สสส. ชี้ เยาวชนห่วงปัญหาสิทธิมนุษยชนสังคมไทย อยากมีส่วนร่วมขจัดปัญหาแบบยั่งยืน จะไม่เน้นสร้างวัตถุ หรือเน้นอุปการะผู้ด้อยโอกาส
น.ส.พนิดา บุญเทพ ผู้จัดการโครงการค่ายอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (ค่ายสร้างสุข) มูลนิธิโกมลคีมทอง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิโกมลคีมทอง กับ สสส. จัดเวทีถอดบทเรียนค่ายอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือค่ายสร้างสุขปีที่ 8 พบว่า การจัดกิจกรรมค่ายอาสาอย่างต่อเนื่องได้สร้างเยาวชนจิตอาสาในรั้วมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเยาวชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ และอยากร่วมผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชนในรูปแบบที่ต่างๆ เช่น เยาวชนจากภาคใต้ สนใจเรื่องสันติภาพและสิทธิมนุษยชนจากเหตุความไม่สงบ ภาคเหนือ สนใจสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนใจสิทธิที่ดินทำกิน ความโปร่งใสของรัฐจากการให้สัมปทานทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เป็นต้น
สำหรับผลการถอดบทเรียนล่าสุดของกิจกรรมค่ายอาสาฯปี 2557 ยังพบว่า เยาวชนสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนในแง่มุมต่างๆ มากกว่าเรื่องการศึกษา สุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อม ที่เคยเป็นประเด็นลำดับต้นๆ ชี้ให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนในสังคมยังมีปัญหาอยู่ จะต้องช่วยกันผลักดัน ซึ่งเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรมค่ายอาสาฯมีจุดหมายเดียวกัน คือ อยากมีส่วนร่วมให้สังคมดีขึ้น ที่สำคัญค่ายอาสาฯ จะเป็นบทเรียนที่ช่วยกล่อมเกลาให้คนรุ่นใหม่ที่จะเติบโตประชาชนของชาติ ได้แสดงศักยภาพผ่านการทำงาน รวมทั้งได้ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจากการปฏิบัติจริงด้วย
“กลุ่มจิตอาสาที่ ร่วมค่ายอาสาฯ จะเน้นพัฒนาศักยภาพในชุมชนเป็นหลักเรียนรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่ชุมชนต้องการคืออะไร พัฒนาได้อย่างไร ไม่ได้เน้นที่การสร้างวัตถุ หรือมุ่งอุปการะผู้ที่ด้อยกว่าเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลากิจกรรมได้ประมวลประเด็นที่เยาวชนค่ายอาสาฯ สนใจได้ 5 ประเด็น ได้แก่ การศึกษา สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สิทธิมนุษยชน จิตอาสา ซึ่งสะท้อนว่าเยาวชนตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นปัญหาเหล่านี้และพร้อมจะมีร่วมผลักดันในทางที่ดีขึ้น”น.ส.พนิดา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
น.ส.พนิดา บุญเทพ ผู้จัดการโครงการค่ายอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (ค่ายสร้างสุข) มูลนิธิโกมลคีมทอง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิโกมลคีมทอง กับ สสส. จัดเวทีถอดบทเรียนค่ายอาสาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต หรือค่ายสร้างสุขปีที่ 8 พบว่า การจัดกิจกรรมค่ายอาสาอย่างต่อเนื่องได้สร้างเยาวชนจิตอาสาในรั้วมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งเยาวชนส่วนใหญ่ให้ความสนใจ และอยากร่วมผลักดันประเด็นสิทธิมนุษยชนในรูปแบบที่ต่างๆ เช่น เยาวชนจากภาคใต้ สนใจเรื่องสันติภาพและสิทธิมนุษยชนจากเหตุความไม่สงบ ภาคเหนือ สนใจสิทธิมนุษยชนของชนกลุ่มน้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สนใจสิทธิที่ดินทำกิน ความโปร่งใสของรัฐจากการให้สัมปทานทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ เป็นต้น
สำหรับผลการถอดบทเรียนล่าสุดของกิจกรรมค่ายอาสาฯปี 2557 ยังพบว่า เยาวชนสนใจเรื่องสิทธิมนุษยชนในแง่มุมต่างๆ มากกว่าเรื่องการศึกษา สุขภาพ หรือสิ่งแวดล้อม ที่เคยเป็นประเด็นลำดับต้นๆ ชี้ให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชนในสังคมยังมีปัญหาอยู่ จะต้องช่วยกันผลักดัน ซึ่งเยาวชนที่มาร่วมกิจกรรมค่ายอาสาฯมีจุดหมายเดียวกัน คือ อยากมีส่วนร่วมให้สังคมดีขึ้น ที่สำคัญค่ายอาสาฯ จะเป็นบทเรียนที่ช่วยกล่อมเกลาให้คนรุ่นใหม่ที่จะเติบโตประชาชนของชาติ ได้แสดงศักยภาพผ่านการทำงาน รวมทั้งได้ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมจากการปฏิบัติจริงด้วย
“กลุ่มจิตอาสาที่ ร่วมค่ายอาสาฯ จะเน้นพัฒนาศักยภาพในชุมชนเป็นหลักเรียนรู้ข้อเท็จจริงว่าสิ่งที่ชุมชนต้องการคืออะไร พัฒนาได้อย่างไร ไม่ได้เน้นที่การสร้างวัตถุ หรือมุ่งอุปการะผู้ที่ด้อยกว่าเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลากิจกรรมได้ประมวลประเด็นที่เยาวชนค่ายอาสาฯ สนใจได้ 5 ประเด็น ได้แก่ การศึกษา สิ่งแวดล้อม สุขภาพ สิทธิมนุษยชน จิตอาสา ซึ่งสะท้อนว่าเยาวชนตั้งข้อสังเกตถึงประเด็นปัญหาเหล่านี้และพร้อมจะมีร่วมผลักดันในทางที่ดีขึ้น”น.ส.พนิดา กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่