สพฉ.เตือน “งู-แมงป่อง-ตะขาบ” กัดช่วงหน้าฝน พบสถิติพุ่งกว่าหมื่นราย แนะวิธีปฐมพยาบาล
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ช่วงหน้าฝน นอกจากต้องระวังเรื่องการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอาการไข้หวัด ปอดบวม แล้ว ยังต้องระวังเรื่องการถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยเฉพาะงูพิษ แมงป่อง และตะขาบ โดยงูพิษเป็นสัตว์ที่น่ากลัวที่สุด จะแฝงตัวอยู่ในพื้นที่รกและชื้นแฉะ ซึ่งข้อมูลจาก สพฉ. พบว่า ปีที่ผ่านมา มีผู้ถูกสัตว์มีพิษกัดทั้งสิ้น 13,009 ราย และข้อมูลจากสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ระบุว่า งูพิษที่พบมากที่สุดในไทย คือ 1. งูพิษที่มีผลต่อระบบประสาท ได้แก่ งูเห่าไทย งูเห่าพ่นพิษสยาม งูจงอาง และ งูสามเหลี่ยม โดยพิษของงูจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นอัมพาต จะเริ่มจากกล้ามเนื้อมัดเล็ก ไปจนถึงกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และสุดท้ายจะเป็นทั้งตัว อาการแรกเริ่ม คือ หนังตาตก ผู้ป่วยลืมตาไม่ขึ้น ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดๆ ว่าผู้ป่วยง่วงนอน ต่อมาจะเริ่มกลืนน้ำลายลำบาก พูดอ้อแอ้ และหยุดหายใจ เสียชีวิต
นพ.อนุชา กล่าวว่า 2. งูพิษที่มีผลต่อระบบเลือด ได้แก่ งูแมวเซา ซึ่งหากถูกกัด จะมีอาการปวดบวมบริเวณรอบแผลเล็กน้อย และ งูกะปะ หากถูกกัดจะพบตุ่มน้ำเลือด และมีเลือดออกจากแผลที่ถูกกัด ส่วนกรณีของงูเขียวหางไหม้ จะมีอาการบวมบริเวณที่ถูกกัด และลามขึ้นค่อนข้างมาก เช่น ถูกกัดบริเวณนิ้วมือ แต่บวมทั้งแขน นอกจากนี้ จะมีอาการช้ำเลือด และพิษของงูจะไปทำให้เลือดในร่างกายไม่แข็งตัว เลือดออกไม่หยุด หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในสมอง ปัสสาวะมีเลือดปน เลือดออกตามไรฟัน หรือพบภาวะไตวายเฉียบพลันร่วมด้วยได้ และ 3. งูพิษที่มีผลทำลายกล้ามเนื้อ ได้แก่ งูทะเล โดยจะทำให้ปวดกล้ามเนื้อทั่วตัว ปัสสาวะมีสีเข้ม จนถึงสีดำ ปัสสาวะออกน้อย เนื่องจากมีภาวะไตวายเฉียบพลัน อาจมีหัวใจหยุดเต้นจากภาวะโพแทสเซียมคั่งในเลือด
“หากท่านพบเห็นผู้ที่ถูกงูพิษเหล่านี้กัด เมื่อตรวจสอบแล้วว่าเป็นงูพิษ ให้รีบโทร. แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ จากนั้นให้ทำการปฐมพยาบาลตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยต้องรีบล้างแผลให้สะอาด ห้ามกรีดบาดแผล หรือดูดเลือดออกจากบาดแผลเด็ดขาด เนื่องจากเป็นความเข้าใจผิด และอาจจะทำให้ผู้ที่เข้าช่วยเหลือจะได้รับพิษไปด้วยหากมีบาดแผลในช่องปาก นอกจากนี้ ห้ามกินยาที่มีส่วนผสมของแอสไพริน เพราะจะไปเสริมฤทธิ์ให้พิษงูทำงานเร็วยิ่งขึ้น และควรจัดให้ผู้ที่ถูกงูพิษกัดนอนนิ่งๆ จัดส่วนที่มีงูกัดให้ต่ำกว่าระดับหัวใจ อย่าเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น ที่สำคัญไม่ควรปฐมพยาบาลด้วยการขันชะเนาะ เพราะหากทำผิดวิธีจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีอันตรายมากยิ่งขึ้น และหากผู้ป่วยฉุกเฉินหยุดหายใจจะต้องรีบทำการฟื้นคืนชีพ หรือ CPR” เลขาธิการ สพฉ. กล่าว
นพ.อนุชา กล่าวว่า ส่วนผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษอื่นๆ กัด เช่น แมงป่อง ควรให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ อย่าเคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้พิษกระจายไปเร็ว จากนั้นให้ล้างแผลให้สะอาดและใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อย ซึ่งในกรณีผู้ที่แพ้พิษแมงป่อง คือ มีอาการใจสั่น ปัสสาวะเข้ม ไข้ขึ้น หรือชัก และมีความผิดปกติทางระบบประสาท ควรรีบโทร. แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ ส่วนผู้ป่วยที่ถูกตะขาบกัด ก็ควรล้างแผลให้สะอาดเช่นกัน ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดบวม ซึ่งหากมีอาการบวมมากควรรีบไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงหน้าฝน ประชาชนควรระมัดระวังตนเองในเบื้องตนก่อน โดยต้องหมั่นสังเกตพื้นที่บริเวณรอบบ้าน ว่ามีส่วนไหนที่รกและอับชื้นหรือไม่ และหากจำเป็นต้องเดินในพื้นที่รกชื้นควรใส่รองเท้าหุ้มส้น เตรียมไฟฉายไว้ส่องสว่าง และเตรียมไม้ไว้ตีไล่สัตว์มีพิษออกไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ช่วงหน้าฝน นอกจากต้องระวังเรื่องการเจ็บป่วยฉุกเฉินจากอาการไข้หวัด ปอดบวม แล้ว ยังต้องระวังเรื่องการถูกสัตว์มีพิษกัดต่อย โดยเฉพาะงูพิษ แมงป่อง และตะขาบ โดยงูพิษเป็นสัตว์ที่น่ากลัวที่สุด จะแฝงตัวอยู่ในพื้นที่รกและชื้นแฉะ ซึ่งข้อมูลจาก สพฉ. พบว่า ปีที่ผ่านมา มีผู้ถูกสัตว์มีพิษกัดทั้งสิ้น 13,009 ราย และข้อมูลจากสถานเสาวภา สภากาชาดไทย ระบุว่า งูพิษที่พบมากที่สุดในไทย คือ 1. งูพิษที่มีผลต่อระบบประสาท ได้แก่ งูเห่าไทย งูเห่าพ่นพิษสยาม งูจงอาง และ งูสามเหลี่ยม โดยพิษของงูจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง และเป็นอัมพาต จะเริ่มจากกล้ามเนื้อมัดเล็ก ไปจนถึงกล้ามเนื้อมัดใหญ่ และสุดท้ายจะเป็นทั้งตัว อาการแรกเริ่ม คือ หนังตาตก ผู้ป่วยลืมตาไม่ขึ้น ซึ่งมักถูกเข้าใจผิดๆ ว่าผู้ป่วยง่วงนอน ต่อมาจะเริ่มกลืนน้ำลายลำบาก พูดอ้อแอ้ และหยุดหายใจ เสียชีวิต
นพ.อนุชา กล่าวว่า 2. งูพิษที่มีผลต่อระบบเลือด ได้แก่ งูแมวเซา ซึ่งหากถูกกัด จะมีอาการปวดบวมบริเวณรอบแผลเล็กน้อย และ งูกะปะ หากถูกกัดจะพบตุ่มน้ำเลือด และมีเลือดออกจากแผลที่ถูกกัด ส่วนกรณีของงูเขียวหางไหม้ จะมีอาการบวมบริเวณที่ถูกกัด และลามขึ้นค่อนข้างมาก เช่น ถูกกัดบริเวณนิ้วมือ แต่บวมทั้งแขน นอกจากนี้ จะมีอาการช้ำเลือด และพิษของงูจะไปทำให้เลือดในร่างกายไม่แข็งตัว เลือดออกไม่หยุด หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกในสมอง ปัสสาวะมีเลือดปน เลือดออกตามไรฟัน หรือพบภาวะไตวายเฉียบพลันร่วมด้วยได้ และ 3. งูพิษที่มีผลทำลายกล้ามเนื้อ ได้แก่ งูทะเล โดยจะทำให้ปวดกล้ามเนื้อทั่วตัว ปัสสาวะมีสีเข้ม จนถึงสีดำ ปัสสาวะออกน้อย เนื่องจากมีภาวะไตวายเฉียบพลัน อาจมีหัวใจหยุดเต้นจากภาวะโพแทสเซียมคั่งในเลือด
“หากท่านพบเห็นผู้ที่ถูกงูพิษเหล่านี้กัด เมื่อตรวจสอบแล้วว่าเป็นงูพิษ ให้รีบโทร. แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์ จากนั้นให้ทำการปฐมพยาบาลตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ โดยต้องรีบล้างแผลให้สะอาด ห้ามกรีดบาดแผล หรือดูดเลือดออกจากบาดแผลเด็ดขาด เนื่องจากเป็นความเข้าใจผิด และอาจจะทำให้ผู้ที่เข้าช่วยเหลือจะได้รับพิษไปด้วยหากมีบาดแผลในช่องปาก นอกจากนี้ ห้ามกินยาที่มีส่วนผสมของแอสไพริน เพราะจะไปเสริมฤทธิ์ให้พิษงูทำงานเร็วยิ่งขึ้น และควรจัดให้ผู้ที่ถูกงูพิษกัดนอนนิ่งๆ จัดส่วนที่มีงูกัดให้ต่ำกว่าระดับหัวใจ อย่าเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น ที่สำคัญไม่ควรปฐมพยาบาลด้วยการขันชะเนาะ เพราะหากทำผิดวิธีจะยิ่งทำให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีอันตรายมากยิ่งขึ้น และหากผู้ป่วยฉุกเฉินหยุดหายใจจะต้องรีบทำการฟื้นคืนชีพ หรือ CPR” เลขาธิการ สพฉ. กล่าว
นพ.อนุชา กล่าวว่า ส่วนผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษอื่นๆ กัด เช่น แมงป่อง ควรให้ผู้ป่วยนอนนิ่งๆ อย่าเคลื่อนไหว เพื่อไม่ให้พิษกระจายไปเร็ว จากนั้นให้ล้างแผลให้สะอาดและใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบบริเวณที่ถูกต่อย ซึ่งในกรณีผู้ที่แพ้พิษแมงป่อง คือ มีอาการใจสั่น ปัสสาวะเข้ม ไข้ขึ้น หรือชัก และมีความผิดปกติทางระบบประสาท ควรรีบโทร. แจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือ ส่วนผู้ป่วยที่ถูกตะขาบกัด ก็ควรล้างแผลให้สะอาดเช่นกัน ประคบเย็นเพื่อลดอาการปวดบวม ซึ่งหากมีอาการบวมมากควรรีบไปพบแพทย์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงหน้าฝน ประชาชนควรระมัดระวังตนเองในเบื้องตนก่อน โดยต้องหมั่นสังเกตพื้นที่บริเวณรอบบ้าน ว่ามีส่วนไหนที่รกและอับชื้นหรือไม่ และหากจำเป็นต้องเดินในพื้นที่รกชื้นควรใส่รองเท้าหุ้มส้น เตรียมไฟฉายไว้ส่องสว่าง และเตรียมไม้ไว้ตีไล่สัตว์มีพิษออกไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่