สปสช. เสนอ รบ. ใหม่แก้ปัญหานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉิน แนะออกประกาศเพิ่มห้าม รพ. เรียกเก็บเงินผู้ป่วย ให้เรียกเก็บจาก สปสช. ก่อนไปเก็บจากกองทุนเจ้าของสิทธิผู้ป่วย ด้านเครือข่ายผู้เสียหายฯ ย้ำต้องหยุดนโยบายนี้ไปก่อน
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงปัญหานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ถามสิทธิ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยมี สปสช. เป็นผู้บริหารจัดการ เริ่มตั้งแต่ เม.ย. 2555 เพื่อบูรณาการสิทธิ 3 กองทุนรักษาพยาบาล แต่กลับมีการร้องเรียนจำนวนมาก ว่า นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ช่วยชีวิตคนได้ทันท่วงที แต่ยอมรับว่ายังมีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการ จนทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์มาร้องเรียนเพื่อให้แก้ปัญหาดังกล่าว ปัญหาคือ โรงพยาบาลบางแห่งมีการเรียกเก็บเงินผู้ป่วย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดในการสื่อสารถึงคำนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือเกิดจากปัจจัยใดก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้นิ่งเฉย สปสช. ในฐานะผู้บริหารจัดการได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา
นพ.วินัย กล่าวว่า ทั้งนี้ สปสช. จะเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณาร่วมกันแก้ไขเรื่องนี้ ซึ่งสิ่งสำคัญต้องมีกฎระเบียบในการห้ามโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินผู้ป่วย แต่ให้มาเรียกเก็บเงินจาก สปสช. ซึ่งทำหน้าที่เป็นเคลียริงเฮาส์ (Clearinghouse) จ่ายเงินให้โรงพยาบาลก่อนจะไปเรียกเก็บกับกองทุนเจ้าของสิทธิผู้ป่วย โดยการจะห้ามการเรียกเก็บเงินนั้นจำเป็นต้องมีประกาศบังคับเพิ่มเติม ซึ่งอาจล้อตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 หรือ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 หรืออาจต้องควบคุมค่าใช้จ่ายการรักษากรณีฉุกเฉิน ซึ่งอาจต้องมีการกำหนดราคากลาง เบื้องต้นได้เสนอไปยังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อส่งรัฐมนตรีว่าการ สธ. ต่อไป
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า อยากให้หยุดการเดินหน้านโยบายนี้ชั่วคราวก่อน เพราะสุดท้ายโรงพยาบาลเอกชนก็ยังเรียกเก็บเงิน และ สปสช. ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ แม้นโยบายนี้จะเป็นเรื่องดี แต่ก็ส่งปัญหาให้กับผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง จึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการ สธ. คนใหม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และช่วยแก้ปัญหาด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงปัญหานโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินไม่ถามสิทธิ ซึ่งเกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพรรคเพื่อไทย โดยมี สปสช. เป็นผู้บริหารจัดการ เริ่มตั้งแต่ เม.ย. 2555 เพื่อบูรณาการสิทธิ 3 กองทุนรักษาพยาบาล แต่กลับมีการร้องเรียนจำนวนมาก ว่า นโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่ช่วยชีวิตคนได้ทันท่วงที แต่ยอมรับว่ายังมีปัญหาในเรื่องการบริหารจัดการ จนทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์มาร้องเรียนเพื่อให้แก้ปัญหาดังกล่าว ปัญหาคือ โรงพยาบาลบางแห่งมีการเรียกเก็บเงินผู้ป่วย ซึ่งอาจเกิดจากความผิดพลาดในการสื่อสารถึงคำนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือเกิดจากปัจจัยใดก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ได้นิ่งเฉย สปสช. ในฐานะผู้บริหารจัดการได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา
นพ.วินัย กล่าวว่า ทั้งนี้ สปสช. จะเสนอให้รัฐบาลใหม่พิจารณาร่วมกันแก้ไขเรื่องนี้ ซึ่งสิ่งสำคัญต้องมีกฎระเบียบในการห้ามโรงพยาบาลเรียกเก็บเงินผู้ป่วย แต่ให้มาเรียกเก็บเงินจาก สปสช. ซึ่งทำหน้าที่เป็นเคลียริงเฮาส์ (Clearinghouse) จ่ายเงินให้โรงพยาบาลก่อนจะไปเรียกเก็บกับกองทุนเจ้าของสิทธิผู้ป่วย โดยการจะห้ามการเรียกเก็บเงินนั้นจำเป็นต้องมีประกาศบังคับเพิ่มเติม ซึ่งอาจล้อตาม พ.ร.บ.การแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551 หรือ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ. 2541 หรืออาจต้องควบคุมค่าใช้จ่ายการรักษากรณีฉุกเฉิน ซึ่งอาจต้องมีการกำหนดราคากลาง เบื้องต้นได้เสนอไปยังกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อส่งรัฐมนตรีว่าการ สธ. ต่อไป
นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า อยากให้หยุดการเดินหน้านโยบายนี้ชั่วคราวก่อน เพราะสุดท้ายโรงพยาบาลเอกชนก็ยังเรียกเก็บเงิน และ สปสช. ก็ยังไม่สามารถควบคุมได้ แม้นโยบายนี้จะเป็นเรื่องดี แต่ก็ส่งปัญหาให้กับผู้ป่วยกลุ่มหนึ่ง จึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการ สธ. คนใหม่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และช่วยแก้ปัญหาด้วย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่