นักวิชาการ เสนอแนวทางแก้ปัญหาท้องวัยรุ่น ชี้ต้องบูรณการทุกภาคส่วน เน้นพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต ผู้ปกครอง - การศึกษา - สื่อ มีส่วนสำคัญ แนะครูสอนวิชาชีวิตแทรกทุกวิชา สสส. ชู จ.อุตรดิตถ์ นำร่อง 17 โรงเรียน เริ่มสอนเพศศึกษาชั้นประถม ลดปัญหาท้องวัยรุ่นได้ผล
วันนี้ (10 ก.ย.) ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) มูลนิธิแพธทูเฮลท์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และภาคีเครือข่ายกว่า 20 องค์กร ร่วมกันจัด “การประชุมระดับชาติเรื่องสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 1” ประเด็น “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นวันที่สาม ผลจากการประชุมที่ผ่านมามีข้อเสนอเชิงนโยบายหลายประการ เพื่อป้องกันและลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้ได้ผล
นายจิระพันธ์ กัลป์ละประวิทย์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรถึง 1 ใน 6 ที่เกิดจากแม่ที่อายุไม่ถึง 20 ปี โดยเฉพาะเด็กหญิงแม่ ซึ่งสถานการณ์นี้จะส่งผลให้การรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทยทำได้ยากขึ้น สศช. จึงผลักดันนโยบาย “การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต” ตั้งเป้าหมายให้ทุกคนที่จะเกิดมา ต้องมีความพร้อมตั้งแต่ก่อนเกิด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ ได้รับโอกาสพัฒนาศักยภาพจนถึงจุดสูงสุดที่ไปได้ เพื่อเป็นกำลังคนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูง สามารถรับภาระการดูแลทั้งตัวเอง ครอบครัว และผู้สูงอายุได้ต่อไป โดยนโยบายดังกล่าว เน้นให้ความสำคัญกับกรพัฒนาครอบครัว การให้เวลาของพ่อแม่ต่อลูกอย่างมีคุณภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันแก่สังคม ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการรับฟังเด็ก เยาวชนให้มากขึ้น ทั้งนี้ ในการประชุมฯ ตลอด 2 วันที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ที่สอดคล้องกับนโยบาย “การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต”
ดร.อุทัย ดุลยเกษม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า คุณภาพการศึกษาไทยในภาพรวมต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นและมีอัตราส่วนงบการศึกษาสูงกว่าเพื่อนบ้านเรา เรายังติดกับการวัดความสำเร็จด้วยการวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนดีขึ้น การสอนวิชาการต้องให้ความสำคัญกับอรรถประโยชน์ เช่น สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ต้องสอนให้เด็กมีวิธีคิดแบบมีเหตุมีผล ไม่ใช่จำแต่สูตรเคมี ควรให้เด็กได้ค้นคว้าหาข้อเท็จจริง วิชาสุขศึกษา ควรให้เด็กรู้จักไม่ใช่แค่ร่างกายและอวัยวะต่างๆ แต่ต้องรู้เรื่องอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ทั้งรัก โกรธ เกลียด เสียใจ รวมถึงความรู้สึกทางเพศ ควรเรียนรู้เรื่องสัมพันธภาพและเพศศึกษาด้วย “ต้องสร้างการเรียนรู้ให้เด็ก ให้เขารู้เท่าทันและรับมือได้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งนี้ กลุ่มผู้ปกครองต้องออกมาเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย”
ดร.วจี ปัญญาใส มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาการเรียนรู้เพศศึกษาในโรงเรียนเครือข่าย 17 โรงเรียน ใน จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า การสอนเพศศึกษาใน โรงเรียนในอดีตมีเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษา แต่ขณะนี้เราได้เริ่มนำร่องสอนในชั้นประถมศึกษาตอนปลายใน ร.ร.มัธยมขยายโอกาส 11 แห่งด้วย รวมทั้งเริ่มให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาให้กับกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งพบว่า การสอนเพศศึกษาให้กับทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง ร่วมกับการเข้าถึงบริการคุมกำเนิด เช่น การกระจายถุงยางอนามัย มีส่วนช่วยลดอัตราแม่วัยรุ่นลงได้จริงใน 3 ตำบลนำร่อง ใน จ.อุตรดิตถ์ คือ เทศบาลตำบลบ้านแก่ง เทศบาลตำบลท่าปลา องค์การบริหารส่วนตำบลชัยจุมพล ที่ สสส. สนับสนุนการบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยตำบลบ้านแก่งไม่มีแม่วัยรุ่นเลยในปีนี้
ดร.สายพันธ์ ศรีพงษ์พันธ์กุล นักวิชาการการศึกษาชำนาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาฯ มีนโยบายสนับสนุนให้มีการสอนเรื่องเพศศึกษา และการเสริมสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะเด็กที่ก้าวพลาด จะต้องได้รับการศึกษาจะไม่มีการไล่ออกอย่างเด็ดขาด หากเด็กคนไหนไม่ยินดีที่จะเรียนในโรงเรียนปกติ จะจัดการศึกษาทางเลือกให้แก่เด็ก เพื่อให้มีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสำหรับเด็กที่ก้าวพลาด 4 มาตรการ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น คือ 1. เน้นการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาและสร้างภูมิคุ้มกัน 2. มาตรการเฝ้าระวัง ครูต้องรู้จักนักเรียน รู้จักบ้านและผู้ปกครองของนักเรียน พร้อมทั้งสามารถสังเกตความผิดปกติในเด็กที่ประสบปัญหา 3. การดูแล ให้ความช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนตั้งครรภ์ และ 4. สร้างความตระหนักและพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ร่วมดูแลนักเรียนที่ประสบปัญหา ทั้งผู้นำชุมชน หมอ พยาบาลในพื้นที่ ตำรวจ ผู้ปกครอง
พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า สื่อต่างๆ โดยเฉพาะละครโทรทัศน์ มีส่วนสำคัญต่อวิธีคิดของคนในสังคม โดยละครเกือบทุกเรื่องมักมีบทพระเอกข่มขืนนางเอก และจบลงด้วยการรู้ภายหลังว่า นางเอกเป็นสาวบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับชีวิตจริงของผู้หญิงที่ถูกข่มขืน รวมถึงวัยรุ่นที่พลาดพลั้งมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ ละครแนวนี้ปั้นความคิดของคนในสังคมให้มองเรื่องข่มขืนเป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายจะทำได้ มองความบริสุทธิ์ของผู้หญิงเป็นสิ่งที่ต้องเทิดทูนบูชา ซึ่งเป็นสองฐานคิดต่อความเป็นหญิงชายที่ต่างกันสิ้นเชิง จึงขอเสนอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบและสื่อด้วยกันเอง ต้องมีมาตรการแก้ไขโดยเร่งด่วน มิฉะนั้น จะเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รวมถึงปัญหาการข่มขืนและความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นเป็นข่าวเกือบทุกวัน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (10 ก.ย.) ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.) มูลนิธิแพธทูเฮลท์ กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และภาคีเครือข่ายกว่า 20 องค์กร ร่วมกันจัด “การประชุมระดับชาติเรื่องสุขภาวะทางเพศ ครั้งที่ 1” ประเด็น “การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น เป็นวันที่สาม ผลจากการประชุมที่ผ่านมามีข้อเสนอเชิงนโยบายหลายประการ เพื่อป้องกันและลดปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นให้ได้ผล
นายจิระพันธ์ กัลป์ละประวิทย์ ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรถึง 1 ใน 6 ที่เกิดจากแม่ที่อายุไม่ถึง 20 ปี โดยเฉพาะเด็กหญิงแม่ ซึ่งสถานการณ์นี้จะส่งผลให้การรองรับสังคมผู้สูงอายุของไทยทำได้ยากขึ้น สศช. จึงผลักดันนโยบาย “การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต” ตั้งเป้าหมายให้ทุกคนที่จะเกิดมา ต้องมีความพร้อมตั้งแต่ก่อนเกิด เมื่อเกิดแล้วต้องได้รับการดูแลอย่างมีคุณภาพ ได้รับโอกาสพัฒนาศักยภาพจนถึงจุดสูงสุดที่ไปได้ เพื่อเป็นกำลังคนที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูง สามารถรับภาระการดูแลทั้งตัวเอง ครอบครัว และผู้สูงอายุได้ต่อไป โดยนโยบายดังกล่าว เน้นให้ความสำคัญกับกรพัฒนาครอบครัว การให้เวลาของพ่อแม่ต่อลูกอย่างมีคุณภาพ การสร้างภูมิคุ้มกันแก่สังคม ให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่บุคลากรและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และการรับฟังเด็ก เยาวชนให้มากขึ้น ทั้งนี้ ในการประชุมฯ ตลอด 2 วันที่ผ่านมา ที่ประชุมได้มีข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ของวัยรุ่น ที่สอดคล้องกับนโยบาย “การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต”
ดร.อุทัย ดุลยเกษม อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า คุณภาพการศึกษาไทยในภาพรวมต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้นและมีอัตราส่วนงบการศึกษาสูงกว่าเพื่อนบ้านเรา เรายังติดกับการวัดความสำเร็จด้วยการวัดผลผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพียงอย่างเดียว ซึ่งไม่ช่วยให้คุณภาพชีวิตของเด็กและเยาวชนดีขึ้น การสอนวิชาการต้องให้ความสำคัญกับอรรถประโยชน์ เช่น สอนวิชาวิทยาศาสตร์ ต้องสอนให้เด็กมีวิธีคิดแบบมีเหตุมีผล ไม่ใช่จำแต่สูตรเคมี ควรให้เด็กได้ค้นคว้าหาข้อเท็จจริง วิชาสุขศึกษา ควรให้เด็กรู้จักไม่ใช่แค่ร่างกายและอวัยวะต่างๆ แต่ต้องรู้เรื่องอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ทั้งรัก โกรธ เกลียด เสียใจ รวมถึงความรู้สึกทางเพศ ควรเรียนรู้เรื่องสัมพันธภาพและเพศศึกษาด้วย “ต้องสร้างการเรียนรู้ให้เด็ก ให้เขารู้เท่าทันและรับมือได้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก ทั้งนี้ กลุ่มผู้ปกครองต้องออกมาเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงนี้ด้วย”
ดร.วจี ปัญญาใส มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาการเรียนรู้เพศศึกษาในโรงเรียนเครือข่าย 17 โรงเรียน ใน จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า การสอนเพศศึกษาใน โรงเรียนในอดีตมีเฉพาะในระดับชั้นมัธยมศึกษา แต่ขณะนี้เราได้เริ่มนำร่องสอนในชั้นประถมศึกษาตอนปลายใน ร.ร.มัธยมขยายโอกาส 11 แห่งด้วย รวมทั้งเริ่มให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษาให้กับกลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง ซึ่งพบว่า การสอนเพศศึกษาให้กับทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง ร่วมกับการเข้าถึงบริการคุมกำเนิด เช่น การกระจายถุงยางอนามัย มีส่วนช่วยลดอัตราแม่วัยรุ่นลงได้จริงใน 3 ตำบลนำร่อง ใน จ.อุตรดิตถ์ คือ เทศบาลตำบลบ้านแก่ง เทศบาลตำบลท่าปลา องค์การบริหารส่วนตำบลชัยจุมพล ที่ สสส. สนับสนุนการบูรณาการทุกภาคส่วนเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น โดยตำบลบ้านแก่งไม่มีแม่วัยรุ่นเลยในปีนี้
ดร.สายพันธ์ ศรีพงษ์พันธ์กุล นักวิชาการการศึกษาชำนาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาฯ มีนโยบายสนับสนุนให้มีการสอนเรื่องเพศศึกษา และการเสริมสร้างทักษะชีวิต โดยเฉพาะเด็กที่ก้าวพลาด จะต้องได้รับการศึกษาจะไม่มีการไล่ออกอย่างเด็ดขาด หากเด็กคนไหนไม่ยินดีที่จะเรียนในโรงเรียนปกติ จะจัดการศึกษาทางเลือกให้แก่เด็ก เพื่อให้มีการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพได้ นอกจากนี้ ยังมีมาตรการสำหรับเด็กที่ก้าวพลาด 4 มาตรการ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น คือ 1. เน้นการจัดการเรียนรู้เพศศึกษาและสร้างภูมิคุ้มกัน 2. มาตรการเฝ้าระวัง ครูต้องรู้จักนักเรียน รู้จักบ้านและผู้ปกครองของนักเรียน พร้อมทั้งสามารถสังเกตความผิดปกติในเด็กที่ประสบปัญหา 3. การดูแล ให้ความช่วยเหลือ และคุ้มครองนักเรียนตั้งครรภ์ และ 4. สร้างความตระหนักและพัฒนาการมีส่วนร่วมของเครือข่าย ร่วมดูแลนักเรียนที่ประสบปัญหา ทั้งผู้นำชุมชน หมอ พยาบาลในพื้นที่ ตำรวจ ผู้ปกครอง
พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า สื่อต่างๆ โดยเฉพาะละครโทรทัศน์ มีส่วนสำคัญต่อวิธีคิดของคนในสังคม โดยละครเกือบทุกเรื่องมักมีบทพระเอกข่มขืนนางเอก และจบลงด้วยการรู้ภายหลังว่า นางเอกเป็นสาวบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับชีวิตจริงของผู้หญิงที่ถูกข่มขืน รวมถึงวัยรุ่นที่พลาดพลั้งมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ ละครแนวนี้ปั้นความคิดของคนในสังคมให้มองเรื่องข่มขืนเป็นเรื่องปกติที่ผู้ชายจะทำได้ มองความบริสุทธิ์ของผู้หญิงเป็นสิ่งที่ต้องเทิดทูนบูชา ซึ่งเป็นสองฐานคิดต่อความเป็นหญิงชายที่ต่างกันสิ้นเชิง จึงขอเสนอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบและสื่อด้วยกันเอง ต้องมีมาตรการแก้ไขโดยเร่งด่วน มิฉะนั้น จะเป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น รวมถึงปัญหาการข่มขืนและความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นเป็นข่าวเกือบทุกวัน
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่