สำรวจพบหญิงท้องมีไอโอดีนในปัสสาวะต่ำเกินครึ่ง ทำเด็กในท้องเสี่ยงโง่ ไอคิวต่ำ เติบโตพัฒนาการช้า จี้ทุก รพ. ให้วิตามินรวม “ไอโอดีน - เหล็ก - โฟลิก” ตั้งแต่ฝากครรภ์ถึงให้นมลูก 6 เดือน ป้องกันเด็กไทยโง่กว่าต่างชาติ
วันนี้ (24 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 25 มิ.ย. ของทุกปี รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันไอโอดีนแห่งชาติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการวินิจฉัยปัญหาและพระราชทานแนวทางการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนให้ลดลงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ทั้งนี้ ไอโอดีนเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพราะไอโอดีนเป็นสารสำคัญในการสร้างเซลล์สมองและระบบประสาทของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ถ้าแม่ขาดสารไอโอดีนจะมีผลให้เซลล์สมองเด็กสร้างได้ไม่เต็มที่ ระดับไอคิวจะลดลงได้ถึง 10 - 15 จุด อาจส่งผลให้เด็กไทยสติปัญญาด้อยกว่าประเทศอื่น หากแม่ขาดสารไอโอดีนมากๆ อาจทำให้แท้ง ลูกพิการแต่กำเนิด หรือปัญญาอ่อนที่เรียกว่าโรคเอ๋อ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า จากการสุ่มสำรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศ ปี 2556 พบมีไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตรถึง ร้อยละ 51.3 ซึ่งมีความเสี่ยงที่ลูกจะขาดสารไอโอดีนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จึงต้องมีการรณรงค์แก้ไขปัญหา โดย สธ. มีนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัดจ่ายยาเม็ดวิตามินรวม ประกอบด้วยไอโอดีน ธาตุเหล็ก และ โฟลิก ให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายกินวันละ 1 เม็ด ตั้งแต่ไปฝากครรภ์จนถึงหลังคลอดขณะให้นมบุตร 6 เดือน เพื่อให้เด็กได้รับแร่ธาตุที่สำคัญทั้ง 3 ชนิดผ่านน้ำนมแม่ สร้างให้เด็กไทยมีไอคิวเกิน 100 จุดเทียบเท่ามาตรฐานสากล
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ร่างกายของคนต้องการไอโอดีน เพื่อสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งช่วยในการควบคุมการเผาผลาญอาหารให้เป็นปกติ หากขาดไทรอยด์ฮอร์โมนนานๆ อาจทำให้เกิดโรคคอพอก ส่วนในผู้ใหญ่เสี่ยงน้ำหนักตัวขึ้นง่าย เนื่องจากการเผาผลาญอาหารน้อย ไม่กระตือรือร้น เกียจคร้าน อ่อนเพลีย เฉื่อยชา สมรรถนะการทำงานลดลง หากเกิดในวัยเรียนก็จะเรียนไม่ทันเพื่อน และหากขาดนานๆ ไอคิวก็ลดลงด้วย หากขาดช่วงเป็นทารกจะทำให้สมองเติบโตช้า เรียนรู้ช้า ตัวเล็กแคระแกรน ทั้งนี้ แต่ละวันหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีน 250 ไมโครกรัม เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีต้องการ 90 ไมโครกรัม เด็กอายุ 6-12 ปีต้องการ 120 ไมโครกรัม ส่วนวัยรุ่นและผู้ใหญ่ต้องการ 150 ไมโครกรัม
นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า อาหารที่มีไอโอดีนสูง คือ อาหารทะเล แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกินอาหารทะเลได้ทุกวัน รวมทั้งร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไอโอดีนไว้ได้ จำเป็นต้องได้รับทุกวัน วันละน้อย กรมอนามัยจึงรณรงค์ให้ผู้ประกอบการน้ำปลา เกลือ ซีอิ๊ว เสริมไอโอดีนลงไป แม้แต่เกลือทะเลก็ต้องเสริม เพราะเกลือทะเล 1 ช้อนชา มีไอโอดีนเพียง 20 ไมโครกรัมเท่านั้น นอกจากนี้ ยังรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนเลือกเครื่องปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 25 มิ.ย. กรมอนามัยจะจัดกิจกรรมรณรงค์ เนื่องในวันไอโอดีนแห่งชาติที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป มีกิจกรรมมากมาย เช่น สาธิตส้มตำไอโอดีน ซึ่งเป็นอาหารยอดฮิตของชาวไทยและต่างชาติ แจกเอกสารให้ความรู้และผลิตภัณฑ์ เสริมไอโอดีนแก่ประชาชนฟรี
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (24 มิ.ย.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า วันที่ 25 มิ.ย. ของทุกปี รัฐบาลกำหนดให้เป็นวันไอโอดีนแห่งชาติ เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการวินิจฉัยปัญหาและพระราชทานแนวทางการควบคุมป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนให้ลดลงอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ทั้งนี้ ไอโอดีนเป็นสารที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพราะไอโอดีนเป็นสารสำคัญในการสร้างเซลล์สมองและระบบประสาทของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ถ้าแม่ขาดสารไอโอดีนจะมีผลให้เซลล์สมองเด็กสร้างได้ไม่เต็มที่ ระดับไอคิวจะลดลงได้ถึง 10 - 15 จุด อาจส่งผลให้เด็กไทยสติปัญญาด้อยกว่าประเทศอื่น หากแม่ขาดสารไอโอดีนมากๆ อาจทำให้แท้ง ลูกพิการแต่กำเนิด หรือปัญญาอ่อนที่เรียกว่าโรคเอ๋อ
นพ.ณรงค์ กล่าวอีกว่า จากการสุ่มสำรวจระดับไอโอดีนในปัสสาวะของหญิงตั้งครรภ์ทั่วประเทศ ปี 2556 พบมีไอโอดีนในปัสสาวะต่ำกว่า 150 ไมโครกรัมต่อลิตรถึง ร้อยละ 51.3 ซึ่งมีความเสี่ยงที่ลูกจะขาดสารไอโอดีนตั้งแต่อยู่ในครรภ์ จึงต้องมีการรณรงค์แก้ไขปัญหา โดย สธ. มีนโยบายให้โรงพยาบาลในสังกัดจ่ายยาเม็ดวิตามินรวม ประกอบด้วยไอโอดีน ธาตุเหล็ก และ โฟลิก ให้หญิงตั้งครรภ์ทุกรายกินวันละ 1 เม็ด ตั้งแต่ไปฝากครรภ์จนถึงหลังคลอดขณะให้นมบุตร 6 เดือน เพื่อให้เด็กได้รับแร่ธาตุที่สำคัญทั้ง 3 ชนิดผ่านน้ำนมแม่ สร้างให้เด็กไทยมีไอคิวเกิน 100 จุดเทียบเท่ามาตรฐานสากล
ด้าน นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ร่างกายของคนต้องการไอโอดีน เพื่อสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งช่วยในการควบคุมการเผาผลาญอาหารให้เป็นปกติ หากขาดไทรอยด์ฮอร์โมนนานๆ อาจทำให้เกิดโรคคอพอก ส่วนในผู้ใหญ่เสี่ยงน้ำหนักตัวขึ้นง่าย เนื่องจากการเผาผลาญอาหารน้อย ไม่กระตือรือร้น เกียจคร้าน อ่อนเพลีย เฉื่อยชา สมรรถนะการทำงานลดลง หากเกิดในวัยเรียนก็จะเรียนไม่ทันเพื่อน และหากขาดนานๆ ไอคิวก็ลดลงด้วย หากขาดช่วงเป็นทารกจะทำให้สมองเติบโตช้า เรียนรู้ช้า ตัวเล็กแคระแกรน ทั้งนี้ แต่ละวันหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรต้องการไอโอดีน 250 ไมโครกรัม เด็กแรกเกิดถึง 5 ปีต้องการ 90 ไมโครกรัม เด็กอายุ 6-12 ปีต้องการ 120 ไมโครกรัม ส่วนวัยรุ่นและผู้ใหญ่ต้องการ 150 ไมโครกรัม
นพ.พรเทพ กล่าวต่อว่า อาหารที่มีไอโอดีนสูง คือ อาหารทะเล แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถกินอาหารทะเลได้ทุกวัน รวมทั้งร่างกายไม่สามารถเก็บสะสมไอโอดีนไว้ได้ จำเป็นต้องได้รับทุกวัน วันละน้อย กรมอนามัยจึงรณรงค์ให้ผู้ประกอบการน้ำปลา เกลือ ซีอิ๊ว เสริมไอโอดีนลงไป แม้แต่เกลือทะเลก็ต้องเสริม เพราะเกลือทะเล 1 ช้อนชา มีไอโอดีนเพียง 20 ไมโครกรัมเท่านั้น นอกจากนี้ ยังรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนเลือกเครื่องปรุงรสที่เสริมไอโอดีน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 25 มิ.ย. กรมอนามัยจะจัดกิจกรรมรณรงค์ เนื่องในวันไอโอดีนแห่งชาติที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป มีกิจกรรมมากมาย เช่น สาธิตส้มตำไอโอดีน ซึ่งเป็นอาหารยอดฮิตของชาวไทยและต่างชาติ แจกเอกสารให้ความรู้และผลิตภัณฑ์ เสริมไอโอดีนแก่ประชาชนฟรี
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่