บอร์ดคณะอนุกรรมการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เห็นชอบจดทะเบียนหญิงตั้งครรภ์เด็กอุ้มบุญเพื่อดูแลเด็กระหว่างรอกม.คุ้มครองฉบับใหม่
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. เวลา 16.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดพม.กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ครั้งที่ 2/2557 เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (การอุ้มบุญ) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งการดำเนินงานและความคืบหน้าการปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีมติให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็กให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (กลุ่มมาเจสติก) เป็นผู้ยกร่างพระราชบัญญัติฯ โดยการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฉบับใหม่จะแก้ปัญหาหลายๆ เรื่องที่เคยมีอยู่และต้องเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบต้องมีบทบัญญัติรองรับ ส่วนสิ่งที่เปลี่ยนไปใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก คือวิธีพิจารณาความหรือกระบวนการใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฉบับใหม่ จะไม่มีการฟ้อง ไม่มีการดำเนินคดี และไม่มีบทบัญญัติลงโทษทางอาญา ถ้าหากมีการกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็ก ก็ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กปกติในประเทศต่างๆ จะใช้สำหรับในการดำเนินคดี คือทำให้เด็กได้รับการคุ้มครอง หรือให้เด็กได้รับสิทธิการมีที่อยู่ตามกฎหมายทั่วไป เรื่องของสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพต้องเปลี่ยนใหม่หมด เพราะเดิมบางเรื่องให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เต็มที่ บางเรื่องให้ไปฟ้องที่ศาล จึงได้ร่างกฎหมายวิธีพิจารณาเข้ามารองรับไว้
นายวิเชียร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์(การอุ้มบุญ) รวมถึงขอบเขตอำนาจในการดูแลเด็กที่จะเกิดมาในช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายใหม่มาใช้ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบว่า ต้องให้การดูแลคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยให้รับจดแจ้งแม่ที่ตั้งครรภ์ เพื่อดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนคลอด ทั้งนี้ พม. ในฐานะทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเด็กแห่งชาติ จะทำหน้าที่รับจดแจ้งลงทะเบียนตลอดจนให้ความคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพเด็ก โดยข้อสรุปในที่ประชุมครั้งนี้จะนำไปเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเด็กแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่
เมื่อวันที่ 15 ส.ค. เวลา 16.00 น. ที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) นายวิเชียร ชวลิต ปลัดพม.กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก ครั้งที่ 2/2557 เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ (การอุ้มบุญ) ว่า ที่ประชุมได้รับทราบแนวทางการปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ซึ่งการดำเนินงานและความคืบหน้าการปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 มีมติให้คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับเด็กให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (กลุ่มมาเจสติก) เป็นผู้ยกร่างพระราชบัญญัติฯ โดยการร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฉบับใหม่จะแก้ปัญหาหลายๆ เรื่องที่เคยมีอยู่และต้องเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะการพัฒนาระบบต้องมีบทบัญญัติรองรับ ส่วนสิ่งที่เปลี่ยนไปใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก คือวิธีพิจารณาความหรือกระบวนการใน พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กฉบับใหม่ จะไม่มีการฟ้อง ไม่มีการดำเนินคดี และไม่มีบทบัญญัติลงโทษทางอาญา ถ้าหากมีการกระทำความผิดทางอาญาต่อเด็ก ก็ให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายอาญา แต่ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กปกติในประเทศต่างๆ จะใช้สำหรับในการดำเนินคดี คือทำให้เด็กได้รับการคุ้มครอง หรือให้เด็กได้รับสิทธิการมีที่อยู่ตามกฎหมายทั่วไป เรื่องของสงเคราะห์คุ้มครองสวัสดิภาพต้องเปลี่ยนใหม่หมด เพราะเดิมบางเรื่องให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เต็มที่ บางเรื่องให้ไปฟ้องที่ศาล จึงได้ร่างกฎหมายวิธีพิจารณาเข้ามารองรับไว้
นายวิเชียร กล่าวต่อว่า ที่ประชุมยังได้พิจารณาหลักเกณฑ์และแนวทางการคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์(การอุ้มบุญ) รวมถึงขอบเขตอำนาจในการดูแลเด็กที่จะเกิดมาในช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายใหม่มาใช้ ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบว่า ต้องให้การดูแลคุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก โดยให้รับจดแจ้งแม่ที่ตั้งครรภ์ เพื่อดูแลเด็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์จนคลอด ทั้งนี้ พม. ในฐานะทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการเด็กแห่งชาติ จะทำหน้าที่รับจดแจ้งลงทะเบียนตลอดจนให้ความคุ้มครองดูแลสวัสดิภาพเด็ก โดยข้อสรุปในที่ประชุมครั้งนี้จะนำไปเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการเด็กแห่งชาติเพื่อพิจารณาต่อไป
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ "Quality of Life" ได้ที่