เจาะเลือดหญิงกินีตรวจหาเชื้อ “อีโบลา” รอบ 2 รู้ผลพรุ่งนี้ “หมอประเสริฐ” ยันหากไม่พบเชื้อปล่อยตัวกลับบ้านได้ทันที พร้อมเลิกเฝ้าระวังผู้มีประวัติสัมผัสทั้ง 16 คน ระบุอาการล่าสุดหญิงกินีอาการดีขึ้น ไม่มีไข้แล้ว 2 วัน เผยยังคงมาตรการเฝ้าระวังประเทศระบาดเท่าเดิม ไม่รวม “เซเนกัล” ที่เพิ่งมีผู้ป่วย
วันนี้ (3 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กรมควบคุมโรค ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค (คร.) ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแนวทางชันสูตรและวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา แถลงข่าวความคืบหน้าอาการของหญิงชาวกินี อายุ 24 ปี ซึ่งเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีโบลา ภายหลังประชุมร่วมกับ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. และคณะทำงานฯ ว่า หญิงชาวกินีคนดังกล่าว นับเป็นผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีโบลารายแรก โดยผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการครั้งที่ 1 ให้ผลเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้ออีโบลา จากการติดตามอาการพบว่า ขณะนี้อาการดีขึ้น ไม่มีไข้มา 2 วัน โดยจะเจาะเลือดตรวจยืนยันซ้ำรอบ 2 ในวันนี้ ซึ่งนับเป็นวันที่ 5 ของการป่วย คาดว่าจะได้ผลตรวจยืนยันในวันที่ 6 ก.ย.
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า หากผลการตรวจยืนยันรอบ 2 ยังคงไม่พบเชื้อก็สามารถปล่อยตัวหญิงรายดังกล่าวกลับบ้านได้ รวมถึงไม่ต้องติดตามเฝ้าระวังผู้ที่มีประวัติสัมผัสหญิงรายดังกล่าวอีก 16 คน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและผู้สัมผัสต้องเป็นกังวล แต่หากผลออกเป็นบวกก็จะให้การรักษาผู้ป่วย และต้องติดตามอาการผู้สัมผัสทั้ง 16 คน จนกว่าจะพ้นระยะการฟักตัวของโรคคือ 21 วัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า หญิงรายดังกล่าวป่วยด้วยโรคอะไร หากไม่ได้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยมาด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ อาการเริ่มต้นคล้ายอีโบลา และไข้หวัดใหญ่ จึงสงสัยว่าป่วยเป็นโรคอีโบลา เนื่องจากมาจากประเทศที่มีโรคชุกชุมและระบาด แต่จากการตรวจเชื้อทั้งอีโบลาและไข้หวัดใหญ่ต่างให้ผลเป็นลบคือไม่พบเชื้อ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าป่วยด้วยโรคอะไร ซึ่งต่อไปนี้หากพบผู้เข้าเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคอีก จะต้องมีการตรวจวิเคราะห์เชื้อทั้งหมดในคราวเดียว เพื่อดูว่าผู้ป่วยป่วยด้วยโรคใด
เมื่อถามว่าต้องมีการปรับปรุงระบบในการเฝ้าระวังเพิ่มเติมหรือไม่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้นับเป็นเคสแรกที่ตรวจพบนับแต่เริ่มระบบ หากพบว่าระบบยังคงทำงานได้ดี มีความลื่นไหล ก็ให้คงไว้ตามเดิมไม่จำเป็นต้องแก้ไข แต่หากมีจุดใดที่บกพร่องก็ต้องแก้ไขไปตามระบบ สำหรับการสอบสวนโรคยังยึดตามหลักเกณฑ์เดิมในผู้ป่วย 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค คือ มีไข้ และเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด 2. กลุ่มสงสัยว่าติดเชื้อ คือ มีอาการชัดเจนกว่ากลุ่มแรก คือ มีเลือดออก 3. อาการน่าจะเป็น คือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ แต่ยังไม่มีผลตรวจยืนยัน และ 4. มีผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการชัดเจน ส่วนการพบผู้ป่วยอีโบลาเพิ่มที่ประเทศเซเนกัลนั้นมีไม่กี่ราย องค์การอนามัยโลกยังไม่ประกาศให้เป็นเขตโรค ดังนั้น มาตรการของไทยที่เฝ้าระวังประเทศที่มีการระบาดยังคงไว้ดังเดิมที่ 3 ประเทศ 1 เมือง คือ กินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และ เมืองลากอล ประเทศไนจีเรีย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (3 ก.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น. ที่กรมควบคุมโรค ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค (คร.) ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแนวทางชันสูตรและวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา แถลงข่าวความคืบหน้าอาการของหญิงชาวกินี อายุ 24 ปี ซึ่งเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีโบลา ภายหลังประชุมร่วมกับ นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดี คร. และคณะทำงานฯ ว่า หญิงชาวกินีคนดังกล่าว นับเป็นผู้เข้าเกณฑ์สอบสวนโรคอีโบลารายแรก โดยผลการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการครั้งที่ 1 ให้ผลเป็นลบ คือ ไม่พบเชื้ออีโบลา จากการติดตามอาการพบว่า ขณะนี้อาการดีขึ้น ไม่มีไข้มา 2 วัน โดยจะเจาะเลือดตรวจยืนยันซ้ำรอบ 2 ในวันนี้ ซึ่งนับเป็นวันที่ 5 ของการป่วย คาดว่าจะได้ผลตรวจยืนยันในวันที่ 6 ก.ย.
ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า หากผลการตรวจยืนยันรอบ 2 ยังคงไม่พบเชื้อก็สามารถปล่อยตัวหญิงรายดังกล่าวกลับบ้านได้ รวมถึงไม่ต้องติดตามเฝ้าระวังผู้ที่มีประวัติสัมผัสหญิงรายดังกล่าวอีก 16 คน เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยและผู้สัมผัสต้องเป็นกังวล แต่หากผลออกเป็นบวกก็จะให้การรักษาผู้ป่วย และต้องติดตามอาการผู้สัมผัสทั้ง 16 คน จนกว่าจะพ้นระยะการฟักตัวของโรคคือ 21 วัน
ผู้สื่อข่าวถามว่า หญิงรายดังกล่าวป่วยด้วยโรคอะไร หากไม่ได้ป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยมาด้วยอาการไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ อาการเริ่มต้นคล้ายอีโบลา และไข้หวัดใหญ่ จึงสงสัยว่าป่วยเป็นโรคอีโบลา เนื่องจากมาจากประเทศที่มีโรคชุกชุมและระบาด แต่จากการตรวจเชื้อทั้งอีโบลาและไข้หวัดใหญ่ต่างให้ผลเป็นลบคือไม่พบเชื้อ แต่ยังไม่ชัดเจนว่าป่วยด้วยโรคอะไร ซึ่งต่อไปนี้หากพบผู้เข้าเกณฑ์ต้องสอบสวนโรคอีก จะต้องมีการตรวจวิเคราะห์เชื้อทั้งหมดในคราวเดียว เพื่อดูว่าผู้ป่วยป่วยด้วยโรคใด
เมื่อถามว่าต้องมีการปรับปรุงระบบในการเฝ้าระวังเพิ่มเติมหรือไม่ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเสริฐ กล่าวว่า ผู้ป่วยรายนี้นับเป็นเคสแรกที่ตรวจพบนับแต่เริ่มระบบ หากพบว่าระบบยังคงทำงานได้ดี มีความลื่นไหล ก็ให้คงไว้ตามเดิมไม่จำเป็นต้องแก้ไข แต่หากมีจุดใดที่บกพร่องก็ต้องแก้ไขไปตามระบบ สำหรับการสอบสวนโรคยังยึดตามหลักเกณฑ์เดิมในผู้ป่วย 4 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มเข้าเกณฑ์สอบสวนโรค คือ มีไข้ และเดินทางมาจากประเทศที่มีการระบาด 2. กลุ่มสงสัยว่าติดเชื้อ คือ มีอาการชัดเจนกว่ากลุ่มแรก คือ มีเลือดออก 3. อาการน่าจะเป็น คือ มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยในพื้นที่ แต่ยังไม่มีผลตรวจยืนยัน และ 4. มีผลยืนยันทางห้องปฏิบัติการชัดเจน ส่วนการพบผู้ป่วยอีโบลาเพิ่มที่ประเทศเซเนกัลนั้นมีไม่กี่ราย องค์การอนามัยโลกยังไม่ประกาศให้เป็นเขตโรค ดังนั้น มาตรการของไทยที่เฝ้าระวังประเทศที่มีการระบาดยังคงไว้ดังเดิมที่ 3 ประเทศ 1 เมือง คือ กินี เซียร์ราลีโอน ไลบีเรีย และ เมืองลากอล ประเทศไนจีเรีย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่