บอร์ด สปสช. ไฟเขียวขยายสิทธิประโยชน์ด้านยา 4 รายการ หลังค้างเติ่งไม่ได้ประชุมมานานกว่า 2 เดือน พร้อมบรรจุลงในบัญชียาหลักแห่งชาติ เพิ่มการเข้าถึง ครอบคลุมการรักษา มะเร็งเต้านม มะเร็งเม็ดเลือดขาว เอชไอวี-ไวรัสตับอักเสบซี ระบุผลประเมิน HITAP ชี้ชัดคุ้มค่า ยืดเวลาชีวิตผู้ป่วย
วันนี้ (5 ส.ค.) ที่ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังไม่ได้ประชุมมานานกว่า 2 เดือน โดยมี นพ.จรัล ตฤณวุฒพงษ์ เป็นประธานการประชุม ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ขยายสิทธิประโยชน์ด้านยา 4 รายการ ได้แก่ 1. ยาทราสทูซูแมบ (Trastuzumab) 2. ยาเพคอินเตอร์เฟอรอน (Peginterferon) 3. ยานิโลทินิบ (Nilotinib) และ 4. ยาดาสาทินิบ (Dasatinib) ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง) ตามการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติที่เห็นชอบและบรรจุเป็นรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2557
“ยาทั้ง 4 รายการเป็นยาจำเป็นที่ผู้ป่วยควรได้รับ ซึ่งการขยายสิทธิประโยชน์จะช่วยให้การรักษามีความครอบคลุมและเข้าถึงมากขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษาของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ยังพบว่า ระหว่างผู้ป่วยที่ใช้ยาข้างต้นกับการรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง สามารถประหยัดงบประมาณค่ารักษาได้มากกว่า มีความคุ้มค่าช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับยาทราสทูซูแมบ เป็นยารักษามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น หากใช้ยานี้จะช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยจาก 9.11 ปี เป็น 14.12 ปี โดยปี 2558 ตั้งเป้าหมายการเข้าถึงของผู้ป่วย 175 ราย งบประมาณ 80.9 ล้านบาท และปี 2559 ตั้งเป้าเข้าถึงผู้ป่วย 350 ราย งบประมาณ 162.8 ล้านบาท ยาเพคอินเตอร์เฟอรอน พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีพ่วงเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบประคับประคองจะสามารถประหยัดงบประมาณภายใน 5 ปี ได้ถึง 317 ล้านบาท ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สายพันธุ์ 1 หรือ 6 จะสามารถประหยัดงบประมาณภายใน 5 ปี ได้ถึง 678 ล้านบาท โดยประมาณค่ายาและค่าตรวจจะอยู่ที่ 88,904,400 ล้านบาท
นพ.วินัย กล่าวว่า ยานิโลทินิบ และยาดาสาทินิบ เป็นยารักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ โดยยานิโลทินิบเป็นยา second-line ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวกรณีที่ไม่สามารถใช้ยาอิมาทินิบที่เป็นยารักษาพื้นฐานได้ ส่วนยาดาสาทินิบเป็นยา third-line ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ไม่สามารถใช้ยาอิมาทินิบ และยานิโลทินิบ ซึ่งข้อมูลการรักษาผู้ป่วยในสิทธิบัตรทอง ปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ 1,400 ราย เป็นผู้ป่วยดื้อต่อยาอิมานิทิบ 500 ราย คาดว่า ต้องใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท และมีผู้ป่วยที่ดื้อต่อยาอิมานิทิบและยานิโลทินิบ 15 ราย คาดว่าต้องใช้งบประมาณ 23 ล้านบาท
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (5 ส.ค.) ที่ศูนย์ราชการฯ แจ้งวัฒนะ นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังไม่ได้ประชุมมานานกว่า 2 เดือน โดยมี นพ.จรัล ตฤณวุฒพงษ์ เป็นประธานการประชุม ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ขยายสิทธิประโยชน์ด้านยา 4 รายการ ได้แก่ 1. ยาทราสทูซูแมบ (Trastuzumab) 2. ยาเพคอินเตอร์เฟอรอน (Peginterferon) 3. ยานิโลทินิบ (Nilotinib) และ 4. ยาดาสาทินิบ (Dasatinib) ในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (สิทธิบัตรทอง) ตามการพิจารณาของคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติที่เห็นชอบและบรรจุเป็นรายการยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ เมื่อวันที่ 28 มี.ค. 2557
“ยาทั้ง 4 รายการเป็นยาจำเป็นที่ผู้ป่วยควรได้รับ ซึ่งการขยายสิทธิประโยชน์จะช่วยให้การรักษามีความครอบคลุมและเข้าถึงมากขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษาของโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ยังพบว่า ระหว่างผู้ป่วยที่ใช้ยาข้างต้นกับการรักษาผู้ป่วยแบบประคับประคอง สามารถประหยัดงบประมาณค่ารักษาได้มากกว่า มีความคุ้มค่าช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยได้เพิ่มขึ้น” เลขาธิการ สปสช. กล่าว
นพ.วินัย กล่าวอีกว่า สำหรับยาทราสทูซูแมบ เป็นยารักษามะเร็งเต้านมระยะเริ่มต้น หากใช้ยานี้จะช่วยยืดชีวิตผู้ป่วยจาก 9.11 ปี เป็น 14.12 ปี โดยปี 2558 ตั้งเป้าหมายการเข้าถึงของผู้ป่วย 175 ราย งบประมาณ 80.9 ล้านบาท และปี 2559 ตั้งเป้าเข้าถึงผู้ป่วย 350 ราย งบประมาณ 162.8 ล้านบาท ยาเพคอินเตอร์เฟอรอน พบว่า ในกลุ่มผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีพ่วงเชื้อไวรัสตับอักเสบซี เมื่อเปรียบเทียบกับการรักษาแบบประคับประคองจะสามารถประหยัดงบประมาณภายใน 5 ปี ได้ถึง 317 ล้านบาท ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี สายพันธุ์ 1 หรือ 6 จะสามารถประหยัดงบประมาณภายใน 5 ปี ได้ถึง 678 ล้านบาท โดยประมาณค่ายาและค่าตรวจจะอยู่ที่ 88,904,400 ล้านบาท
นพ.วินัย กล่าวว่า ยานิโลทินิบ และยาดาสาทินิบ เป็นยารักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ โดยยานิโลทินิบเป็นยา second-line ใช้กับผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวกรณีที่ไม่สามารถใช้ยาอิมาทินิบที่เป็นยารักษาพื้นฐานได้ ส่วนยาดาสาทินิบเป็นยา third-line ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่ไม่สามารถใช้ยาอิมาทินิบ และยานิโลทินิบ ซึ่งข้อมูลการรักษาผู้ป่วยในสิทธิบัตรทอง ปัจจุบันมีผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ 1,400 ราย เป็นผู้ป่วยดื้อต่อยาอิมานิทิบ 500 ราย คาดว่า ต้องใช้งบประมาณ 50 ล้านบาท และมีผู้ป่วยที่ดื้อต่อยาอิมานิทิบและยานิโลทินิบ 15 ราย คาดว่าต้องใช้งบประมาณ 23 ล้านบาท
ติดตาม Instagram และ Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่