สธ. ส่งทีมวิศวกรตรวจอาคารผู้ป่วยใน รพ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี หลังพบเกิดรอยร้าว และผนังกำแพงแยกจากเสาอาคาร ย้ายผู้ป่วยไปหอประชุมโรงพยาบาลแล้ว กำชับ สสจ. เฝ้าระวังโรคฉี่หนู หลังน้ำท่วมลด
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีอาคารผู้ป่วยใน รพ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี เกิดรอยร้าว ผนังกำแพงแยกจากเสาอาคาร ว่า ได้ส่งทีมวิศวกรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) กาญจนบุรี ไปตรวจสอบประเมินความปลอดภัยตัวอาคาร ร่วมกับทีมโยธาธิการและผังเมืองของจังหวัดแล้ว ทั้งนี้ อาคารดังกล่าวเป็นอาคารชั้นเดียว ดูแลผู้ป่วยสามัญและห้องพิเศษ รวม 40 เตียง สร้างเมื่อปี 2538 ขณะนี้ได้งดใช้อาคารชั่วคราว และย้ายผู้ป่วยจำนวน 38 ราย ไปพักที่อาคารหอประชุมของโรงพยาบาลแทน ส่วนอาคารอื่นๆ สามารถใช้การได้ตามปกติ ขณะนี้เหลือผู้ป่วยนอนพักรักษา 22 ราย ส่วนใหญ่ช่วยเหลือตนเองได้
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ส่วนสถานการณ์น้ำท่วม ส่วนใหญ่ระดับน้ำลดลงเป็นปกติ ได้ให้ สสจ. ที่มีพื้นที่ประสบภัยเฝ้าระวังโรคหลังน้ำลด โดยเฉพาะโรคฉี่หนู ซึ่งจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมและอยู่ในดินโคลนชื้นแฉะ เชื้อจะไชเข้าทางแผล รอยผิวหนังถลอก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ ประชาชนมีโอกาสติดเชื้อโรคนี้ได้ โดยเฉพาะช่วงที่เข้าไปทำความสะอาดที่พักอาศัย อาจเกิดบาดแผล รอยขีดข่วน จึงขอให้สวมใส่ รองเท้าบูตยาง หรือรองเท้าหุ้มส้นอื่นๆ ขณะเดินย่ำน้ำดินโคลน เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลที่เท้า และให้รีบชำระล้างร้างกายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ รับประทานอาหารปรุงสุกและร้อน อาหารที่ค้างคืนต้องอุ่นให้เดือดก่อนรับประทาน ดื่มน้ำต้มสุกหรือน้ำบรรจุขวด
“สำหรับโรคฉี่หนู หลังติดเชื้อประมาณ 10 วัน จะมีอาการไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะที่น่องโคนขาทั้ง 2 ข้าง บางครั้งประชาชนอาจคาดไม่ถึงคิดเป็นว่าเป็นไข้ ปวดเมื่อยจากการขนย้ายสิ่งของหนีน้ำ หากมีอาการดังกล่าว ภายใน 3 วัน อาการไม่ดีขึ้น ให้รีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการลุยน้ำย่ำโคลนด้วย เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว โรคนี้มียารักษาหายขาด ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากอาจทำให้ไปรับการรักษาช้า โรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีอาคารผู้ป่วยใน รพ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี เกิดรอยร้าว ผนังกำแพงแยกจากเสาอาคาร ว่า ได้ส่งทีมวิศวกรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) กาญจนบุรี ไปตรวจสอบประเมินความปลอดภัยตัวอาคาร ร่วมกับทีมโยธาธิการและผังเมืองของจังหวัดแล้ว ทั้งนี้ อาคารดังกล่าวเป็นอาคารชั้นเดียว ดูแลผู้ป่วยสามัญและห้องพิเศษ รวม 40 เตียง สร้างเมื่อปี 2538 ขณะนี้ได้งดใช้อาคารชั่วคราว และย้ายผู้ป่วยจำนวน 38 ราย ไปพักที่อาคารหอประชุมของโรงพยาบาลแทน ส่วนอาคารอื่นๆ สามารถใช้การได้ตามปกติ ขณะนี้เหลือผู้ป่วยนอนพักรักษา 22 ราย ส่วนใหญ่ช่วยเหลือตนเองได้
นพ.ณรงค์ กล่าวว่า ส่วนสถานการณ์น้ำท่วม ส่วนใหญ่ระดับน้ำลดลงเป็นปกติ ได้ให้ สสจ. ที่มีพื้นที่ประสบภัยเฝ้าระวังโรคหลังน้ำลด โดยเฉพาะโรคฉี่หนู ซึ่งจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำท่วมและอยู่ในดินโคลนชื้นแฉะ เชื้อจะไชเข้าทางแผล รอยผิวหนังถลอก หรือผิวหนังที่แช่น้ำนานๆ ประชาชนมีโอกาสติดเชื้อโรคนี้ได้ โดยเฉพาะช่วงที่เข้าไปทำความสะอาดที่พักอาศัย อาจเกิดบาดแผล รอยขีดข่วน จึงขอให้สวมใส่ รองเท้าบูตยาง หรือรองเท้าหุ้มส้นอื่นๆ ขณะเดินย่ำน้ำดินโคลน เพื่อป้องกันการเกิดบาดแผลที่เท้า และให้รีบชำระล้างร้างกายหลังเสร็จสิ้นภารกิจ รับประทานอาหารปรุงสุกและร้อน อาหารที่ค้างคืนต้องอุ่นให้เดือดก่อนรับประทาน ดื่มน้ำต้มสุกหรือน้ำบรรจุขวด
“สำหรับโรคฉี่หนู หลังติดเชื้อประมาณ 10 วัน จะมีอาการไข้สูงทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อมากโดยเฉพาะที่น่องโคนขาทั้ง 2 ข้าง บางครั้งประชาชนอาจคาดไม่ถึงคิดเป็นว่าเป็นไข้ ปวดเมื่อยจากการขนย้ายสิ่งของหนีน้ำ หากมีอาการดังกล่าว ภายใน 3 วัน อาการไม่ดีขึ้น ให้รีบพบแพทย์และแจ้งประวัติการลุยน้ำย่ำโคลนด้วย เพื่อให้แพทย์สามารถวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว โรคนี้มียารักษาหายขาด ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง เนื่องจากอาจทำให้ไปรับการรักษาช้า โรครุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้” ปลัด สธ. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่