สสส. ดึงเยาวชนรังสรรค์บทเพลงสะท้อนปัญหาสังคม ระบุก่อนทำเพลงส่งเยาวชนคลุกคลีพื้นที่จริง
นายรัชพงศ์ โอชาพงศ์ ผู้จัดการโครงการ “พลังเพลง พลังปัญญา” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับกลุ่มเยาวชนทริเปิล เอช มิวสิค (Triple H Music) สนับสนุนกลุ่มเยาวชนที่มีความสามารถทางดนตรีร่วมผลิตผลงานเพลงที่มีเนื้อหาสะท้อนสังคม และเกิดกระบวนการสร้างทักษะความสุขทางปัญญา เพื่อสร้างทักษะเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมแก่เยาวชน ในการกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักรับรู้ปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข นอกเหนือไปจากเพลงที่เน้นเรื่องอารมณ์ความรัก อารมณ์ความผิดหวัง เพียงอย่างเดียว
นายรัชพงศ์ กล่าวว่า โครงการจะดำเนินการคัดเลือกเยาวชนมาอบรมปฏิบัติการจำนวน 15 กลุ่ม ก่อนจะให้ทุนสนับสนุนเพื่อทำผลงานเพลงในรูปแบบที่สนใจ อาทิ ประเด็นกลุ่มคนไร้สัญชาติ กลุ่มคนไร้บ้าน ความเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน ฯลฯ พร้อมกันนี้ จะให้เยาวชนเข้าไปเรียนรู้จากสถานที่จริง กับกลุ่มคนทำงานเพื่อสังคม เช่น มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เชื่อว่า การให้เยาวชนสัมผัส คลุกคลีพื้นที่จริง มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้ได้รับผลกระทบ รับรู้ข้อมูลหลายด้าน เยาวชนจะเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนนำเสนอผ่านบทเพลงอย่างน้อยกลุ่มล่ะ1เพลง จากนั้นรวบรวมบทเพลงแล้วผลิตเป็นอัลบั้มนำไปเผยแพร่ต่อไป
“ดนตรี เสียงเพลง คือความชอบของวัยรุ่น แต่บทเพลงที่ดี ไม่ใช่คิดถึงแต่เรื่องความรักอารมณ์ความผิดหวัง จะต้องมองกว้างไปถึงสังคม สิ่งรอบตัวที่เราอาศัยอยู่ ดังนั้น กิจกรรมจะผนวกเอาเรื่องของดนตรีกับมุมมองทางสังคมมาผสมผสานกัน จนเกิดผลงานเพลงไพเราะแฝงไว้ด้วยสาระ สิ่งเหล่านี้เยาวชนเองก็จะเติบโตทางปัญญาไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้เรื่องที่เป็นจริงของสังคม”นายรัชพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นายรัชพงศ์ โอชาพงศ์ ผู้จัดการโครงการ “พลังเพลง พลังปัญญา” สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. ร่วมกับกลุ่มเยาวชนทริเปิล เอช มิวสิค (Triple H Music) สนับสนุนกลุ่มเยาวชนที่มีความสามารถทางดนตรีร่วมผลิตผลงานเพลงที่มีเนื้อหาสะท้อนสังคม และเกิดกระบวนการสร้างทักษะความสุขทางปัญญา เพื่อสร้างทักษะเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคมแก่เยาวชน ในการกระตุ้นให้คนในสังคมตระหนักรับรู้ปัญหาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข นอกเหนือไปจากเพลงที่เน้นเรื่องอารมณ์ความรัก อารมณ์ความผิดหวัง เพียงอย่างเดียว
นายรัชพงศ์ กล่าวว่า โครงการจะดำเนินการคัดเลือกเยาวชนมาอบรมปฏิบัติการจำนวน 15 กลุ่ม ก่อนจะให้ทุนสนับสนุนเพื่อทำผลงานเพลงในรูปแบบที่สนใจ อาทิ ประเด็นกลุ่มคนไร้สัญชาติ กลุ่มคนไร้บ้าน ความเปลี่ยนแปลงด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิชุมชน ฯลฯ พร้อมกันนี้ จะให้เยาวชนเข้าไปเรียนรู้จากสถานที่จริง กับกลุ่มคนทำงานเพื่อสังคม เช่น มูลนิธิกระจกเงา มูลนิธิสุขภาพไทย มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เชื่อว่า การให้เยาวชนสัมผัส คลุกคลีพื้นที่จริง มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้ได้รับผลกระทบ รับรู้ข้อมูลหลายด้าน เยาวชนจะเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ก่อนนำเสนอผ่านบทเพลงอย่างน้อยกลุ่มล่ะ1เพลง จากนั้นรวบรวมบทเพลงแล้วผลิตเป็นอัลบั้มนำไปเผยแพร่ต่อไป
“ดนตรี เสียงเพลง คือความชอบของวัยรุ่น แต่บทเพลงที่ดี ไม่ใช่คิดถึงแต่เรื่องความรักอารมณ์ความผิดหวัง จะต้องมองกว้างไปถึงสังคม สิ่งรอบตัวที่เราอาศัยอยู่ ดังนั้น กิจกรรมจะผนวกเอาเรื่องของดนตรีกับมุมมองทางสังคมมาผสมผสานกัน จนเกิดผลงานเพลงไพเราะแฝงไว้ด้วยสาระ สิ่งเหล่านี้เยาวชนเองก็จะเติบโตทางปัญญาไปพร้อมๆ กับการเรียนรู้เรื่องที่เป็นจริงของสังคม”นายรัชพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่