ผลตรวจโลหะหนักใน “ส้มตำถาด” พบ มีใบตอง หรือพลาสติก รองมิดชิด “แคดเมียม-ตะกั่ว” ไม่ปนเปื้อนในส้มตำ เตือนประชาชนเลือกรับประทานระมัดระวัง ส่วนผู้ประกอบการควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย ได้มาตรฐาน มอก.
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมฯ ได้เก็บตัวอย่างของส้มตำถาด เพื่อพิสูจน์สารโลหะหนัก เบื้องต้นทดสอบด้วยการใส่กรดอะซิติก หรือกรดน้ำส้มสายชู พบว่ามีการปนเปื้อนของสารแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่ค่าที่ได้อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะเป็นการหยดสารโดยตรงลงบนถาด จึงทำการเก็บส้มตำถาด 10 ตัวอย่าง นำมาแบ่งทดสอบโดยหยดสารอะซิติก แช่ไว้ตามมาตรฐาน 24 ชั่วโมง ในอุณหภูมิ 12 องศา เซลเซียส พบว่า มีสารแคดเมียม 2.6 มิลลิกรัมต่อลิตร เกินกว่ามาตรฐานกำหนดคือ ไม่เกิน 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้ง 10 ตัวอย่าง เป็น 10 เท่า ส่วนสารตะกั่วพบเพียง 3 ถาด แต่ไม่เกินมาตรฐาน
นพ.อภิชัย กล่าวว่า ส่วนอีกวิธีคือ การหาปริมาณสารละลายที่ออกมาปนเปื้อนส้มตำในถาดโดยตรง ซึ่งจะทำให้ทราบคำตอบว่า การรับประทานจริงๆ จะได้รับการปนเปื้อนหรือไม่ โดยได้สุ่มตัวอย่างส้มตำ 10 ตัวอย่าง ทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง 3 ชั่วโมงแล้วนำมาหาการปนเปื้อน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. ส้มตำที่ใส่กับถาดโดยตรงไม่มีอะไรรอง พบว่า มีสารแคดเมียมปนเปื้อนในส้มตำ 0.875 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 2. ส้มตำถาดแบบมีใบตองรองมิดชิด ไม่พบการปนเปื้อนของแคดเมียม 3. ส้มตำถาดแบบที่มีใบตองรองไม่มิดชิด พบการปนเปื้อนแคดเมียม 0.127 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 4. นำส้มตำใส่ถุงพลาสติกวางบนถาด ทั้งนี้ จากการทดสอบทุกแบบไม่พบการปนเปื้อนของสารตะกั่ว
“ผลการตรวจดังกล่าว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน ADI หรือปริมาณที่ไม่ควรบริโภคเกินในแต่ละวันอยู่ที่ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อเดือน ประกอบกับข้อมูลการเก็บตัวเลขการบริโภคอาหารของคนไทย ปริมาณแคดเมียมที่พบในการทดสอบครั้งนี้โดยเฉพาะเมื่อใส่ส้มตำในถาดสีโดยตรง ถือว่าเกินปริมาณที่แนะนำ 1.4 เท่า ซึ่งหากมีการบริโภคอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่จะได้รับสารแคดเมียมเกินมาตรฐาน และสะสมในร่างกายไปเรื่อยๆ ก็มีสูง ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกร้านที่ใช้ภาชนะที่ปลอดภัย” นพ.อภิชัย กล่าว
นพ.อภิชัย กล่าวว่า อันตรายจากการสารแคดเมียม คือ หากได้รับในปริมาณมาก หรือสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดพิษต่อไต และกระดูก หากกินต่อเนื่องในระยะยาวก็จะทำให้เสี่ยงไตวาย เกิดโรคปวดกระดูก หรือ โรคอีไตอีไต ได้ นอกจากนี้ องค์กรด้านมะเร็ง ยังกำหนดให้แคดเมียมเป็นสารชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การทดสอบในครั้งนี้ได้พยายามหาคำตอบที่ประชาชนสงสัย และตอบคำถามเรื่องความปลอดภัยเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับผู้ประกอบการร้านค้านั้น สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้ โดยดูที่มาตรฐาน มอก. ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานของสีที่ใช้กับภาชนะสำหรับครัวเรือน ซึ่งสารแคดเมียม และตะกั่ว เป็นส่วนประกอบสำคัญของสี หากเลือกใช้ภาชนะที่ได้มาตรฐานก็จะปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า กรมฯ ได้เก็บตัวอย่างของส้มตำถาด เพื่อพิสูจน์สารโลหะหนัก เบื้องต้นทดสอบด้วยการใส่กรดอะซิติก หรือกรดน้ำส้มสายชู พบว่ามีการปนเปื้อนของสารแคดเมียมเกินเกณฑ์มาตรฐาน แต่ค่าที่ได้อาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เพราะเป็นการหยดสารโดยตรงลงบนถาด จึงทำการเก็บส้มตำถาด 10 ตัวอย่าง นำมาแบ่งทดสอบโดยหยดสารอะซิติก แช่ไว้ตามมาตรฐาน 24 ชั่วโมง ในอุณหภูมิ 12 องศา เซลเซียส พบว่า มีสารแคดเมียม 2.6 มิลลิกรัมต่อลิตร เกินกว่ามาตรฐานกำหนดคือ ไม่เกิน 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ทั้ง 10 ตัวอย่าง เป็น 10 เท่า ส่วนสารตะกั่วพบเพียง 3 ถาด แต่ไม่เกินมาตรฐาน
นพ.อภิชัย กล่าวว่า ส่วนอีกวิธีคือ การหาปริมาณสารละลายที่ออกมาปนเปื้อนส้มตำในถาดโดยตรง ซึ่งจะทำให้ทราบคำตอบว่า การรับประทานจริงๆ จะได้รับการปนเปื้อนหรือไม่ โดยได้สุ่มตัวอย่างส้มตำ 10 ตัวอย่าง ทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง 3 ชั่วโมงแล้วนำมาหาการปนเปื้อน โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. ส้มตำที่ใส่กับถาดโดยตรงไม่มีอะไรรอง พบว่า มีสารแคดเมียมปนเปื้อนในส้มตำ 0.875 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 2. ส้มตำถาดแบบมีใบตองรองมิดชิด ไม่พบการปนเปื้อนของแคดเมียม 3. ส้มตำถาดแบบที่มีใบตองรองไม่มิดชิด พบการปนเปื้อนแคดเมียม 0.127 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 4. นำส้มตำใส่ถุงพลาสติกวางบนถาด ทั้งนี้ จากการทดสอบทุกแบบไม่พบการปนเปื้อนของสารตะกั่ว
“ผลการตรวจดังกล่าว เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน ADI หรือปริมาณที่ไม่ควรบริโภคเกินในแต่ละวันอยู่ที่ไม่เกิน 25 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัวต่อเดือน ประกอบกับข้อมูลการเก็บตัวเลขการบริโภคอาหารของคนไทย ปริมาณแคดเมียมที่พบในการทดสอบครั้งนี้โดยเฉพาะเมื่อใส่ส้มตำในถาดสีโดยตรง ถือว่าเกินปริมาณที่แนะนำ 1.4 เท่า ซึ่งหากมีการบริโภคอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่จะได้รับสารแคดเมียมเกินมาตรฐาน และสะสมในร่างกายไปเรื่อยๆ ก็มีสูง ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกร้านที่ใช้ภาชนะที่ปลอดภัย” นพ.อภิชัย กล่าว
นพ.อภิชัย กล่าวว่า อันตรายจากการสารแคดเมียม คือ หากได้รับในปริมาณมาก หรือสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดพิษต่อไต และกระดูก หากกินต่อเนื่องในระยะยาวก็จะทำให้เสี่ยงไตวาย เกิดโรคปวดกระดูก หรือ โรคอีไตอีไต ได้ นอกจากนี้ องค์กรด้านมะเร็ง ยังกำหนดให้แคดเมียมเป็นสารชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การทดสอบในครั้งนี้ได้พยายามหาคำตอบที่ประชาชนสงสัย และตอบคำถามเรื่องความปลอดภัยเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค สำหรับผู้ประกอบการร้านค้านั้น สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยได้ โดยดูที่มาตรฐาน มอก. ซึ่งจะกำหนดมาตรฐานของสีที่ใช้กับภาชนะสำหรับครัวเรือน ซึ่งสารแคดเมียม และตะกั่ว เป็นส่วนประกอบสำคัญของสี หากเลือกใช้ภาชนะที่ได้มาตรฐานก็จะปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่