จุฬาฯ ปลื้ม! ผลจัดอันดับระดับโลกชี้งานวิจัยถูกนำอ้างอิงเป็นอันดับ 1 ของประเทศ และอยู่ในอันดับ 479 ของโลก ต่อเนื่องเป็นที่ 6 “ภิรมย์” จี้รัฐบาลเพิ่มงบวิจัยพัฒนาประเทศ
วันนี้ (4 ก.ย.) ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ จำนวน 4,851 สถาบันทั่วโลก ของ SCIMago Institutions Rankings ปี 2014 โดยการจัดอันดับดังกล่าว จะดูจากจำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัยของสถาบันนั้นๆ ซึ่งในส่วนของจุฬาฯ ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้นำผลงานไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 479 ของโลก เท่ากับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ นอกจากจุฬาฯแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ ไม่เกิน 1,000 อันดับแรก มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) อยู่ในอันดับที่ 519 และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) อยู่อันดับที่ 878 ของโลก
“ถือเป็นปีที่ 6 ที่ผลงานวิจัยของจุฬาฯ มีผู้นำไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ขณะเดียวกัน ในช่วง 6 ปี จุฬาฯ ก็มีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นจากปี 2551 ที่มีเพียง 1,000 กว่าผลงาน มาเป็น 2,000 กว่าผลงาน โดยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยพยายามส่งเสริมให้นักวิชาการสร้างสรรค์งานวิจัยในทุกสาขา ทั้งด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่ที่เพิ่มขึ้นชัดเจนจะเป็นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิจัยสายวิทยาศาสตร์นิยมนำผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ส่วนสายสังคม จะมีการตีพิมพ์น้อย เพราะนิยมเขียนให้ความรู้ในเชิงบทความมากกว่า ซึ่งตรงส่วนนี้ทางจุฬาฯ ก็พยายามส่งเสริมให้นักวิจัยสานสังคม มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมอยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมงบประมาณในเรื่องงานวิจัยให้มากขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยไมได้มีหน้าที่ในเรื่องการสอนอย่างเดียว แต่มีความจำเป็นต้องสะสมความรู้เพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ ด้วย” ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวและว่า ปัจจุบัน รัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยเพียง 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกันประเทศเพื่อนบ้าน และต่อไปอาจจะกระทบต่อการพัฒนาในภาพรวม และที่ผ่านมาก็มีการให้งบสนับสนุนงานวิจัยหลายโครงการ อาทิ โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ แต่ก็ขาดช่วง ไม่เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งหากสามารถเดินหน้าต่อได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี
สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ โดย SCImago Institutions Rankings นั้นแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ งานวิจัย นวัตกรรม และเว็บไซต์ สำหรับด้านงานวิจัย เป็นการจัดอันดับความสามารถในการผลิตและการเผยแพร่ผลงานวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus รวมถึงความเป็นผู้นำและการเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดต่างๆ อาทิ จำนวนผลงานทั้งหมดที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus สัดส่วนผลงานที่ตีพิมพ์ร่วมกับสถาบันต่างประเทศต่อผลงานทั้งหมด ค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานวิชาการของสถาบัน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานของทั่วโลก อัตราส่วนของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลก จำนวนผู้เขียนผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งหมดของแต่ละสถาบัน เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 ก.ย.) ศ.นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ จำนวน 4,851 สถาบันทั่วโลก ของ SCIMago Institutions Rankings ปี 2014 โดยการจัดอันดับดังกล่าว จะดูจากจำนวนการอ้างอิงผลงานวิจัยของสถาบันนั้นๆ ซึ่งในส่วนของจุฬาฯ ถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้นำผลงานไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 479 ของโลก เท่ากับปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ นอกจากจุฬาฯแล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยไทยที่ติดอันดับ ไม่เกิน 1,000 อันดับแรก มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) อยู่ในอันดับที่ 519 และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) อยู่อันดับที่ 878 ของโลก
“ถือเป็นปีที่ 6 ที่ผลงานวิจัยของจุฬาฯ มีผู้นำไปอ้างอิงมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศ ขณะเดียวกัน ในช่วง 6 ปี จุฬาฯ ก็มีผลงานวิจัยเพิ่มมากขึ้นจากปี 2551 ที่มีเพียง 1,000 กว่าผลงาน มาเป็น 2,000 กว่าผลงาน โดยที่ผ่านมามหาวิทยาลัยพยายามส่งเสริมให้นักวิชาการสร้างสรรค์งานวิจัยในทุกสาขา ทั้งด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ แต่ที่เพิ่มขึ้นชัดเจนจะเป็นผลงานทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากนักวิจัยสายวิทยาศาสตร์นิยมนำผลงานไปตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ส่วนสายสังคม จะมีการตีพิมพ์น้อย เพราะนิยมเขียนให้ความรู้ในเชิงบทความมากกว่า ซึ่งตรงส่วนนี้ทางจุฬาฯ ก็พยายามส่งเสริมให้นักวิจัยสานสังคม มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมอยากให้รัฐบาลช่วยส่งเสริมงบประมาณในเรื่องงานวิจัยให้มากขึ้น เพราะมหาวิทยาลัยไมได้มีหน้าที่ในเรื่องการสอนอย่างเดียว แต่มีความจำเป็นต้องสะสมความรู้เพื่อพัฒนาในด้านต่างๆ ด้วย” ศ.นพ.ภิรมย์ กล่าวและว่า ปัจจุบัน รัฐบาลให้งบประมาณสนับสนุนงานวิจัยเพียง 0.2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ GDP ซึ่งน้อยมากเมื่อเทียบกันประเทศเพื่อนบ้าน และต่อไปอาจจะกระทบต่อการพัฒนาในภาพรวม และที่ผ่านมาก็มีการให้งบสนับสนุนงานวิจัยหลายโครงการ อาทิ โครงการมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ แต่ก็ขาดช่วง ไม่เกิดความต่อเนื่อง ซึ่งหากสามารถเดินหน้าต่อได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี
สำหรับการจัดอันดับมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ โดย SCImago Institutions Rankings นั้นแบ่งเป็น 3 ด้าน คือ งานวิจัย นวัตกรรม และเว็บไซต์ สำหรับด้านงานวิจัย เป็นการจัดอันดับความสามารถในการผลิตและการเผยแพร่ผลงานวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus รวมถึงความเป็นผู้นำและการเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยพิจารณาจากตัวชี้วัดต่างๆ อาทิ จำนวนผลงานทั้งหมดที่เผยแพร่ในฐานข้อมูล Scopus สัดส่วนผลงานที่ตีพิมพ์ร่วมกับสถาบันต่างประเทศต่อผลงานทั้งหมด ค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานวิชาการของสถาบัน เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของการอ้างอิงผลงานของทั่วโลก อัตราส่วนของบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลก จำนวนผู้เขียนผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ทั้งหมดของแต่ละสถาบัน เป็นต้น
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่