สธ. ไม่เคาะหญิงกินี ป่วย “มาลาเรีย” ไม่ใช่ “อีโบลา” เหตุพบสารพันธุกรรม เพราะอาจเคยป่วยมาก่อน รอผลตรวจเลือดยืนยันอีกครั้ง ประเมินร่วมอาการทางคลินิก ระบุหากผลเป็นลบจ่อปล่อยกลับบ้านทันที พร้อมผู้สัมผัสอีก 16 ราย
วันนี้ (4 ก.ย.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) แถลงความคืบหน้าอาการหญิงชาวกินี อายุ 24 ปี ที่เข้าเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคอีโบลา ว่า ผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 ที่นำส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะต้องรอผลยืนยันอีกครั้ง ซึ่งจะทราบในวันที่ 5 ก.ย. โดยหากผลเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้ออีโบลา แพทย์ก็จะพิจารณาอาการทางคลินิกร่วมด้วยว่าหญิงรายดังกล่าวน่าจะป่วยด้วยโรคใด แล้วจึงรักษาตามอาการต่อไป และค่อยพิจารณาว่าสามารถกลับบ้านได้หรือไม่ ส่วนผู้มีประวัติสัมผัสหญิงรายดังกล่าว 16 คนที่กำลังติดตามอยู่ก็จะสามารถปล่อยตัวกลับบ้านได้ทันที
นพ.โอภาส กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ผลตรวจเบื้องต้นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบสารพันธุกรรมของเชื้อมาลาเรีย แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าหญิงรายดังกล่าวป่วยด้วยโรคมาลาเรีย ต้องให้แพทย์ผู้ทำการรักษาพิจารณาว่าผลตรวจเลือดและอาการทางคลินิกก่อน เนื่องจากการเจอสารพันธุกรรมอาจเป็นเพราะหญิงรายดังกล่าวเคยติดเชื้อมาก่อน แต่หายป่วยแล้ว
“การแปลผลจะใช้ผลจากแล็บอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูอาการทางคลินิกประกอบด้วย อย่างอาการของโรคมาลาเรียคือต้องมีไข้ แต่หลังจากรับตัวหญิงรายนี้มารับการรักษาแล้วก็ไม่พบว่ามีไข้ วัดอุณหภูมิได้ 37.2 องศาเซลเซียส และอาการต่างๆ เริ่มดีขึ้น” นพ.โอภาส กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดการตรวจเชื้ออีโบลาจึงไม่สามารถบอกได้ในครั้งเดียวว่าป่วยด้วยเชื้ออะไร นพ.โอภาส กล่าวว่า การตรวจเชื้อขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการตรวจ และเครื่องมือในการตรวจด้วย อย่างบางเครื่องสามารถตรวจได้หลายเชื้อในครั้งเดียว เช่น จุฬาฯ จะตรวจเชื้ออีโบลาร่วมกับเชื้อมาร์บวร์ก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นในแอฟริกา มีอาการเลือดออกคล้ายโรคอีโบลาและไข้เลือดออก ความรุนแรงน้อยกว่าอีโบลาแต่หนักกว่าไข้เลือดออก ทั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนในการระบาดว่าเป็นการระบาดจากสัตว์สู่คน หรือคนสู่คน เพราะอัตราการป่วยน้อยมาก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (4 ก.ย.) นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) แถลงความคืบหน้าอาการหญิงชาวกินี อายุ 24 ปี ที่เข้าเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคอีโบลา ว่า ผลการตรวจเลือดครั้งที่ 2 ที่นำส่งตรวจที่ห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะต้องรอผลยืนยันอีกครั้ง ซึ่งจะทราบในวันที่ 5 ก.ย. โดยหากผลเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้ออีโบลา แพทย์ก็จะพิจารณาอาการทางคลินิกร่วมด้วยว่าหญิงรายดังกล่าวน่าจะป่วยด้วยโรคใด แล้วจึงรักษาตามอาการต่อไป และค่อยพิจารณาว่าสามารถกลับบ้านได้หรือไม่ ส่วนผู้มีประวัติสัมผัสหญิงรายดังกล่าว 16 คนที่กำลังติดตามอยู่ก็จะสามารถปล่อยตัวกลับบ้านได้ทันที
นพ.โอภาส กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ผลตรวจเบื้องต้นของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบสารพันธุกรรมของเชื้อมาลาเรีย แต่ยังสรุปไม่ได้ว่าหญิงรายดังกล่าวป่วยด้วยโรคมาลาเรีย ต้องให้แพทย์ผู้ทำการรักษาพิจารณาว่าผลตรวจเลือดและอาการทางคลินิกก่อน เนื่องจากการเจอสารพันธุกรรมอาจเป็นเพราะหญิงรายดังกล่าวเคยติดเชื้อมาก่อน แต่หายป่วยแล้ว
“การแปลผลจะใช้ผลจากแล็บอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูอาการทางคลินิกประกอบด้วย อย่างอาการของโรคมาลาเรียคือต้องมีไข้ แต่หลังจากรับตัวหญิงรายนี้มารับการรักษาแล้วก็ไม่พบว่ามีไข้ วัดอุณหภูมิได้ 37.2 องศาเซลเซียส และอาการต่างๆ เริ่มดีขึ้น” นพ.โอภาส กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุใดการตรวจเชื้ออีโบลาจึงไม่สามารถบอกได้ในครั้งเดียวว่าป่วยด้วยเชื้ออะไร นพ.โอภาส กล่าวว่า การตรวจเชื้อขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการตรวจ และเครื่องมือในการตรวจด้วย อย่างบางเครื่องสามารถตรวจได้หลายเชื้อในครั้งเดียว เช่น จุฬาฯ จะตรวจเชื้ออีโบลาร่วมกับเชื้อมาร์บวร์ก ซึ่งโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นในแอฟริกา มีอาการเลือดออกคล้ายโรคอีโบลาและไข้เลือดออก ความรุนแรงน้อยกว่าอีโบลาแต่หนักกว่าไข้เลือดออก ทั้งนี้ ยังไม่มีความชัดเจนในการระบาดว่าเป็นการระบาดจากสัตว์สู่คน หรือคนสู่คน เพราะอัตราการป่วยน้อยมาก
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่