ก.แรงงาน หารือหน่วยงานเกี่ยวข้อง เดินหน้าแก้ไขปัญหาค้ามนุษย์ จัดระเบียบต่างด้าว ชวนผู้ประกอบการเข้าระบบไม่ใช้แรงงานบังคับ
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีการประชุมหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในระบบห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมประมง โดยที่ประชุมมีการหารือการทำแผนปฏิบัติงานและแนวปฏิบัติในระบบการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับแรงงานประมง ซึ่งการทำงานที่ผ่านมา ทุกหน่วยงานมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งจัดลำดับความสำคัญในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวแรงงาน ประมงและการค้ามนุษย์ โดยเริ่มต้นเรื่องของการจัดระเบียบ ในเรื่องของแรงงานประมง ซึ่งเรื่องแรกที่ต้องทำคือการจัดระเบียบให้ถูกต้องก่อน จากนั้นมาดูในเรื่องของการตรวจแรงงาน เรื่องของระบบข้อมูลที่มาเชื่อมโยงกัน ในการตรวจต้องมีการบูรณาการในเรื่องของแผนการตรวจและผลการดำเนินงานเพื่อมาติดตามการดำเนินการร่วมกัน ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย การปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์ประสานงานแรงงานประมงที่มีอยู่ 7 จังหวัด จะเป็นศูนย์กลางข้อมูลให้กับจังหวัดซึ่งจะดำเนินการในเรื่องของการที่จะเข้าไปดูแลคุ้มครองตรวจแรงงานประมง จะเชื่อมระบบข้อมูลของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
“ที่ประชุมยังมีการหารือเรื่องที่จะมีมาตรการที่จะเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบของการไม่ใช้แรงงานบังคับ แนวปฏิบัติแรงงานที่ดี ขั้นตอนที่จะสร้างความมั่นใจทำให้ระบบของการใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องน้อยลงไป” รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
ม.ล.ปุณฑริก สมิติ รองปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีการประชุมหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในระบบห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมประมง โดยที่ประชุมมีการหารือการทำแผนปฏิบัติงานและแนวปฏิบัติในระบบการป้องกันที่เกี่ยวข้องกับแรงงานประมง ซึ่งการทำงานที่ผ่านมา ทุกหน่วยงานมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) มีคำสั่งจัดลำดับความสำคัญในเรื่องของการแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงานต่างด้าวแรงงาน ประมงและการค้ามนุษย์ โดยเริ่มต้นเรื่องของการจัดระเบียบ ในเรื่องของแรงงานประมง ซึ่งเรื่องแรกที่ต้องทำคือการจัดระเบียบให้ถูกต้องก่อน จากนั้นมาดูในเรื่องของการตรวจแรงงาน เรื่องของระบบข้อมูลที่มาเชื่อมโยงกัน ในการตรวจต้องมีการบูรณาการในเรื่องของแผนการตรวจและผลการดำเนินงานเพื่อมาติดตามการดำเนินการร่วมกัน ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย การปรับแก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ศูนย์ประสานงานแรงงานประมงที่มีอยู่ 7 จังหวัด จะเป็นศูนย์กลางข้อมูลให้กับจังหวัดซึ่งจะดำเนินการในเรื่องของการที่จะเข้าไปดูแลคุ้มครองตรวจแรงงานประมง จะเชื่อมระบบข้อมูลของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
“ที่ประชุมยังมีการหารือเรื่องที่จะมีมาตรการที่จะเชิญชวนผู้ประกอบการเข้าสู่ระบบของการไม่ใช้แรงงานบังคับ แนวปฏิบัติแรงงานที่ดี ขั้นตอนที่จะสร้างความมั่นใจทำให้ระบบของการใช้แรงงานที่ไม่ถูกต้องน้อยลงไป” รองปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าว
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่