อย. ชี้ ออกประกาศคุมการขาย “โบท็อกซ์” เฉพาะสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ช่วยลดการแบ่งขาย ลักลอบฉีดเองได้ เหตุต้องรายงานการขาย ช่วยติดตามผลิตภัณฑ์ได้ทุกล็อต ด้านผู้ผลิต/นำเข้าห่วงเกณฑ์วัดแพทย์เชี่ยวชาญไม่ชัด รอแพทยสภาเคาะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรไหน อย่างไร
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีการออกประกาศมาตรการควบคุม กำกับ ดูแลผลิตภัณฑ์โบทูลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) หรือ โบท็อกซ์ โดยให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์โบท็อกซ์เฉพาะสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำอยู่ และเพิ่มข้อความบนฉลาก “เฉพาะสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอยู่ประจำ” ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่า หลังออกประกาศไปทางกลุ่มผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์โบท็อกซ์ค่อนข้างกังวลว่าจะสามารถขายให้แก่ใครได้บ้าง เพราะยังไม่ชัดเจนว่าจะใช้เกณฑ์ใดมาตัดสินว่าแพทย์รายใดคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งต้องรอให้แพทยสภาระบุให้ชัดเจนว่า การอบรมหลักสูตรใดบ้างที่แพทยสภารับรองว่าผ่านแล้วจะเป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถฉีดโบท็อกซ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์สาขาใดก็ตาม ซึ่ง อย. ก็พร้อมที่จะใช้เกณฑ์ตามแพทยสภาเสนอ
“ระหว่างนี้ก็แนะนำให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าดำเนินการตามประกาศคือเพิ่มข้อความในฉลาก และต้องรายงานข้อมูลการขายกลับมายัง อย. เพื่อให้ทราบข้อมูลแต่ละล็อตการขายว่าส่งไปยังสถานพยาบาลใดบ้าง เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามควบคุม และลดการใช้แบบสะเปะสะปะนอกคลินิก สำหรับการขายยังให้ขายไปตามปกติก่อน แต่หากแพทยสภาให้ข้อมูลคำจำกัดความเรื่องแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ชัดเจนเมื่อไรก็จะตรวจสอบอย่างเข้มงวดว่าส่งขายตามที่กำหนดหรือไม่” เลขาธิการ อย. กล่าว
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า ส่วนข้อกังวลเรื่องการแบ่งขายโบท็อกซ์ เพื่อนำไปใช้เองนั้น การออกประกาศที่ล็อกให้ขายเฉพาะสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และต้องมีการรายงานข้อมูลกลับมา ก็เป็นการบังคับช่องทางการขายให้ชัดเจน เป็นระบบ ไม่ว่ากระจายผลิตภัณฑ์ไปยังช่องทางไหน ไปถึงคลินิกใดก็สามารถติดตามได้หมด ไม่มีการไปผ่านคนกลาง ก็จะช่วยลดปัญหาการขายทั่วไปหมดจนใครก็สามารถซื้อได้ จนนำไปฉีดเองหรือรับจ้างฉีดให้คนอื่นตามคอนโด เป็นต้น แต่ที่น่ากังวลก็เพียงกลุ่มที่ลักลอบนำเข้าซึ่งต้องไปตามจับกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีผู้นำเข้าโบท็อกซ์อย่างถูกกฎหมายถึง 9 รายแล้ว หากจะซื้อก็ขอให้ซื้อจากผู้ที่นำเข้าอย่างถูกต้อง ไม่ต้องลักลอบ ถือเป็นมาตรการหนึ่งในการปกป้องประชาชน
“นอกจากนี้ ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อไปฉีดโบท็อกซ์นอกสถานพยาบาล เพราะมีความเสี่ยงอันตรายสูง จากการที่คนฉีดไม่ใช่แพทย์ ไม่ผ่านการอบรมการฉีด และยิ่งโบท็อกซ์ก็มีอันตราย เพราะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว หากฉีดไม่ถูก ปริมาณไม่ถูกต้องอาจเกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง ซึ่งเคยมีกรณีเกิดขึ้นแล้วทั้งในและต่างประเทศ ถือเป็นยาที่ต้องควบคุมเช่นเดียวกับฟิลเลอร์ ซึ่งยังไม่ได้มีการประกาศแบบเดียวกับโบท็อกซ์ เนื่องจากต้องรอข้อมูลให้ครบถ้วนก่อน” เลขาธิการ อย. กล่าว
ด้าน ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทสภา กล่าวว่า การระบุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะฉีดโบท็อกซ์ได้นั้น โดยหลักคือแพทย์ทั่วไปที่ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ เกี่ยวกับการฉีดโบท็อกซ์ แต่จะเป็นหลักสูตรใดบ้างนั้น ขณะนี้แพทยสภากำลังดำเนินการพิจารณาอยู่ว่าจะรับรองหลักสูตรใดบ้าง ซึ่งคาดว่าอีกสักระยะกว่าจะเรียบร้อย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณีการออกประกาศมาตรการควบคุม กำกับ ดูแลผลิตภัณฑ์โบทูลินัม ท็อกซิน (Botulinum Toxin) หรือ โบท็อกซ์ โดยให้ผู้ผลิตหรือนำเข้าจำหน่ายผลิตภัณฑ์โบท็อกซ์เฉพาะสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำอยู่ และเพิ่มข้อความบนฉลาก “เฉพาะสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอยู่ประจำ” ซึ่งบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มิ.ย. ที่ผ่านมา ว่า หลังออกประกาศไปทางกลุ่มผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์โบท็อกซ์ค่อนข้างกังวลว่าจะสามารถขายให้แก่ใครได้บ้าง เพราะยังไม่ชัดเจนว่าจะใช้เกณฑ์ใดมาตัดสินว่าแพทย์รายใดคือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งต้องรอให้แพทยสภาระบุให้ชัดเจนว่า การอบรมหลักสูตรใดบ้างที่แพทยสภารับรองว่าผ่านแล้วจะเป็นผู้เชี่ยวชาญสามารถฉีดโบท็อกซ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นแพทย์สาขาใดก็ตาม ซึ่ง อย. ก็พร้อมที่จะใช้เกณฑ์ตามแพทยสภาเสนอ
“ระหว่างนี้ก็แนะนำให้ผู้ผลิตหรือผู้นำเข้าดำเนินการตามประกาศคือเพิ่มข้อความในฉลาก และต้องรายงานข้อมูลการขายกลับมายัง อย. เพื่อให้ทราบข้อมูลแต่ละล็อตการขายว่าส่งไปยังสถานพยาบาลใดบ้าง เพื่อให้ง่ายต่อการติดตามควบคุม และลดการใช้แบบสะเปะสะปะนอกคลินิก สำหรับการขายยังให้ขายไปตามปกติก่อน แต่หากแพทยสภาให้ข้อมูลคำจำกัดความเรื่องแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ชัดเจนเมื่อไรก็จะตรวจสอบอย่างเข้มงวดว่าส่งขายตามที่กำหนดหรือไม่” เลขาธิการ อย. กล่าว
นพ.บุญชัย กล่าวอีกว่า ส่วนข้อกังวลเรื่องการแบ่งขายโบท็อกซ์ เพื่อนำไปใช้เองนั้น การออกประกาศที่ล็อกให้ขายเฉพาะสถานพยาบาลที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และต้องมีการรายงานข้อมูลกลับมา ก็เป็นการบังคับช่องทางการขายให้ชัดเจน เป็นระบบ ไม่ว่ากระจายผลิตภัณฑ์ไปยังช่องทางไหน ไปถึงคลินิกใดก็สามารถติดตามได้หมด ไม่มีการไปผ่านคนกลาง ก็จะช่วยลดปัญหาการขายทั่วไปหมดจนใครก็สามารถซื้อได้ จนนำไปฉีดเองหรือรับจ้างฉีดให้คนอื่นตามคอนโด เป็นต้น แต่ที่น่ากังวลก็เพียงกลุ่มที่ลักลอบนำเข้าซึ่งต้องไปตามจับกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีผู้นำเข้าโบท็อกซ์อย่างถูกกฎหมายถึง 9 รายแล้ว หากจะซื้อก็ขอให้ซื้อจากผู้ที่นำเข้าอย่างถูกต้อง ไม่ต้องลักลอบ ถือเป็นมาตรการหนึ่งในการปกป้องประชาชน
“นอกจากนี้ ขอเตือนประชาชนอย่าหลงเชื่อไปฉีดโบท็อกซ์นอกสถานพยาบาล เพราะมีความเสี่ยงอันตรายสูง จากการที่คนฉีดไม่ใช่แพทย์ ไม่ผ่านการอบรมการฉีด และยิ่งโบท็อกซ์ก็มีอันตราย เพราะทำให้กล้ามเนื้อคลายตัว หากฉีดไม่ถูก ปริมาณไม่ถูกต้องอาจเกิดปัญหาตามมาหลายอย่าง ซึ่งเคยมีกรณีเกิดขึ้นแล้วทั้งในและต่างประเทศ ถือเป็นยาที่ต้องควบคุมเช่นเดียวกับฟิลเลอร์ ซึ่งยังไม่ได้มีการประกาศแบบเดียวกับโบท็อกซ์ เนื่องจากต้องรอข้อมูลให้ครบถ้วนก่อน” เลขาธิการ อย. กล่าว
ด้าน ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทสภา กล่าวว่า การระบุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่จะฉีดโบท็อกซ์ได้นั้น โดยหลักคือแพทย์ทั่วไปที่ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรต่างๆ เกี่ยวกับการฉีดโบท็อกซ์ แต่จะเป็นหลักสูตรใดบ้างนั้น ขณะนี้แพทยสภากำลังดำเนินการพิจารณาอยู่ว่าจะรับรองหลักสูตรใดบ้าง ซึ่งคาดว่าอีกสักระยะกว่าจะเรียบร้อย
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่