มะกันวิจัยพบ “กัญชา” ช่วยป้องกันอัลไซเมอร์ได้ เหตุสารเดลตา 9 ในกัญชาช่วยยับยั้งเซลล์ผลิตสารพิษก่อโรคสมองเสื่อม เตรียมวิจัยเพิ่มระดับสัตว์ทดลอง ส่วนการเสพกัญชาโดยตรงไม่มีการรับรองผล ด้าน อย.ย้ำยังเป็นสารเสพติดต้องควบคุม ระบุนำมาใช้ทางการแพทย์แบบมอร์ฟีน ต้องดูหลายปัจจัยประกอบ
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญโรคทางด้านสมอง กล่าวว่า จากการศึกษาคุณประโยชน์ของกัญชาในห้องปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา โดยสกัดเอาสารเดลตา 9 ทีเอชซี ซึ่งเป็นสารสำคัญของกัญชาฉีดเข้าไปในเซลล์เอเบตาโปรตีนซึ่งเป็นเซลล์ผลิตสารพิษที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ พบว่า สารเดลตา 9 เข้าไปช่วยยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษ และยับยั้งการทำงานของไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นตัวสร้างพลังให้กับเซลล์ผลิตสารพิษดังกล่าว สารเดลตา 9 ในกัญชาจึงสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งได้มีการตีพิมพ์ผลงานนี้ลงในวารสารอัลไซเมอร์เมื่อปลาย ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้คณะผู้วิจัยกำลังการศึกษาเพิ่มเติมในขั้นสัตว์ทดลอง
ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวว่า จากการทดลองในห้องปฏิบัติการนั้น คณะผู้วิจัยได้สกัดเอาสารเดลตา 9 ในกัญชาออกมาด้วยวิธีการเฉพาะ ดังนั้น การเสพกัญชาทั่วไปจะให้คุณสมบัติแบบเดียวกันหรือไม่ ตนไม่ทราบ และยังไม่มีการศึกษายืนยัน และปัจจุบันยังมีคนต่อต้านอยู่ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวอยากให้ประเทศไทยเปิดโอกาสให้สามารถใช้กัญชาในการรักษาโรคได้เป็นการเฉพาะรายบุคคล เช่น รักษาภาวะความเจ็บปวดจากโรคมะเร็ง เพื่อลดความเกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดจากโรคทางสมองหรือไขสันหลัง เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากไทยกำหนดให้กัญชาเป็นสารเสพติดที่ต้องควบคุม
ด้าน ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ไทยอนุญาตให้นำสารเสพติดหลายตัวมาใช้ในทางการแพทย์ อาทิ มอร์ฟีน ใช้ลดอาการปวดจากการผ่าตัด โคเดอีน ใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ไอที่มีฤทธิ์รุนแรง เป็นต้น ส่วนกัญชายังไม่ได้รับอนุญาต ที่สำคัญยังถูกกำหนดให้เป็นสารเสพติดประเภท 5 คือห้ามครอบครอง ห้ามเสพ หากฝ่าฝืนจะต้องโทษทั้งจำและปรับ เนื่องจากมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการเคลิ้ม ถ้าเสพติดแล้วจะต้องเพิ่มขนาดไปเรื่อยๆ หากไม่ได้เสพจะมีลักษณะเหมือนลงแดง ส่วนจะอนุญาตให้ใช้ในทางการแพทย์หรือไม่ในอนาคต ต้องดูหลายอย่างประกอบกัน และมียาตัวอื่นทดแทนหรือไม่ ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศอนุญาตให้ขายภายใต้การกำกับของรัฐ เช่น เนเธอร์แลนด์ และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญโรคทางด้านสมอง กล่าวว่า จากการศึกษาคุณประโยชน์ของกัญชาในห้องปฏิบัติการ ของมหาวิทยาลัยฟลอริดา สหรัฐอเมริกา โดยสกัดเอาสารเดลตา 9 ทีเอชซี ซึ่งเป็นสารสำคัญของกัญชาฉีดเข้าไปในเซลล์เอเบตาโปรตีนซึ่งเป็นเซลล์ผลิตสารพิษที่ทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ พบว่า สารเดลตา 9 เข้าไปช่วยยับยั้งเซลล์เอเบตาโปรตีนไม่ให้ผลิตสารพิษ และยับยั้งการทำงานของไมโทคอนเดรีย ซึ่งเป็นตัวสร้างพลังให้กับเซลล์ผลิตสารพิษดังกล่าว สารเดลตา 9 ในกัญชาจึงสามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งได้มีการตีพิมพ์ผลงานนี้ลงในวารสารอัลไซเมอร์เมื่อปลาย ส.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้คณะผู้วิจัยกำลังการศึกษาเพิ่มเติมในขั้นสัตว์ทดลอง
ศ.นพ.ธีระวัฒน์กล่าวว่า จากการทดลองในห้องปฏิบัติการนั้น คณะผู้วิจัยได้สกัดเอาสารเดลตา 9 ในกัญชาออกมาด้วยวิธีการเฉพาะ ดังนั้น การเสพกัญชาทั่วไปจะให้คุณสมบัติแบบเดียวกันหรือไม่ ตนไม่ทราบ และยังไม่มีการศึกษายืนยัน และปัจจุบันยังมีคนต่อต้านอยู่ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวอยากให้ประเทศไทยเปิดโอกาสให้สามารถใช้กัญชาในการรักษาโรคได้เป็นการเฉพาะรายบุคคล เช่น รักษาภาวะความเจ็บปวดจากโรคมะเร็ง เพื่อลดความเกร็งของกล้ามเนื้อที่เกิดจากโรคทางสมองหรือไขสันหลัง เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกา เนื่องจากไทยกำหนดให้กัญชาเป็นสารเสพติดที่ต้องควบคุม
ด้าน ภก.ประพนธ์ อางตระกูล รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า ไทยอนุญาตให้นำสารเสพติดหลายตัวมาใช้ในทางการแพทย์ อาทิ มอร์ฟีน ใช้ลดอาการปวดจากการผ่าตัด โคเดอีน ใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ไอที่มีฤทธิ์รุนแรง เป็นต้น ส่วนกัญชายังไม่ได้รับอนุญาต ที่สำคัญยังถูกกำหนดให้เป็นสารเสพติดประเภท 5 คือห้ามครอบครอง ห้ามเสพ หากฝ่าฝืนจะต้องโทษทั้งจำและปรับ เนื่องจากมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้เกิดอาการเคลิ้ม ถ้าเสพติดแล้วจะต้องเพิ่มขนาดไปเรื่อยๆ หากไม่ได้เสพจะมีลักษณะเหมือนลงแดง ส่วนจะอนุญาตให้ใช้ในทางการแพทย์หรือไม่ในอนาคต ต้องดูหลายอย่างประกอบกัน และมียาตัวอื่นทดแทนหรือไม่ ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศอนุญาตให้ขายภายใต้การกำกับของรัฐ เช่น เนเธอร์แลนด์ และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่