เอฟทีเอ ว็อทช์ ห่วงร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร เปิดช่องเจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจของนำเข้าแบบไร้ขอบเขต หวั่นอุตสาหกรรมยายักษ์ใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือตรวจจับยาชื่อสามัญ กระทบผู้ป่วยรอคอยยารักษาโรค ชี้เคยเกิดขึ้นแล้วในยุโรป แฉหน่วยงานราชการบางส่วนร่วมกลุ่มทุนอุตสาหกรรมยาข้ามชาติ สอดไส้แก้กฎหมายหวังผลประโยชน์ เตือน สนช. รอบคอบ อย่าหลงกล
วันนี้ (7 ก.ย.) น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. ... ได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระแรกและหมดระยะเวลาแปรญัตติแล้ว ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวมีการเพิ่มมาตรา 58/1 โดยให้พนักงานศุลกากรมีอำนาจตรวจสอบ ตรวจค้นของที่นำเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำที่อยู่ในยานพาหนะ คอนเทนเนอร์ หรือหีบห่ออย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนด โดยไม่ต้องมีหมายค้น หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ โดยมีวงเล็บ (3) กว้างๆ ไว้ว่า ของนั้นเป็นของที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางกลุ่มฯ กังวลอย่างมาก เพราะของผิดกฎหมายกินความกว้างจนไร้ขอบเขต และไม่มีหลักประกันความเสียหายต่อการใช้สิทธิโดยมิชอบ ที่สำคัญไม่มีข้อยกเว้นประเภทสินค้า ตรงนี้อาจเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาชื่อสามัญได้ จากการที่อุตสาหกรรมยายักษ์ใหญ่ใช้กลไกนี้กีดกันและรังแก เช่นในสหภาพยุโรปที่มีการยึดจับยารักษาโรคช่วยชีวิตที่ส่งจากอินเดียมากถึง 18 ครั้ง ทั้งที่ไม่ได้ละเมิดกฎหมาย โดยไม่สนใจว่าผู้ป่วยที่รอคอยยารักษาโรคที่ปลายทางจะเป็นเช่นไร
“การออกกฎหมายเช่นนี้ตรงกับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ มาตั้งแต่ต้น ที่ต้องการให้มาตรการผ่านแดนเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จของงานศุลกากร ทำให้ไม่มีการถ่วงดุลโดยศาล ซึ่งถือเป็นทริปส์พลัส (TRIPS+) ซึ่งเกินไปกว่าความตกลงในองค์การการค้าโลก (WTO) ที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่ เรื่องนี้เป็นการที่หน่วยราชการบางส่วนร่วมกับกลุ่มทุนอุตสาหกรรมยาข้ามชาติใช้ช่วงเวลาที่ผิดปกติ สอดไส้แก้กฎหมายเพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม โดยอ้างกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าการแก้กฎหมายดังกล่าวมีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจไทย ขณะที่ คสช. เองก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่กว้างขวางมากพอ แต่กลับไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวว่า การตรวจค้นจับยึดในทางปฏิบัตินั้น จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมทรัพย์สินทางปัญญา และจะต้องเป็นสินค้าที่สามารถแยกด้วยตาเปล่าได้ เช่น เครื่องหมายการค้า ไม่รวมถึงสินค้าที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิบัตร เพราะตรวจสอบได้ยาก ต้องใช้ขั้นตอนที่ซับซ้อนในการแยกแยะ อย่างยาก็ต้องตรวจสอบกันหลายปี เพราะต้องตรวจลึกถึงระดับโมเลกุล หากกรมศุลกากรต้องการแก้ไขกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการตรวจสอบ ก็ไม่ควรเกี่ยวโยงกับประเด็นสิทธิบัตร แต่ควรยึดหลักการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยมิให้มีผลกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงยาของคนในประเทศ อย่างไรก็ตาม การนำเข้ายาในปัจจุบัน อย. มีอํานาจเต็มที่ในการควบคุม หรือกํากับ อาจจะมีการออกระเบียบและประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานศุลกากร เกี่ยวกับมาตรการ ณ จุดผ่านแดนที่เหมาะสม ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขสามารถหารือกันมีอํานาจแก้ไขกฎระเบียบเมื่อใดก็ได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของส่วนรวม
“โดยในสัปดาห์นี้ กลุ่มฯจะขอเข้าพบ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. และ นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายนี้ เพราะหากออกกฎหมายไปเช่นนี้ จะทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ทั่วโลก และทำร้ายผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนาไปพร้อมๆ กัน” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (7 ก.ย.) น.ส.กรรณิการ์ กิจติเวชกุล ผู้ประสานงานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) กล่าวว่า ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. ... ได้ผ่านการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระแรกและหมดระยะเวลาแปรญัตติแล้ว ซึ่งร่างกฎหมายดังกล่าวมีการเพิ่มมาตรา 58/1 โดยให้พนักงานศุลกากรมีอำนาจตรวจสอบ ตรวจค้นของที่นำเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำที่อยู่ในยานพาหนะ คอนเทนเนอร์ หรือหีบห่ออย่างอื่นตามที่อธิบดีกำหนด โดยไม่ต้องมีหมายค้น หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ โดยมีวงเล็บ (3) กว้างๆ ไว้ว่า ของนั้นเป็นของที่ผิดกฎหมาย ซึ่งทางกลุ่มฯ กังวลอย่างมาก เพราะของผิดกฎหมายกินความกว้างจนไร้ขอบเขต และไม่มีหลักประกันความเสียหายต่อการใช้สิทธิโดยมิชอบ ที่สำคัญไม่มีข้อยกเว้นประเภทสินค้า ตรงนี้อาจเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยาชื่อสามัญได้ จากการที่อุตสาหกรรมยายักษ์ใหญ่ใช้กลไกนี้กีดกันและรังแก เช่นในสหภาพยุโรปที่มีการยึดจับยารักษาโรคช่วยชีวิตที่ส่งจากอินเดียมากถึง 18 ครั้ง ทั้งที่ไม่ได้ละเมิดกฎหมาย โดยไม่สนใจว่าผู้ป่วยที่รอคอยยารักษาโรคที่ปลายทางจะเป็นเช่นไร
“การออกกฎหมายเช่นนี้ตรงกับข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ มาตั้งแต่ต้น ที่ต้องการให้มาตรการผ่านแดนเป็นอำนาจเบ็ดเสร็จของงานศุลกากร ทำให้ไม่มีการถ่วงดุลโดยศาล ซึ่งถือเป็นทริปส์พลัส (TRIPS+) ซึ่งเกินไปกว่าความตกลงในองค์การการค้าโลก (WTO) ที่ไทยเป็นสมาชิกอยู่ เรื่องนี้เป็นการที่หน่วยราชการบางส่วนร่วมกับกลุ่มทุนอุตสาหกรรมยาข้ามชาติใช้ช่วงเวลาที่ผิดปกติ สอดไส้แก้กฎหมายเพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม โดยอ้างกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่าการแก้กฎหมายดังกล่าวมีความจำเป็นต่อระบบเศรษฐกิจไทย ขณะที่ คสช. เองก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่กว้างขวางมากพอ แต่กลับไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆ” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
น.ส.กรรณิการ์ กล่าวว่า การตรวจค้นจับยึดในทางปฏิบัตินั้น จะต้องเป็นการทำงานร่วมกันของหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมทรัพย์สินทางปัญญา และจะต้องเป็นสินค้าที่สามารถแยกด้วยตาเปล่าได้ เช่น เครื่องหมายการค้า ไม่รวมถึงสินค้าที่ถูกกล่าวหาว่าละเมิดสิทธิบัตร เพราะตรวจสอบได้ยาก ต้องใช้ขั้นตอนที่ซับซ้อนในการแยกแยะ อย่างยาก็ต้องตรวจสอบกันหลายปี เพราะต้องตรวจลึกถึงระดับโมเลกุล หากกรมศุลกากรต้องการแก้ไขกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการตรวจสอบ ก็ไม่ควรเกี่ยวโยงกับประเด็นสิทธิบัตร แต่ควรยึดหลักการให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา โดยมิให้มีผลกระทบต่อสิทธิในการเข้าถึงยาของคนในประเทศ อย่างไรก็ตาม การนำเข้ายาในปัจจุบัน อย. มีอํานาจเต็มที่ในการควบคุม หรือกํากับ อาจจะมีการออกระเบียบและประสานความร่วมมือไปยังหน่วยงานศุลกากร เกี่ยวกับมาตรการ ณ จุดผ่านแดนที่เหมาะสม ซึ่งหน่วยงานด้านสาธารณสุขสามารถหารือกันมีอํานาจแก้ไขกฎระเบียบเมื่อใดก็ได้เพื่อประโยชน์สูงสุดของส่วนรวม
“โดยในสัปดาห์นี้ กลุ่มฯจะขอเข้าพบ นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. และ นายสมพล เกียรติไพบูลย์ ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณากฎหมายนี้ เพราะหากออกกฎหมายไปเช่นนี้ จะทำลายอุตสาหกรรมยาชื่อสามัญ ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ทั่วโลก และทำร้ายผู้ป่วยในประเทศกำลังพัฒนาไปพร้อมๆ กัน” น.ส.กรรณิการ์ กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่