก่อน มาใช้ในการยกร่างหลักสูตรฝึกอบรมด้วย
“ภายใน 2 สัปดาห์ นี้ สอศ. จะจัดทำรายละเอียดของโครงดังกล่าว และเร่งยกร่างหลักสูตรที่จะใช้ในการอบรมด้วย เพราะ สอศ. วางแผนนำร่องโครงการเตรียมความ Pre อาชีวศึกษาในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้กับนักศึกษารุ่นปัจจุบันก่อน เพื่อเก็บข้อมูลมาพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการฝึกอบรมที่จะเริ่มใช้จริงในเดือนพฤษภาคม 2558 กับ วิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศ ทั้งนี้ คาดว่า เด็กที่ผ่านการอบรมจะได้รับพื้นฐานความรู้ทางวิชาการแล้ว เด็กจะมีจิตอาสา และมีวินัยมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้างภาพลักษณ์เด็กอาชีวะ เพราะ รมว.ศึกษาธิการ ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาการทะเลาะวิวาทของนักเรียนอาชีวะนั้นได้ส่งผลกระทบกับผู้บริสุทธิ์ และภาพลักษณ์วิทยาลัย ทำให้ผู้ปกครองไม่อยากส่งเด็กมากเรียน จึงจำเป็นต้องกอบกู้ภาพลักษณ์ของอาชีวะขึ้นมาใหม่” เลขาธิการ กอศ. กล่าว
นายชัยพฤกษ์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กหันมาเรียนสายอาชีพมากขึ้น สอศ. กำลังเตรียมปรับการแนะแนวเรียนต่อสายอาชีพเชิงรุกมากขึ้น โดยจะประสาน สพฐ. ขอเข้าไปแนะแนวเรียนต่อระดับสายอาชีพตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเน้นโรงเรียนมัธยมในชนบทเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เด็กได้เข้าใจและเห็นภาพการเรียนต่อสายอาชีพในสาขาต่างๆ อย่างไรก็ตาม นายกฤษณพงศ์ ให้ข้อมูลว่า นักเรียนระดับ ม.ปลาย จะเป็นเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย ดังนั้น สอศ. ก็จะเตรียมแนะแนวอาชีพที่เหมาะสมกับเด็กผู้หญิงด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่