กรมควบคุมโรคเตือน 3 กลุ่มโรคที่มากับน้ำท่วม เสี่ยงบาดเจ็บ เจ็บป่วย จนถึงเสียชีวิต แนะดูแลสุขภาพ พักผ่อน ออกกำลังกายให้เพียงพอ จัดการสิ่งแวดล้อมไม่ให้เป็นแหล่งเพาะโรค พบป่วยไข้เกิน 2 วันให้รีบพบแพทย์
วันนี้ (24 ส.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึง ช่วงฤดูฝนอาจมีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมได้ในบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพตัวเอง เนื่องจากอาจเจ็บป่วย บาดเจ็บ และเสียชีวิต จากกลุ่มโรคที่มากับน้ำท่วมได้ มี 3 กลุ่ม คือ 1.โรคติดเชื้อ 7 โรค ได้แก่ โรคผิวหนัง โรคตาแดง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ และโรคไข้ฉี่หนู บางโรคอาจมีความรุนแรงน้อย เช่น โรคผิวหนัง จำพวกน้ำกัดเท้า เชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เกิดจากการย่ำน้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาด ส่วนบางโรคมีอาการรุนแรง และทำให้เสียชีวิต เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งปีนี้ระบาดรุนแรงกว่า 2-3 ปี โดย 8 เดือนมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 60 ราย ประชาชนกลุ่มเสี่ยงควรรีบไปรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฟรีที่สถานพยาบาลรัฐ
นพ.โสภณ กล่าวว่า 2. การบาดเจ็บที่เกิดจากสัตว์ แมลงมีพิษกัดต่อย เช่น งู ปลิง แมลงและสัตว์อื่นๆ เป็นต้น เพราะสัตว์เหล่านี้จะหนีน้ำท่วมขังขึ้นมาหลบบนที่สูง ถ้าถูกงูหรือสัตว์พิษกัด ต้องตั้งสติให้มั่น ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด (ถ้ามี) ห้ามกรีดแผล ห้ามดูดแผล ห้ามใช้ไฟ หรือไฟฟ้าจี้ที่แผล ห้ามประคบน้ำแข็ง ห้ามพอกสมุนไพร ห้ามดื่มสุรา แต่ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพที่ใกล้ที่สุด และ 3. อุบัติเหตุ ได้แก่ จมน้ำ ไฟฟ้าดูด วัตถุแหลมคม โดยเฉพาะประชาชนที่ประกอบอาชีพทางน้ำ เช่น หาปลา ต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม พักอาศัยในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ไม่ควรลงเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณที่น้ำท่วมขัง ให้ขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นที่สูง จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด อย่าปลอดให้อยู่ตามลำพัง ถ้าเดินทางควรเดินทางเป็นกลุ่ม และสวมชูชีพหรือเตรียมอุปกรณ์อื่นที่ช่วยในการลอยตัวในน้ำ เป็นต้น
“ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพมากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ จัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะโรค กำจัดขยะและแอ่งน้ำขัง หากป่วยมีไข้สูงเกิน 2 วันไม่ลดควรรีบพบแพทย์” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 ส.ค.) นพ.โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวถึง ช่วงฤดูฝนอาจมีฝนตกหนักและเกิดน้ำท่วมได้ในบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพตัวเอง เนื่องจากอาจเจ็บป่วย บาดเจ็บ และเสียชีวิต จากกลุ่มโรคที่มากับน้ำท่วมได้ มี 3 กลุ่ม คือ 1.โรคติดเชื้อ 7 โรค ได้แก่ โรคผิวหนัง โรคตาแดง โรคไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม อุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ และโรคไข้ฉี่หนู บางโรคอาจมีความรุนแรงน้อย เช่น โรคผิวหนัง จำพวกน้ำกัดเท้า เชื้อรา แผลพุพองเป็นหนอง เกิดจากการย่ำน้ำที่มีเชื้อโรค หรือความอับชื้นจากเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ไม่สะอาด ส่วนบางโรคมีอาการรุนแรง และทำให้เสียชีวิต เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งปีนี้ระบาดรุนแรงกว่า 2-3 ปี โดย 8 เดือนมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 60 ราย ประชาชนกลุ่มเสี่ยงควรรีบไปรับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ฟรีที่สถานพยาบาลรัฐ
นพ.โสภณ กล่าวว่า 2. การบาดเจ็บที่เกิดจากสัตว์ แมลงมีพิษกัดต่อย เช่น งู ปลิง แมลงและสัตว์อื่นๆ เป็นต้น เพราะสัตว์เหล่านี้จะหนีน้ำท่วมขังขึ้นมาหลบบนที่สูง ถ้าถูกงูหรือสัตว์พิษกัด ต้องตั้งสติให้มั่น ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด (ถ้ามี) ห้ามกรีดแผล ห้ามดูดแผล ห้ามใช้ไฟ หรือไฟฟ้าจี้ที่แผล ห้ามประคบน้ำแข็ง ห้ามพอกสมุนไพร ห้ามดื่มสุรา แต่ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลหรือสถานบริการสุขภาพที่ใกล้ที่สุด และ 3. อุบัติเหตุ ได้แก่ จมน้ำ ไฟฟ้าดูด วัตถุแหลมคม โดยเฉพาะประชาชนที่ประกอบอาชีพทางน้ำ เช่น หาปลา ต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม พักอาศัยในพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง ต้องเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ ไม่ควรลงเล่นน้ำในช่วงน้ำท่วม อย่าพยายามวิ่งหรือขับรถผ่านบริเวณที่น้ำท่วมขัง ให้ขนย้ายอุปกรณ์ไฟฟ้าขึ้นที่สูง จัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย ดูแลเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด อย่าปลอดให้อยู่ตามลำพัง ถ้าเดินทางควรเดินทางเป็นกลุ่ม และสวมชูชีพหรือเตรียมอุปกรณ์อื่นที่ช่วยในการลอยตัวในน้ำ เป็นต้น
“ขอให้ประชาชนดูแลสุขภาพมากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกาย เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ จัดการสิ่งแวดล้อมรอบบ้านไม่ให้เป็นแหล่งเพาะโรค กำจัดขยะและแอ่งน้ำขัง หากป่วยมีไข้สูงเกิน 2 วันไม่ลดควรรีบพบแพทย์” อธิบดี คร. กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่