สพฐ. ปัดข่าวใบสั่งถอดชื่อ “ทักษิณ” ออกจากหนังสือเรียนวิชาประวัติศาสตร์ “กมล” ยันไม่มีคำสั่ง และ สพฐ. ไม่มีนโยบายถอดชื่อออกจากหนังสือเรียนทุกระดับ ด้าน ประธานยกร่างรายวิชาประวัติศาสตร์ คาดเป็นเทคนิคการเขียนของผู้เขียนเอง ทั้งหนังสือดังกล่าวเนื้อหาเป็นการเล่าเรื่องเหตุการณ์ความเป็นไปที่เกิดในประเทศ ชี้เป็นหนังสือเก่าพิมพ์แต่ปี 53 พร้อมย้ำยังไม่เคยจัดพิมพ์ตำราประวัติศาสตร์เล่มใหม่ และหนังสือดังกล่าวไม่ได้แจกให้ ร.ร. แต่ขึ้นกับ ร.ร. เองจะเลือกหนังสือใดไปใช้เพื่อการสอน
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีรายงานข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้รับคำสั่งให้ถอดชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากหนังสือแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของผู้เขียน ถนอม อานามวัฒน์ เนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองที่ผ่านมา ว่า ตนไม่ได้รับคำสั่งในเรื่องดังกล่าวยืนยันว่าไม่มีแน่นอน และยืนยันว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่มีนโยบายถอด ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากแบบเรียนประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน แบบเรียนที่ใช้เรียนในระดับชั้นใดก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าว สพฐ. ต้องตรวจสอบให้ชัดก่อนว่าแบบเรียนข้างต้น จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ใด
ด้าน นายวินัย รอดจ่าย ประธานคณะทำงานยกร่างรายวิชาเพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ส่วนตัวได้เห็นหนังสือเรียนเล่มดังกล่าวแล้ว เบื้องต้น เข้าใจว่าอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือเรียนของสำนักพิมพ์ดังกล่าวจะเน้นการเล่าเนื้อหาความเป็นไปในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าบางช่วงบางตอนผู้เขียนเห็นว่าควรใส่ชื่อนายกรัฐมนตรีใน ขณะนั้นลงไป ขณะที่บางตอนใส่แค่ปี พ.ศ. ก็พอ ซึ่งยอมรับว่าเหตุการณ์ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น มีการกล่าวถึง โดยใส่แค่ปี พ.ศ. เท่านั้น เพราะฉะนั้น ในประเด็นนี้อาจเป็นเทคนิคการเขียน หรือเป็นการเลี่ยงโดยจงใจหรือไม่นั้นส่วนตัวไม่ทราบ เบื้องต้นจึงสอบถามไปยังบรรณาธิการ ได้รับคำตอบเพียงว่าไม่ทราบ เพราะหนังสือเรียนนี้จัดพิมพ์มาหลายปีแล้วต้องขอดูหลายละเอียดก่อน
“หนังสือเล่มนี้พิมพ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นหนังสือเรียนชั้น ม.ปลาย จึงไม่ใช่แบบเรียนใหม่ ผมยืนยันเลยว่าไม่มีใบสั่งให้ทำอะไรอย่างนี้แน่นอน เพราะตำราเรียนประวัติศาสตร์ เนื้อหาก็ต้องเป็นประวัติศาสตร์ ใครเป็นนายกฯก็ต้องว่าไปตามนั้น จะมาลบได้อย่างไร ซึ่งวันนี้เราต้องการให้เด็กและเยาวชนคิดวิเคราะห์เป็น ดังนั้น เราจะมาทำแบบนั้นไปทำไม ซึ่งในวันที่นักข่าวนิวยอร์กไทม์มาสัมภาษณ์ผมในเรื่องนี้ ผมก็ได้ถามผู้เขียนตำราต่อหน้าเลยว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ ก็ได้รับคำอธิบายเบื้องต้นว่าเป็นการเขียนโดยยกเหตุการณ์ขึ้นเล่าร้อยเรียงกัน” นายวินัย กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม รายวิชาประวัติศาสตร์จะไปรับใช้กระแสอื่นๆ ไม่ได้ ต้องรับใช้ประวัติศาสตร์เท่านั้น และจนถึงขณะนี้ สพฐ. ยังไม่ได้จัดพิมพ์แบบหนังสือตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ใหม่เลย เป็นเพียงการกำหนดจุดเน้นเพิ่มเติมเท่านั้น ซึ่งหนังสือเรียนของสำนักพิมพ์นี้ ไม่ได้แจกจ่ายให้โรงเรียนทุกแห่งใช้จัดการเรียนการสอน แต่อยู่ที่โรงเรียนจะเลือกว่าจะใช้หนังสือจากสำนักพิมพ์ไหนมาจัดการเรียน การสอน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงกรณีที่มีรายงานข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้รับคำสั่งให้ถอดชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ออกจากหนังสือแบบเรียนวิชาประวัติศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ของผู้เขียน ถนอม อานามวัฒน์ เนื่องจากความไม่สงบทางการเมืองที่ผ่านมา ว่า ตนไม่ได้รับคำสั่งในเรื่องดังกล่าวยืนยันว่าไม่มีแน่นอน และยืนยันว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไม่มีนโยบายถอด ชื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ออกจากแบบเรียนประวัติศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นหนังสือเรียน แบบเรียนที่ใช้เรียนในระดับชั้นใดก็ตาม อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าว สพฐ. ต้องตรวจสอบให้ชัดก่อนว่าแบบเรียนข้างต้น จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ใด
ด้าน นายวินัย รอดจ่าย ประธานคณะทำงานยกร่างรายวิชาเพิ่มเติมวิชาประวัติศาสตร์ กล่าวว่า ส่วนตัวได้เห็นหนังสือเรียนเล่มดังกล่าวแล้ว เบื้องต้น เข้าใจว่าอาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน เนื่องจากเนื้อหาในหนังสือเรียนของสำนักพิมพ์ดังกล่าวจะเน้นการเล่าเนื้อหาความเป็นไปในเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับประเทศไทยเป็นหลัก ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าบางช่วงบางตอนผู้เขียนเห็นว่าควรใส่ชื่อนายกรัฐมนตรีใน ขณะนั้นลงไป ขณะที่บางตอนใส่แค่ปี พ.ศ. ก็พอ ซึ่งยอมรับว่าเหตุการณ์ในช่วงที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่นั้น มีการกล่าวถึง โดยใส่แค่ปี พ.ศ. เท่านั้น เพราะฉะนั้น ในประเด็นนี้อาจเป็นเทคนิคการเขียน หรือเป็นการเลี่ยงโดยจงใจหรือไม่นั้นส่วนตัวไม่ทราบ เบื้องต้นจึงสอบถามไปยังบรรณาธิการ ได้รับคำตอบเพียงว่าไม่ทราบ เพราะหนังสือเรียนนี้จัดพิมพ์มาหลายปีแล้วต้องขอดูหลายละเอียดก่อน
“หนังสือเล่มนี้พิมพ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นหนังสือเรียนชั้น ม.ปลาย จึงไม่ใช่แบบเรียนใหม่ ผมยืนยันเลยว่าไม่มีใบสั่งให้ทำอะไรอย่างนี้แน่นอน เพราะตำราเรียนประวัติศาสตร์ เนื้อหาก็ต้องเป็นประวัติศาสตร์ ใครเป็นนายกฯก็ต้องว่าไปตามนั้น จะมาลบได้อย่างไร ซึ่งวันนี้เราต้องการให้เด็กและเยาวชนคิดวิเคราะห์เป็น ดังนั้น เราจะมาทำแบบนั้นไปทำไม ซึ่งในวันที่นักข่าวนิวยอร์กไทม์มาสัมภาษณ์ผมในเรื่องนี้ ผมก็ได้ถามผู้เขียนตำราต่อหน้าเลยว่าเป็นอย่างนั้นจริงหรือไม่ ก็ได้รับคำอธิบายเบื้องต้นว่าเป็นการเขียนโดยยกเหตุการณ์ขึ้นเล่าร้อยเรียงกัน” นายวินัย กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม รายวิชาประวัติศาสตร์จะไปรับใช้กระแสอื่นๆ ไม่ได้ ต้องรับใช้ประวัติศาสตร์เท่านั้น และจนถึงขณะนี้ สพฐ. ยังไม่ได้จัดพิมพ์แบบหนังสือตำราเรียนวิชาประวัติศาสตร์ใหม่เลย เป็นเพียงการกำหนดจุดเน้นเพิ่มเติมเท่านั้น ซึ่งหนังสือเรียนของสำนักพิมพ์นี้ ไม่ได้แจกจ่ายให้โรงเรียนทุกแห่งใช้จัดการเรียนการสอน แต่อยู่ที่โรงเรียนจะเลือกว่าจะใช้หนังสือจากสำนักพิมพ์ไหนมาจัดการเรียน การสอน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่