ตุลาการหนุนแพทยสภาไม่ควรกำหนดเกณฑ์หญิงไม่ใช่ญาติตั้งท้องแทนใน กม.อุ้มบุญ แนะตั้งคณะทำงานพิจารณาเคส “ไม่จดทะเบียนสมรส-หญิงไม่ใช่ญาติท้องแทน” ดีกว่าปล่อยหมออุ้มบุญตรวจสอบเอง เฉลี่ยความรับผิดชอบหากผิดกฎหมาย ช่วยหมอกล้าให้บริการ ย้ำมั่นใจอุ้มบุญถูกต้อง ไม่ต้องกลัวบทลงโทษกฎหมายใหม่ ด้านแพทยสภารับลูก เห็นควรมีคนช่วยตรวจสอบ
แหล่งข่าวแวดวงด้านตุลาการ กล่าวถึงกรณีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) มีข้อทักท้วงต่อร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... โดยเตรียมเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เพิ่มประกาศของแพทยสภาที่ว่า หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติเท่านั้นลงไปในร่างกฎหมาย ขณะที่แพทยสภาเห็นว่าควรกำหนดอย่างกว้างๆ โดยให้เป็นไปตามประกาศของแพทยสภา ว่า เห็นด้วยที่ว่าร่างกฎหมายใหญ่ควรกำหนดอย่างกว้างๆ เพราะเมื่อกำหนดให้เป็นไปตามเกณฑ์ของแพทยสภาจะสามารถปรับเปลี่ยนกฎหมายลูกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันง่ายกว่า ส่วนข้อกังวลของแพทย์ผู้ให้บริการอุ้มบุญที่เห็นว่า การพิสูจน์คู่สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นคู่สามีภรรยาที่ชอบโดยกฎหมายจริงหรือไม่ รวมถึงการพิสูจน์ว่าคู่สามีภรรยาไม่มีญาติพี่น้องจริงๆ จนต้องใช้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทน อาจทำได้ยากในเชิงปฏิบัตินั้น จริงๆ แล้วไม่ใชเรื่องยาก เพราะต่อให้เป็นคู่สามีภรรยาจริง หรือเป็นญาติจริงก็ต้องมีการพิสูจน์ก่อนเช่นกัน เพียงแต่แพทยสภาจะต้องออกหลักเกณฑ์เพิ่มเติมให้ชัดเจน และไม่เป็นการโยนภาระให้แพทย์ผู้ให้บริการรับผิดชอบทั้งหมด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ตามปกติหากจะให้บริการอุ้มบุญผู้ที่ไม่ใช่ญาติจะต้องยื่นเรื่องต่อแพทยสภาพิจารณาเป็นรายไป การรวบรวมข้อมูลแวดล้อมเพื่อยืนยันว่า คู่สามีภรรยาไม่มีญาติจริง และหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมีภาวะพร้อม ไม่มีการรับจ้าง แพทยสภาจะตองตั้งคณะทำงานขึ้นมารวบรวมข้อมูลโดยเฉพาะ โดยอาจส่งเจ้าหน้าที่หรือนักจิตวิทยาลงไปรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งให้แพทยสภาพิจารณา ไม่ใช่ผลักภาระให้แพทย์ผู้ให้บริการรับผิดชอบฝ่ายเดียว
“ ยิ่งร่างกฎหมายใหม่มีการเพิ่มโทษทางอาญาด้วยอาจทำให้แพทย์กังวลจนไม่กล้าให้บริการ การมีคณะทำงานขึ้นมาช่วยรับผิดชอบจะช่วยให้แพทย์กล้าให้บริการมากขึ้น ที่สำคัญเมื่อมั่นใจว่าให้บริการอย่างถูกต้องจริง ก็ไม่ต้องเกรงกลัวกฎหมายจะเอาผิด” แหล่งข่าวกล่าว
ด้าน ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า เห็นด้วยอข้อเสนอดังกล่าวที่จะมีบุคคลอื่นมาช่วยคัดกรองข้อมูลก่อนที่แพทย์จะดำเนินการทำอุ้มบุญ เพราะที่ผ่านมาแพทย์มักไม่ค่อยดูรายละเอียด แต่สิ่งที่จะต้องมีร่วมด้วยคือเช็กลิสต์ว่าขาดคุณสมบัติในเรื่องใด เช่น ไม่มีญาติมารับท้องแทน เป็นต้น แล้วค่อยลงไปตรวจสอบ แต่อาจมีปัญหาสำหรับเคสชาวต่างชาติที่เข้ามาทำ เพราะการตรวจสอบข้อมูลกลับไปถึงประเทศต้นทางทำได้ยาก อย่างไรก็ตาม โดยปกติชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำอุ้มบุญแบบถูกกฎหมายจะต้องได้รับรองข้อมูลผ่านมาทางสถานทูต ซึ่งก็จะช่วยคัดกรองได้ในระดับหนึ่ง เพราะหากมีการปลอมแปลงข้อมูลเข้ามาอย่างผิดกฎหมายจริงผ่านทางสถานทูต ความผิดก็จะไม่อยู่กับแพทย์ผู้ให้บริการ แต่ต้องให้ประเทศต้นทางดำเนินการเอาผิดเอง
ศ.นพ.สมศักดิ์กล่าวอีกว่า ส่วนการตั้งคณะทำงานขึ้นมานั้น อาจตั้งผ่านร่างกฎหมาย เพราะขณะนี้ก็มีการเสนอให้มีคณะกรรมการภาคสังคมมากขึ้น เนื่องจากสัดส่วนของแพทย์มีมากกว่า ก็อาจกำหนดในร่างกฎหมายให้ชัดว่าไปตั้งคณะทำงานพิสูจน์จากส่วนนี้ก็ได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
แหล่งข่าวแวดวงด้านตุลาการ กล่าวถึงกรณีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) มีข้อทักท้วงต่อร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. ... โดยเตรียมเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เพิ่มประกาศของแพทยสภาที่ว่า หญิงรับตั้งครรภ์แทนต้องเป็นญาติเท่านั้นลงไปในร่างกฎหมาย ขณะที่แพทยสภาเห็นว่าควรกำหนดอย่างกว้างๆ โดยให้เป็นไปตามประกาศของแพทยสภา ว่า เห็นด้วยที่ว่าร่างกฎหมายใหญ่ควรกำหนดอย่างกว้างๆ เพราะเมื่อกำหนดให้เป็นไปตามเกณฑ์ของแพทยสภาจะสามารถปรับเปลี่ยนกฎหมายลูกให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันง่ายกว่า ส่วนข้อกังวลของแพทย์ผู้ให้บริการอุ้มบุญที่เห็นว่า การพิสูจน์คู่สามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นคู่สามีภรรยาที่ชอบโดยกฎหมายจริงหรือไม่ รวมถึงการพิสูจน์ว่าคู่สามีภรรยาไม่มีญาติพี่น้องจริงๆ จนต้องใช้หญิงอื่นรับตั้งครรภ์แทน อาจทำได้ยากในเชิงปฏิบัตินั้น จริงๆ แล้วไม่ใชเรื่องยาก เพราะต่อให้เป็นคู่สามีภรรยาจริง หรือเป็นญาติจริงก็ต้องมีการพิสูจน์ก่อนเช่นกัน เพียงแต่แพทยสภาจะต้องออกหลักเกณฑ์เพิ่มเติมให้ชัดเจน และไม่เป็นการโยนภาระให้แพทย์ผู้ให้บริการรับผิดชอบทั้งหมด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ตามปกติหากจะให้บริการอุ้มบุญผู้ที่ไม่ใช่ญาติจะต้องยื่นเรื่องต่อแพทยสภาพิจารณาเป็นรายไป การรวบรวมข้อมูลแวดล้อมเพื่อยืนยันว่า คู่สามีภรรยาไม่มีญาติจริง และหญิงที่รับตั้งครรภ์แทนมีภาวะพร้อม ไม่มีการรับจ้าง แพทยสภาจะตองตั้งคณะทำงานขึ้นมารวบรวมข้อมูลโดยเฉพาะ โดยอาจส่งเจ้าหน้าที่หรือนักจิตวิทยาลงไปรวบรวมข้อมูลเพื่อส่งให้แพทยสภาพิจารณา ไม่ใช่ผลักภาระให้แพทย์ผู้ให้บริการรับผิดชอบฝ่ายเดียว
“ ยิ่งร่างกฎหมายใหม่มีการเพิ่มโทษทางอาญาด้วยอาจทำให้แพทย์กังวลจนไม่กล้าให้บริการ การมีคณะทำงานขึ้นมาช่วยรับผิดชอบจะช่วยให้แพทย์กล้าให้บริการมากขึ้น ที่สำคัญเมื่อมั่นใจว่าให้บริการอย่างถูกต้องจริง ก็ไม่ต้องเกรงกลัวกฎหมายจะเอาผิด” แหล่งข่าวกล่าว
ด้าน ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า เห็นด้วยอข้อเสนอดังกล่าวที่จะมีบุคคลอื่นมาช่วยคัดกรองข้อมูลก่อนที่แพทย์จะดำเนินการทำอุ้มบุญ เพราะที่ผ่านมาแพทย์มักไม่ค่อยดูรายละเอียด แต่สิ่งที่จะต้องมีร่วมด้วยคือเช็กลิสต์ว่าขาดคุณสมบัติในเรื่องใด เช่น ไม่มีญาติมารับท้องแทน เป็นต้น แล้วค่อยลงไปตรวจสอบ แต่อาจมีปัญหาสำหรับเคสชาวต่างชาติที่เข้ามาทำ เพราะการตรวจสอบข้อมูลกลับไปถึงประเทศต้นทางทำได้ยาก อย่างไรก็ตาม โดยปกติชาวต่างชาติที่จะเข้ามาทำอุ้มบุญแบบถูกกฎหมายจะต้องได้รับรองข้อมูลผ่านมาทางสถานทูต ซึ่งก็จะช่วยคัดกรองได้ในระดับหนึ่ง เพราะหากมีการปลอมแปลงข้อมูลเข้ามาอย่างผิดกฎหมายจริงผ่านทางสถานทูต ความผิดก็จะไม่อยู่กับแพทย์ผู้ให้บริการ แต่ต้องให้ประเทศต้นทางดำเนินการเอาผิดเอง
ศ.นพ.สมศักดิ์กล่าวอีกว่า ส่วนการตั้งคณะทำงานขึ้นมานั้น อาจตั้งผ่านร่างกฎหมาย เพราะขณะนี้ก็มีการเสนอให้มีคณะกรรมการภาคสังคมมากขึ้น เนื่องจากสัดส่วนของแพทย์มีมากกว่า ก็อาจกำหนดในร่างกฎหมายให้ชัดว่าไปตั้งคณะทำงานพิสูจน์จากส่วนนี้ก็ได้
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่