น.พ.อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดตัวชุดตรวจหาสารพันธุกรรมเชื้อไวรัสอีโบลาว่า ได้มีการสั่งซื้อชุดตรวจสอบมาจาก 3 แหล่ง รวมกว่า 900,000 บาท ได้แก่ เยอรมนี 2 แหล่ง และจีน 1 แหล่ง ขณะนี้ชุดตรวจทดสอบดังกล่าวมาถึงเพียง 2 แหล่งเท่านั้น คือเยอรมนีและจีน หากตรวจทั้ง 3 แหล่งจะสามารถดำเนินการตรวจสอบได้ทันที เพราะในผู้ป่วยผู้ต้องสงสัย 1 คน ต้องมีการตรวจยืนยันถึง 3 ครั้ง และมั่นใจว่าในการตรวจยืนยันไทยสามารถทำได้อย่างไม่มีปัญหา
ทั้งนี้ การใช้ชุดตรวจหาสารพันธุกรรมนั้นต้องทำควบคู่กับเครื่อง PCR ระบบปิดอัตโนมัติ ภายในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยสูง ใช้กับโรคที่มีความรุนแรง ไม่มียารักษา และวัคซีน จะเป็นรองแค่ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 จะใช้ต่อเมื่อพบโรคร้ายแรงที่ไม่เคยพบมาก่อน และยังไม่มียารักษาหรือวัคซีน
น.พ.อภิชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับขั้นตอนการตรวจยืนยันเชื้อจะมีการเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะของผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยใส่กล่องไบโอพาสซาสที่มีความปลอดภัย 3 ชั้น ในอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จากนั้นนำตรวจภายในห้องชีวนิรภัยระดับ 3 ทุกขั้นตอนใช้ระบบอัตโนมัติ มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการเพียง 2 คน สวมชุดชีวนิรภัยกั้นน้ำ PPE และมีเครื่องกรองอากาศในตัว เพื่อความปลอดภัย เครื่องตรวจจะมีการปั้นแยกเลือดและพลาสมา เพื่อหาสารพันธุกรรมหรือโปรตีนของเชื้อไวรัส จากนั้นนำมาเทียบเชื้อ เพื่อยืนยันในชุดทดสอบอย่างน้อย 2 แหล่ง
ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมเสนอกระทรวงสาธารณสุข เสนอของงบประมาณกลางของกระทรวง จำนวน 57 ล้านบาท ในการก่อสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 พร้อมค่าบำรุง รวมถึงการอบรมบุคลากร เพื่อพร้อมรับกับโรคระบาดร้ายแรง
ทั้งนี้ การใช้ชุดตรวจหาสารพันธุกรรมนั้นต้องทำควบคู่กับเครื่อง PCR ระบบปิดอัตโนมัติ ภายในห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 3 ซึ่งถือว่ามีความปลอดภัยสูง ใช้กับโรคที่มีความรุนแรง ไม่มียารักษา และวัคซีน จะเป็นรองแค่ห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 จะใช้ต่อเมื่อพบโรคร้ายแรงที่ไม่เคยพบมาก่อน และยังไม่มียารักษาหรือวัคซีน
น.พ.อภิชัย กล่าวต่อไปว่า สำหรับขั้นตอนการตรวจยืนยันเชื้อจะมีการเก็บตัวอย่างเลือด ปัสสาวะของผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยใส่กล่องไบโอพาสซาสที่มีความปลอดภัย 3 ชั้น ในอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส จากนั้นนำตรวจภายในห้องชีวนิรภัยระดับ 3 ทุกขั้นตอนใช้ระบบอัตโนมัติ มีเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการเพียง 2 คน สวมชุดชีวนิรภัยกั้นน้ำ PPE และมีเครื่องกรองอากาศในตัว เพื่อความปลอดภัย เครื่องตรวจจะมีการปั้นแยกเลือดและพลาสมา เพื่อหาสารพันธุกรรมหรือโปรตีนของเชื้อไวรัส จากนั้นนำมาเทียบเชื้อ เพื่อยืนยันในชุดทดสอบอย่างน้อย 2 แหล่ง
ทั้งนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เตรียมเสนอกระทรวงสาธารณสุข เสนอของงบประมาณกลางของกระทรวง จำนวน 57 ล้านบาท ในการก่อสร้างห้องปฏิบัติการชีวนิรภัยระดับ 4 พร้อมค่าบำรุง รวมถึงการอบรมบุคลากร เพื่อพร้อมรับกับโรคระบาดร้ายแรง