โหนกระแสอีโบลา! โฆษณาลวงขายน้ำว่านสมุนไพร อ้างสรรพคุณป้องกันเชื้ออีโบลา คคส. ยันทางการแพทย์ไม่มีข้อมูลชี้ชัด เล็งประสาน อย. สคบ. องค์กรผู้บริโภคให้ความรู้ประชาชนไม่หลงกลเชื่อโฆษณาลวง จนตกเป็นเหยื่อ
วันที่ (14 ส.ค.) รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม และผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีการระบาดของเชื้ออีโบลา และมีผู้เสียชีวิตในประเทศแอฟริกาจำนวนมาก ว่า ขณะนี้พบว่ามีในอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ต่างๆ มีการโฆษณาหลอกขายยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อป้องกันเชื้ออีโบลาแก่ผู้บริโภค ทำให้เสียเงินเปล่าและเป็นการหลอกลวง โดยหลอกว่ามีน้ำว่านฆ่าเชื้อไวรัสได้ ราคาขวดละ 1,000 กว่าบาท และหลอกลวงให้ซื้อน้ำว่านมากินป้องกันโรคไว้ก่อน ขอยืนยันว่าไม่มีข้อมูลวิชาการใดที่สนับสนุนให้กินน้ำว่าน ยาหรืออาหารใดๆ เพื่อป้องกันเชื้ออีโบลาได้ เช่นเดียวกันที่ขณะนี้ยังไม่หลักฐานวิชาการสนับสนุนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับประชาชนเป็นการเฉพาะต่อโรคดังกล่าว รวมถึงยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค
“การโฆษณาหลอกลวงดังกล่าว ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ร.บ.อาหาร และ พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ ฐานอวดอ้างสรรพคุณทางยา หรืออาหาร โดยไม่ขออนุญาต รวมทั้งการโฆษณาเป็นเท็จหลอกลวงผู้บริโภค โดยมีโทษจำคุก และโทษปรับ จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เครื่องมือแพทย์ใดใด ที่สามารถป้องกันเชื้ออีโบลาเป็นการเฉพาะได้ โดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แจ้งเตือนผู้บริโภคไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากกลุ่มผู้ขายสินค้าเหล่านี้ และขอให้องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ร่วมรณรงค์เรื่องอีโบลาให้ถูกต้อง ไม่ให้เกิดการตื่นตระหนกจากกระแสข่าวจนเกินความจริง ทำให้ต้องเสียเงินซื้อสินค้าที่หลอกลวงดังกล่าว” รศ.ดร.ภก.วิทยา กล่าว
รศ.ดร.ภก.วิทยา กล่าวว่า สำหรับโอกาสการระบาดเชื้ออีโบลาในประเทศไทย จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีผู้ติดเชื้อเข้ามาในประเทศไทย หรือมีคนจากประเทศไทยเดินทางไปประเทศแอฟฟริกา ซึ่งอาจติดเชื้อแล้วกลับเข้ามา แต่ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยหรือผู้ที่อาจติดเชื้อ นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังได้จัดระบบติดตามผู้เดินทางเข้าออกโดยเฉพาะที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกาอย่างเข้มงวด จึงถือได้ว่าประเทศไทยมีระบบการป้องกันที่ดีในขณะนี้และยังไม่ต้องเตรียมตัวในลักษณะที่มีผู้ติดเชื้อแล้ว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันที่ (14 ส.ค.) รศ.ดร.ภก.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม และผู้จัดการแผนงานพัฒนาวิชาการและกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวถึงกรณีการระบาดของเชื้ออีโบลา และมีผู้เสียชีวิตในประเทศแอฟริกาจำนวนมาก ว่า ขณะนี้พบว่ามีในอินเทอร์เน็ต เว็บไซต์ต่างๆ มีการโฆษณาหลอกขายยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อป้องกันเชื้ออีโบลาแก่ผู้บริโภค ทำให้เสียเงินเปล่าและเป็นการหลอกลวง โดยหลอกว่ามีน้ำว่านฆ่าเชื้อไวรัสได้ ราคาขวดละ 1,000 กว่าบาท และหลอกลวงให้ซื้อน้ำว่านมากินป้องกันโรคไว้ก่อน ขอยืนยันว่าไม่มีข้อมูลวิชาการใดที่สนับสนุนให้กินน้ำว่าน ยาหรืออาหารใดๆ เพื่อป้องกันเชื้ออีโบลาได้ เช่นเดียวกันที่ขณะนี้ยังไม่หลักฐานวิชาการสนับสนุนการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับประชาชนเป็นการเฉพาะต่อโรคดังกล่าว รวมถึงยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค
“การโฆษณาหลอกลวงดังกล่าว ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.ยา พ.ร.บ.อาหาร และ พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ ฐานอวดอ้างสรรพคุณทางยา หรืออาหาร โดยไม่ขออนุญาต รวมทั้งการโฆษณาเป็นเท็จหลอกลวงผู้บริโภค โดยมีโทษจำคุก และโทษปรับ จึงขอให้ผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อซื้อยา สมุนไพร ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือ เครื่องมือแพทย์ใดใด ที่สามารถป้องกันเชื้ออีโบลาเป็นการเฉพาะได้ โดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) แจ้งเตือนผู้บริโภคไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากกลุ่มผู้ขายสินค้าเหล่านี้ และขอให้องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคทั้งภาครัฐและภาคประชาชน ร่วมรณรงค์เรื่องอีโบลาให้ถูกต้อง ไม่ให้เกิดการตื่นตระหนกจากกระแสข่าวจนเกินความจริง ทำให้ต้องเสียเงินซื้อสินค้าที่หลอกลวงดังกล่าว” รศ.ดร.ภก.วิทยา กล่าว
รศ.ดร.ภก.วิทยา กล่าวว่า สำหรับโอกาสการระบาดเชื้ออีโบลาในประเทศไทย จะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีผู้ติดเชื้อเข้ามาในประเทศไทย หรือมีคนจากประเทศไทยเดินทางไปประเทศแอฟฟริกา ซึ่งอาจติดเชื้อแล้วกลับเข้ามา แต่ขณะนี้ยังไม่พบผู้ป่วยหรือผู้ที่อาจติดเชื้อ นอกจากนี้ กระทรวงสาธารณสุขยังได้จัดระบบติดตามผู้เดินทางเข้าออกโดยเฉพาะที่เดินทางมาจากทวีปแอฟริกาอย่างเข้มงวด จึงถือได้ว่าประเทศไทยมีระบบการป้องกันที่ดีในขณะนี้และยังไม่ต้องเตรียมตัวในลักษณะที่มีผู้ติดเชื้อแล้ว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่