สธ. ตั้งเป้าหญิงท้องฝากครรภ์มากขึ้น เน้นเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นาน 6 เดือน หลังพบทำได้เพียง 48% เหตุเชื่อว่าน้ำนมไม่พอ ต้องกลับไปทำงาน สถานที่ไม่เอื้ออำนวย ชี้ต้องเริ่มให้ตั้งแต่หลังคลอด น้ำนมแรกสำคัญสุด ยิ่งดูดยิ่งมามาก แนะ 4 วิธีให้ลูกดูดนมแม่
วันนี้ (12 ส.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ แต่จากการสำรวจพบว่ามีเพียง 52% เท่านั้นที่ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มาตรวจครบ 5 ครั้งตามนัด เพื่อดูสุขภาพของแม่และความสมบูรณ์ของเด็กพบ 80% ทั้งนี้ สธ. ได้ดำเนินการโครงการ “ฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์” เพื่อส่งเสริมการฝากครรภ์ โดยตั้งเป้าจะเร่งรัดการฝากครรภ?ครบตามนัดให้ได้ 100% รวมถึงส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่นตั้งแต่อายุ 6 เดือน - 2 ปี ตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกด้วย เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารกว่า 200 ชนิด ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ไม่เจ็บป่วยง่าย โดยตั้งเป้าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนให้ได้ 60% ในปี 2558 หลังพบว่า ทำได้เพียง 48% เท่านั้น
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สาเหตุที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนของไทยค่อนข้างต่ำนั้น จากการศึกษาของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ปี 2556 พบว่า ร้อยละ 46 เชื่อว่าตนเองมีน้ำนมไม่พอ ร้อยละ 18 กังวลว่านมแม่มีสารอาหารไม่เพียงพอ ร้อยละ 17 ต้องกลับไปทำงาน ร้อยละ 13 ที่ทำงานให้กลับไปทำงาน ร้อยละ 10 แม่ไม่ได้อยู่กับลูก รวมทั้งแม่มีปัญหาด้านสรีระ มีโรคประจำตัวคิดว่าการให้นมแม่เป็นเรื่องยาก เลี้ยงลูกคนก่อนด้วยนมผงแล้วลูกแข็งแรง สถานที่ทำงานไม่เอื้ออำนวย และไม่สะดวกให้นมในที่สาธารณะ
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะต้องเริ่มให้เร็วที่สุดตั้งแต่หลังคลอด โดยน้ำนมที่มาครั้งแรกจะมีความสำคัญมากที่สุดในชีวิตเด็ก เพราะจะมีภูมิต้านทานโรคจากแม่นานาชนิด มีลักษณะสีเหลืองใสเรียกว่า “โคลอสตูม” ยิ่งดูดได้มากเท่าไรจะยิ่งเป็นผลดี ช่วยให้เด็กแข็งแรง และจะกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมผลิตออกมามากขึ้น โดยคุณภาพของน้ำนมแม่จะขึ้นอยู่กับอาหารที่แม่รับประทาน ทั้งนี้ สมองเด็กจะพัฒนาการเร็วที่สุดในขวบปีแรก หากแม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เด็กก็จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ มีสติปัญญาดี รวมทั้งการอุ้มกอดสัมผัสตัวขณะดูดนมจากอกแม่จะช่วยให้ลูกได้รับความอบอุ่นและเกิดสายสัมพันธ์เชื่อมโยง
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ข้อแนะนำที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องง่ายและมีน้ำนมเพียงพอให้ยึดหลัก 4 ดูด คือ 1. ดูดเร็ว ควรให้ลูกดูดนมตั้งแต่หลังคลอดใหม่ๆ 2. ดูดบ่อย ทุก 2 ชั่วโมงหรืออย่างน้อยวันละ 9 ครั้ง จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้นและมีมากขึ้น 3. ดูดถูกวิธี คือลูกดูดลึกถึงลานนม เพื่อให้เหงือกลูกกดรีดลงบนกระเปาะน้ำนมใต้ลานนม ลิ้นอยู่ใต้ลานนม ริมฝีปากของลูกไม่เม้มเข้า ขณะดูดเหงือกจะขยับเข้าหากันกดบนลานนมเป็นจังหวะ แก้มป่องทั้งสองข้างและได้ยินเสียงกลืนน้ำนมเบาๆ และ 4. ดูดเกลี้ยงเต้า คือให้ลูกดูดนมแม่จนเต้านิ่มในเต้าแรก ถ้าไม่อิ่มให้ดูดนมแม่อีกข้างที่เหลือจนกว่าจะอิ่ม โดยมื้อต่อไปควรเริ่มจากเต้าที่ดูดค้างไว้ เพื่อให้ลูกได้รับคุณค่าของนมแม่อย่างครบถ้วน จากส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้ายของน้ำนมแม่ โดยทั่วไปให้ลูกดูดนมแม่ 8 - 12 ครั้งต่อวัน และดูดข้างละไม่ต่ำกว่า 10 - 20 นาที
“แม่มือใหม่มักมีความกังวลว่าน้ำนมจะไม่พอให้ลูกดูด โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอดที่น้ำนมแม่ยังมาไม่มากนัก การสังเกตว่าลูกได้นมเพียงพอดูจากเต้านมแม่จะคัดตึงก่อนให้นมและนิ่มลงหลังให้นมแม่แล้วรู้สึกว่ามีนมไหลออกมา ส่วนลูกจะมีเสียงกลืนนม ใน 24 ชั่วโมง จะปัสสาวะ 6 ครั้งขึ้นไป และอุจจาระ 4 - 8 ครั้ง ลูกสงบ นอนหลับสบายไม่ร้องหิวระหว่างมื้อนม และน้ำหนักลูกขึ้นโดยเฉลี่ย 18 - 30 กรัมต่อวันหรือ 125 - 210 กรัมต่อสัปดาห์” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (12 ส.ค.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า หญิงตั้งครรภ์ควรฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ แต่จากการสำรวจพบว่ามีเพียง 52% เท่านั้นที่ฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ มาตรวจครบ 5 ครั้งตามนัด เพื่อดูสุขภาพของแม่และความสมบูรณ์ของเด็กพบ 80% ทั้งนี้ สธ. ได้ดำเนินการโครงการ “ฝากท้องทุกที่ฟรีทุกสิทธิ์” เพื่อส่งเสริมการฝากครรภ์ โดยตั้งเป้าจะเร่งรัดการฝากครรภ?ครบตามนัดให้ได้ 100% รวมถึงส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน และเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ร่วมกับอาหารอื่นตั้งแต่อายุ 6 เดือน - 2 ปี ตามคำแนะนำองค์การอนามัยโลกด้วย เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารกว่า 200 ชนิด ช่วยเพิ่มภูมิต้านทาน ไม่เจ็บป่วยง่าย โดยตั้งเป้าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนให้ได้ 60% ในปี 2558 หลังพบว่า ทำได้เพียง 48% เท่านั้น
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สาเหตุที่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนของไทยค่อนข้างต่ำนั้น จากการศึกษาของสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ปี 2556 พบว่า ร้อยละ 46 เชื่อว่าตนเองมีน้ำนมไม่พอ ร้อยละ 18 กังวลว่านมแม่มีสารอาหารไม่เพียงพอ ร้อยละ 17 ต้องกลับไปทำงาน ร้อยละ 13 ที่ทำงานให้กลับไปทำงาน ร้อยละ 10 แม่ไม่ได้อยู่กับลูก รวมทั้งแม่มีปัญหาด้านสรีระ มีโรคประจำตัวคิดว่าการให้นมแม่เป็นเรื่องยาก เลี้ยงลูกคนก่อนด้วยนมผงแล้วลูกแข็งแรง สถานที่ทำงานไม่เอื้ออำนวย และไม่สะดวกให้นมในที่สาธารณะ
นพ.พรเทพ กล่าวว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะต้องเริ่มให้เร็วที่สุดตั้งแต่หลังคลอด โดยน้ำนมที่มาครั้งแรกจะมีความสำคัญมากที่สุดในชีวิตเด็ก เพราะจะมีภูมิต้านทานโรคจากแม่นานาชนิด มีลักษณะสีเหลืองใสเรียกว่า “โคลอสตูม” ยิ่งดูดได้มากเท่าไรจะยิ่งเป็นผลดี ช่วยให้เด็กแข็งแรง และจะกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมผลิตออกมามากขึ้น โดยคุณภาพของน้ำนมแม่จะขึ้นอยู่กับอาหารที่แม่รับประทาน ทั้งนี้ สมองเด็กจะพัฒนาการเร็วที่สุดในขวบปีแรก หากแม่ได้รับอาหารที่มีคุณค่าครบถ้วนตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ เด็กก็จะได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ มีสติปัญญาดี รวมทั้งการอุ้มกอดสัมผัสตัวขณะดูดนมจากอกแม่จะช่วยให้ลูกได้รับความอบอุ่นและเกิดสายสัมพันธ์เชื่อมโยง
นพ.พรเทพ กล่าวว่า ข้อแนะนำที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นเรื่องง่ายและมีน้ำนมเพียงพอให้ยึดหลัก 4 ดูด คือ 1. ดูดเร็ว ควรให้ลูกดูดนมตั้งแต่หลังคลอดใหม่ๆ 2. ดูดบ่อย ทุก 2 ชั่วโมงหรืออย่างน้อยวันละ 9 ครั้ง จะช่วยกระตุ้นให้น้ำนมมาเร็วขึ้นและมีมากขึ้น 3. ดูดถูกวิธี คือลูกดูดลึกถึงลานนม เพื่อให้เหงือกลูกกดรีดลงบนกระเปาะน้ำนมใต้ลานนม ลิ้นอยู่ใต้ลานนม ริมฝีปากของลูกไม่เม้มเข้า ขณะดูดเหงือกจะขยับเข้าหากันกดบนลานนมเป็นจังหวะ แก้มป่องทั้งสองข้างและได้ยินเสียงกลืนน้ำนมเบาๆ และ 4. ดูดเกลี้ยงเต้า คือให้ลูกดูดนมแม่จนเต้านิ่มในเต้าแรก ถ้าไม่อิ่มให้ดูดนมแม่อีกข้างที่เหลือจนกว่าจะอิ่ม โดยมื้อต่อไปควรเริ่มจากเต้าที่ดูดค้างไว้ เพื่อให้ลูกได้รับคุณค่าของนมแม่อย่างครบถ้วน จากส่วนหัว ส่วนกลาง และส่วนท้ายของน้ำนมแม่ โดยทั่วไปให้ลูกดูดนมแม่ 8 - 12 ครั้งต่อวัน และดูดข้างละไม่ต่ำกว่า 10 - 20 นาที
“แม่มือใหม่มักมีความกังวลว่าน้ำนมจะไม่พอให้ลูกดูด โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรกๆ หลังคลอดที่น้ำนมแม่ยังมาไม่มากนัก การสังเกตว่าลูกได้นมเพียงพอดูจากเต้านมแม่จะคัดตึงก่อนให้นมและนิ่มลงหลังให้นมแม่แล้วรู้สึกว่ามีนมไหลออกมา ส่วนลูกจะมีเสียงกลืนนม ใน 24 ชั่วโมง จะปัสสาวะ 6 ครั้งขึ้นไป และอุจจาระ 4 - 8 ครั้ง ลูกสงบ นอนหลับสบายไม่ร้องหิวระหว่างมื้อนม และน้ำหนักลูกขึ้นโดยเฉลี่ย 18 - 30 กรัมต่อวันหรือ 125 - 210 กรัมต่อสัปดาห์” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่